วันนี้อยากจะลองหยิบ Case Study Content เรื่องใกล้ตัวที่วัดจากความรู้สึกตัวเอง และจากสังคมคนรอบข้างที่ได้เจอะเจอมา โดยจับเอาภาพรวม ที่มีการพูดถึง Keyword “โรคซึมเศร้า” “ฆ่าตัวตาย” “โรควิตกกังวล” ว่าในโลก Online หรือใน Social นั้น เขามีการพูดถึง Keywords เหล่านี้ว่าอย่างไรกันบ้าง ในช่วงปี 2020 ที่กำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
Social Listening Tools
Social Listening โดยทั่วไปที่เคยเขียน Content แล้วเอามาวิเคราะห์ จะบอกเรื่องราวเกี่ยวกับ วัน (Day) ที่ผ่านมาแต่ละวัน วันไหนสูงสุดแล้วเราก็เข้าไป Deep Down เข้าไปดูว่ามีเรื่องราวอะไร แต่ในครั้งนี้ จะขอเปลี่ยนมุมมองทุกอย่าง ให้เป็นภาพรวมเแบบ เดือน (Month)
Graph แบบ เดือน (Month) บางครั้งก็เข้าใจ Trends ภาพใหญ่ได้ง่ายขึ้น
การมองภาพ Graph แบบเดือน มุมมองที่เกิดขึ้นมีด้วยกัน 2 ระยะคือ
- เกิดอะไรในช่องทาง Facebook เดือน มีนาคม ส่งผลให้ keyword ดังกล่าวถูกพูดถึงมากขึ้นในเดือน เมษายน
- เกิดอะไรในช่องทาง Twitter ในเดือน กรกฏาคม ที่ทำให้ทั้งเดือน สิงหาคม และ กันยายน เติมโตแบบก้าวกระโดด ซึ่ง ไม่น่าจะเป็นผลดี เพราะ Keywords นี้มันคือปัญหาในการดำเนินชีวิต และ Sentiment (ความรู้สึก) มีน้ำหนักไปในทาง negative ถึง 80%
ภาพรวมของคนฆ่าตัวตาย กับ คนที่เป็นโรคซึมเศร้าใครถูกพูดถึงมากกว่ากัน ?
น่าตกใจ ที่ Keywords โรคซึมเศร้า มักจะไปในแนวทางเดียวกันกับการฆ่าตัวตาย และการฆ่าตัวตายกลับมีคนให้ความสนใจที่มากกว่าอีก
Facebook เกิดอะไรในช่วงเดือนมีนาคม ถึงทำให้เดือนเมษายน มีการเติบโต
Hashtag กับ keyword cloud นั้นมีประโยชน์อย่างมาก ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ทั้งสาเหตุหลักของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ที่มาจาก “โควิด19” “โควิท” “เครียด” “นอนไม่หลับ” จนถึงกระทั่ง เป็นโรคซึมเศร้า และอยากฆ่าตัวตาย แล้วปัจจัยอะไรทำให้ Graph นั้นเติบโตขึ้น เป็นเพราะการแก้ไขปัญหาการลงทะเบียนช่วยเหลือ เงินเยียวยา 5,000 บาท กับคนได้รับ หรือไม่ได้รับ ส่งผลต่อคนมีอาการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เห็นได้จาก Hashtag ที่เปลี่ยนไปในเดือนเมษายน
ปัญหาของการลงทะเบียน ดราม่า การเขียนข่าว เรื่องการฆ่าตัวตายจากการลงทะเบียน การเปรียบเทียบระหว่างคนฆ่าตัวตายเอง กับ พิษของโควิด เป็นเนื้อหาหลักที่มีการพูดคุยกันในโลก Online
สรุปภาพรวมจาก Facebook แล้วมาต่อด้วยภาพรวมของช่องทาง Twitter กันต่อ
มาดูในช่องทาง Twitter ในเดือน สิงหาคม ว่าอะไรมีสาเหตุทำให้คนพูดถึง keyword ดังกล่าว ก่อนจะไปมากที่สุดในเดือน กันยายน 2020
ต่อมาได้ลองใช้ Keyword (Sub Keyword) เพื่อเจาะลึกเข้าไปมากยิ่งขึ้นเพื่อดูว่าคนคิดอย่างไร ว่าทำไมถึงมีการพูดเรื่องฆ่าตัวตาย โดยใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องกันตามที่ปรากฎอย่างเช่น ตกงาน พิษเศรษฐกิจ หรือ รัฐบาล เข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติม จากข้อความทั้งเดือนที่เรากรองมาแล้ว
ผลลัพท์ที่ออกมาในเดือน สิงหาคม จากผลกระทบของ Covid-19 คือการพูดถึงเรื่องปัญหาชีวิตจากการตกงาน ค่อนข้างมากส่งผลต่อการพูดถึงเรื่องฆ่าตัวตาย มากที่สุด แล้วส่งผลต่อเดือน กันยายน 2020 แบบสูงสุด
เมื่อเรา Deep Down ลงไปเจาะข้อมูลที่ขึ้นมาสูงสุด เพื่อดูว่าทำไมในเดือน กันยายน 2020 นั้น ถึงได้พรุ่งสูงขนาดนั้น พบว่ามีด้วยกัน 3 เหตุการณ์
- เหตุการณ์ที่นักเรียนถูกรถสองแถว โกงเงินทอน จากข่าวเกิดเหตุนักเรียนชั้น ม.3 ใน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี พยายามฆ่าตัวตาย
- ยูโกะ ทาเคอุจิ นักแสดงญี่ปุ่นชื่อดัง วัย 40 ปี ถูกพบเสียชีวิตในบ้าน ตำรวจสอบสวนชี้ เป็นการฆ่าตัวตาย
- เป็นวันการป้องกันฆ่าตัวตายโลก ทุกๆ วันที่ 10 กันยายน
Keywords นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอยากจะเห็นข้อความแบบคนที่ไม่ค่อยสนใจกันว่าจะมีข้อความอะไรบ้างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และ เป็นข้อความที่อ่านแล้ว หดหู่ค่อนข้างมาก และเกิดขึ้นจริงในสังคมไทย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่สามารถหาได้จากการทำ Social listening ด้วย Mandala Analytics ที่คิดว่าในบางครั้งมันก็สามารถนำมา Apply เพื่อมองในมุมลบ ๆ ของสังคมที่เกิดขึ้นได้ เช่นกัน
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up