วันวาเลนไทน์กำลังเข้าใกล้มาในอีกไม่กี่วันแล้วนะครับ ในโอกาสวันแห่งความรักเช่นนี้ทางทีม Mandala Analytics จึงขอนำเสนอ Content ที่ได้รับการกด Love บน Facebook มากที่สุด เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการในการทำ Content เกี่ยวกับวาเลนไทน์นี้ รวมถึงผู้อ่านที่ยังไม่มีไอเดียว่าจะเซอไพรส์คนรักอย่างไรดี วันนี้ทีมงาน Mandala Analytics มีคำตอบให้ครับ
ใส่คีย์เวิร์ดอย่างไรให้ Data ออกมามีประสิทธิภาพ
ผมคิดว่าความยากที่สุดของการใช้ Social Listening Tool คือการใส่คีย์เวิร์ดนี่แหละครับ เพราะหากใส่พลาดไป Data ที่ออกมาก็จะมาน้อยหรือไม่มาเลยก็ได้ สิ่งที่แนะนำคือ ก่อนจะใส่คีย์เวิร์ดอาจต้องทำการบ้านเล็กน้อยครับว่าต้องใช้คำอะไรดีถึงจะโอเค เพราะหัวใจสำคัญของการใช้ Social Listening Tool คือการใส่คีย์เวิร์ดให้ครอบคลุมกับประเด็นหรือเรื่องที่เราต้องการหา Insight ครับ โดยผมอยากจะขอแนะนำวิธีในการหาคีย์เวิร์ดว่ามีช่องทางอะไรบ้าง
1. คิดเอง: วิธีนี้เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดครับ อาจจะเป็นคำที่เรารู้อยู่แล้วว่าบนสังคมออนไลน์จะใช้คำอะไรกันถ้าพูดถึงประเด็นนี้ หรือไม่ก็บางแบรนด์หรือบางองค์กรจะมี Hashtag หรือสโลแกนประจำก็สามารถดึงจากตรงนั้นมาใส่ได้เลยครับ
2. Google Trends: วิธีนี้อาศัยตัวช่วย Third Party อย่าง Google Trends ครับ โดยจะเป็นการแนะนำแนวโน้มของประเด็นที่เราสนใจว่ามีคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง
3. Keyword Planner: เช่นเดียวกับวิธีที่ 2 แต่ไม่ได้มาจาก Google โดยตรง โปรแกรมประเภทนี้จะช่วยเราคิดว่าประเด็นที่เราสนใจควรมีคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง เพื่อให้ติด SEO บน Google ครับ
เมื่อเราได้คีย์เวิร์ดที่ต้องการแล้ว เราจะพบกับความยากอย่างหนึ่งของภาษาไทยก็คือการที่คำ ๆ หนึ่งสะกดกันหลายแบบมากครับ อย่างคำหลักที่ใช้ในการดึง Data ครั้งนี้ ถ้าสะกดด้วยภาษาอังกฤษก็ตรงตัวเลยครับ “Romantic” แต่ภาษาไทยนั้นเราจะเห็นการสะกด 2 แบบคือ “โรแมนติก” และ “โรแมนติค” (แต่ถ้าเอาถูกต้องเลยต้อง ก ไก่สะกดนะครับ)
จะเห็นว่าในบทความนี้ผมใส่คีย์เวิร์ดคำว่าโรแมนติกทั้งแบบที่สะกดด้วย ก และ ค ครับ เพื่อให้มั่นใจว่า Data ที่ออกมานั้นจะครอบคลุมทุก Content ไม่ว่าจะสะกดแบบไหนก็ตาม สำหรับคำที่เลือกใช้นั้นผมใส่กว้าง ๆ ไว้ก่อนเลยครับ เพราะไม่อยากเจาะจงหรือชี้นำ Data มากเกินไป เลยเลือกใส่คำที่เกี่ยวข้องกับวาเลนไทน์มากที่สุดก็คือ “วาเลนไทน์” “ความรัก” “คนรัก” “โรแมนติก” และ “โรแมนติค”
สำหรับ Timeframe ที่เราอยากให้ Mandala Analytics เก็บ Data นั้นอยู่ที่แต่ละคนหรือแต่ละ Project เลยครับว่าอยากให้ย้อนกลับไปนานแค่ไหน (ขึ้นอยู่กับ Package ที่เลือก) ในบทความนี้ผมตั้งไว้เจาะจงเลยครับว่าต้องเป็นเดือนแห่งความรัก เพราะเราคงไม่เห็น Content เกี่ยวกับความรักในเดือนอื่น ๆ เท่าไหร่นัก ผมเลยตั้งไว้ที่ 1 – 29 กุมภาพันธ์ ของปีที่แล้วครับ
ควรปล่อย Content วาเลนไทน์ก่อนวันวาเลนไทน์
ชื่อหัวข้ออาจจะดูธรรมดานะครับว่า ก็ Content วาเลนไทน์ยังไงก็ต้องโพสต์วันวาเลนไทน์อยู่แล้ว แต่ผมจะเฉลยข้อเสียของการปล่อย Content ที่กระจุกกันเกินไปในวันดังกล่าวทีหลังครับ
ก่อนอื่นอยากให้พิจารณา 2 กราฟที่ผมนำเสนอมาก่อนครับ เนื่องด้วยเราต้องการหา Content ที่มีค่า Love บน Facebook มากที่สุด ดังนั้นหลังจากนี้ไปผมจะเลือกนำเสนอ Data ที่มาจาก Facebook เท่านั้นนะครับ เพราะแพลตฟอร์มอื่นไม่มีค่า Love นั่นเอง
ความน่าสนใจมากกว่านี้คือ จากกรอบสีแดงที่ผมวงไว้เราจะเห็นว่า Content เกี่ยวกับความรัก หรือวาเลนไทน์นั้นจะพีคที่สุดในวันวาเลนไทน์ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ขณะเดียวกันก็ดิ่งลงหรือกระแสหายไปทันทีเมื่อหมดวันวาเลนไทน์ หรือก็คือไปไวมาไวนั่นเองครับ ดังนั้น ทางแบรนด์ หรือนักการตลาดต้องรีบคิดรีบทำทันที เพราะหลังจากนั้นจะไม่สามารถเกาะกระแสได้อีกเลย แต่ใช่ว่าคนจะสนใจ Content วาเลนไทน์เฉพาะวันวาเลนไทน์นะครับ เพราะหากกดเข้าไปที่กราฟตรงที่ผมวงไว้เราจะเห็นหน้า Daily Summary ที่บอก Insight ว่าในวันนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยผมอยากให้พิจารณา Time Distribution ทั้งสองภาพต่อไปนี้ก่อนครับ แล้วค่อยเลื่อนลงไปอ่านเฉลยของผม
13 กุมภาพันธ์ 2563
14 กุมภาพันธ์ 2563
จาก Time Distribution ทั้งสองวันเราจะเห็นว่า คนไม่ได้สนใจ Content เกี่ยวกับวาเลนไทน์เฉพาะ
วันวาเลนไทน์เท่านั้น แต่พวกเขาเริ่มสนใจมาก่อนวันวาเลนไทน์เสียแล้วด้วยซ้ำ เผลอ ๆ สนใจหนักกว่าวันวาเลนไทน์เสียอีกครับ โดยเป็นไปได้ว่าพวกเขาหรือเธอกำลังมองหาไอเดียหรือแรงบันดาลใจในการใช้เวลากับคนรักในวันวาเลนไทน์นั่นเอง ดังนั้นแล้วผมจึงอยากไกด์ไอเดียให้กับผู้อ่านทุกท่านครับว่า การโพสต์ Content เพื่อเรียกกระแสให้ดีนั้นไม่ควรไปกระจุกในวันเดียวกันครับ เพราะเป็นไปได้ว่าผู้คนอาจได้ไอเดียไปก่อนหน้านั้นแล้ว และอาจเสียลูกค้าได้
เรามาดูกันครับว่าความแตกต่างระหว่าง Content ก่อนและหลังวันวาเลนไทน์เป็นยังไง
จะเห็นว่าแบรนด์หลายรายเริ่มที่จะใช้ Influencer โปรโมทสินค้าหรือบริการของตนเอง เพื่อเตรียมจูงใจให้เหล่าคู่รักมาอุดหนุนหรือใช้บริการ โดยยิ่งเป็นการย้ำกับสิ่งที่ผมได้กล่าวไปข้างบนครับว่า เราจำเป็นอย่างยิ่งต้องสร้าง Content วันวาเลนไทน์แต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้หลาย ๆ คู่ตัดสินใจ สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยเนื้อหานั้นผมอยากให้พิจารณาควบคู่กับ Time Distribution ครับว่า เวลาที่เหมาะสมคือเวลาครอบครัว หรือก็เวลาที่หลาย ๆ คนถึงบ้านหลังเลิกงานแล้ว ประมาณ 19:00 – 21:00 น. ของแต่ละวันครับ
สำหรับ Content หลังวันวาเลนไทน์ก็อย่างที่ผมได้เกริ่นไปเช่นเดียวกันครับว่า ส่วนใหญ่แทบจะไม่เกี่ยวจนไม่สามารถเกาะกระแสได้อีกแล้ว จากภาพผมยกตัวอย่างมาคร่าว ๆ ครับว่าหากพูดถึงความรักหลังวันวาเลนไทน์เราจะพบเนื้อหาทั่วไป อย่างในภาพก็คือแนะนำหมอดูในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งก็รวมถึงความรักด้วยครับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับคำคมซึ้ง ๆ ซึ่งผมมองว่าเนื้อหาลักษณะนี้เราพบได้ตลอดทั้งปีอยู่แล้ว
อย่าสนใจค่า Like มุ่งไปที่ค่า Love เท่านั้น
มาที่จุดประสงค์หลักของบทความกันครับว่า เราจะหา Content ชวนกด Love ยังไง ก่อนอื่นอยากให้ตระหนักกันก่อนครับว่า ค่า Engagement ส่วนใหญ่ของ Facebook นั้นมาจากค่า Like เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากเรานำค่าดังกล่าวมาพิจารณาร่วมด้วยนั้นเราจะไม่เห็น Content ที่มีการกด Love จริง ๆ จากผู้คน ผมอยากให้พิจารณาภาพต่อไปนี้ครับว่าจริงอย่างที่ผมบอกหรือไม่
ผมอยากให้ผู้อ่านเปลี่ยนวิธีคิดครับว่าค่า Like นั้นไม่ใช่ทุกอย่างในการวัดประสิทธิภาพของ Content เพราะการกด Like นั้นง่ายกว่ากด Love อีกครับ แสดงว่าการที่ผู้คนเลือกกดค่า Interaction อื่น ๆ นอกจาก Like เช่น Love ให้กับ Content นั้น ๆ หากสมมติตัดค่า Like ออกไปจะเห็นว่าค่า Love นั้นแทบจะเป็นค่าต้น ๆ เลยนะครับ แสดงว่าต้องมีอะไรดีอย่างแน่นอนที่ซ่อนอยู่ในค่า Love 50,000 กว่า เราลองกดเข้าไปดูกันครับว่ามี Content อะไรบ้าง โดยขอเกริ่นนำด้วย Data แบบสรุปจาก Daily Summary เรียกน้ำย่อยก่อนครับ
ใช้เสียงเพลงช่วยสร้างบรรยากาศความรัก
Content ที่ได้รับค่า Love มากที่สุดนั้นไม่ได้โพสต์ในวันวาเลนไทน์ครับ แต่โพสต์หลังจากวันนั้นมาก โดยเป็นโพสต์จาก “ตูมตาม เดอะสตาร์7” ผมคิดว่าการที่โพสต์นี้ได้รับค่า Love มากที่สุดไม่ใช่เพราะหน้าตาของ
คุณตูมตามหรอกครับแต่เป็นเสียงที่ชวนเคลิ้มต่างหาก ผมได้ลองกดเข้าไปอ่านโพสต์ต้นฉบับครับเราจะเห็นว่าผู้คนมากมายต่างเข้ามาชื่นชมเสียงของคุณตูมตาม และเมื่อประกอบกับยังอยู่ในช่วงเดือนแห่งความรักประกอบกับเสียงชวนหลง จึงไม่แปลกใจครับว่าทำไมโพสต์ของคุณตูมตามจึงได้ค่า Love ไปมากที่สุด
ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่: https://www.facebook.com/watch/?v=2593693877578634
ความรักไม่ได้หมายถึงคนกับคนเท่านั้น
สำหรับคนโสดอย่าพึ่งน้อยใจไปนะครับว่าทีม Mandala Analytics เอาใจแต่คนมีคู่ เพราะหากวันวาเลนไทน์นี้คุณไม่รู้จะใช้เวลากับใครดี ลองเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนคลายเหงาซักตัวดีไหมครับ นอกจากจะเป็นเพื่อนเล่นให้กับเราได้แล้วยังช่วยสร้าง Content บน Facebook ได้ดีอีกด้วย อย่างโพสต์จาก “กองทัพ ยายี” เองก็เป็นตัวอย่างที่ดีว่า ความรักนั้นไม่ได้จำกัดแค่คนกับคนเท่านั้น แต่ความรักยังครอบคลุมไปถึงคนกับสัตว์ได้อีกด้วย แถมด้วยความน่ารักของหนุ่มน้อยในโพสต์กับเจ้าแมวแสนเชื่อง จึงไม่แปลกใจครับว่าทำไมค่า Love ถึงมาเป็น
อันดับที่สอง
ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่: https://www.facebook.com/watch/?v=223991502110131
เล่นกับความหมายของ “ความรัก”
ผมคิดว่าหลายคนเคยถามกับตัวเองครับว่า “ความรักคืออะไร” โพสต์จาก “Pro Chain-Saharath” พาเราไปดูมุมมองที่หลากหลายของความรักครับ ผมคิดว่าเป็นไอเดียที่ดีมากในการเล่นกับสิ่งที่เป็นนามธรรมเพื่อให้ผู้คนเข้ามา Engage อย่างการแสดงความคิดต่อมุมมองความรักของตนเอง ใครที่ยังคิดไม่ออกว่าจะเล่นไอเดียความรักในวันวาเลนไทน์อย่างไรดี ลองเอาโพสต์นี้เป็นตัวอย่างได้ครับ
ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่: https://www.facebook.com/watch/?v=2726426144073475
เพลงกับหนังยังเป็นตัวเลือกที่คลาสสิกที่สุด
สุดท้ายครับ คิดไม่ออกบอกไม่ถูกให้เพลงและหนังดี ๆ กับวันวาเลนไทน์ย่อมเข้ากันอย่างแน่นอน แต่ที่ผมจะแนะนำก็คงไม่ใช่หนังผี หนังฆาตกรรม หรือเพลงร็อคอย่างแน่นอนครับ ไม่งั้นเสียบรรยากาศหมดครับ
มาเริ่มกันกับการเอาใจคนอกหักรับวาเลนไทน์ก่อนครับ เผื่อใครต้องการหาเพลงบิลท์อารมณ์ผมก็ขอแนะนำโพสต์จาก “โปรดฟังเพลงนี้” ที่ลิสต์เพลงเศร้าเคล้าน้ำตาให้เหล่าชาวโสดได้สะอื้นรับวาเลนไทน์
ผมไม่แน่ใจนะครับว่าที่โพสต์นี้ได้รับ Love ไปถล่มทลายนี้จะเป็นการซ้ำเติม (แซวนะครับ) หรืออาจจะให้กำลังใจคนโสดให้ผ่านพ้นวันวาเลนไทน์ไปด้วยกันครับ
ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่: https://www.facebook.com/watch/?v=496994791221757
มีตัวเลือกให้กับคนโสดแล้วก็ต้องมีตัวเลือกให้กับคนมีคู่บ้างครับ โพสต์จาก “นักเลงโรงหนัง” ขอแนะนำ
ซีรีส์สุดซึ้งจากแดนกิมจิเรื่อง Crash Landing on You โดยนักเลงโรงหนังได้ยกฉากสุดโรแมนติกของซีรีส์มาเรียกน้ำตาเหล่าแฟนเพจ ใครที่ไม่รู้ว่าวันวาเลนไทน์จะหาหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนดู ผมก็ขอแนะนำเรื่องนี้เหมือนกันครับ รับรองว่าซึ้งกินใจแน่นอน การันตีด้วย Comment มหาศาล และรีวิวจากหลายสำนัก ไม่แน่นะครับดูจบแล้วอยากจะขอแฟนแต่งงานเลยก็เป็นได้
ดูโพสต์ต้นฉบับได้ที่: https://www.facebook.com/TheaterGangster/posts/2276968152610968
สรุป Content น่าทำ ชวน Love ในช่วงวันวาเลนไทน์
ผมอยากให้กลับไปพิจารณาภาพจาก Daily Summary ครับที่ผมทำกรอบสีแดงไว้ว่า ก่อนจะลงลึกของเนื้อหานั้นอยากให้คำนึงเสมอครับว่า Content วันวาเลนไทน์ส่วนใหญ่นั้นจะสื่อถึงความรู้สึกดีเมื่อได้รับชม รวมถึงคนโพสต์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงครับ มันแสดงให้เห็นว่า เราควรเล่นเนื้อหาที่ส่งสารแบบอบอุ่นหัวใจมากกว่าจะดึงดราม่าเคล้าน้ำตา แต่หากจะเล่นจริง ๆ ผมคิดว่าควรเอาแต่พอดี อย่าให้กลายเป็น Bad Valentine จนเกินไป นอกจากนี้ การที่ส่วนใหญ่คนโพสต์เป็นผู้หญิงก็แสดงให้เห็นว่าหนุ่ม ๆ ต้องเรียนรู้จากโพสต์เหล่านี้เอาไว้ครับว่าสาว ๆ ชอบความรักในรูปแบบใด โดยผมสรุปประเด็นของ Content ที่ควรทำไว้ดังนี้ครับ
1. เล่นกับความหมายของความรัก: อาจจะฟังดูนามธรรมหรือเข้าใจยากไปนิดนึง แต่เชื่อเถอะครับว่าการที่เราตีความของความรักที่แตกต่างกัน และสะท้อนในมุมมองของตนเองหรือ
แบรนด์เป็นหลักย่อมทำให้ Content เราโดดเด่นกว่ารายอื่น ๆ แน่นอน
2. อย่ายึดติดว่าต้องเป็นความรักของหนุ่มสาว: การเล่นความรักว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยึดติดแบบ
เดิม ๆ เช่น ความรักชู้สาว จะทำให้ Content มีความแหวกแนวกว่าตลาดครับ เราควรหันมาให้ความสนใจกับความรักของคนกับสัตว์ ความรักที่มีต่อพ่อแม่ ความรักที่มีต่อผู้มีพระคุณ หรือกระทั่งความรักที่มีต่อเพื่อน เป็นต้น
3. เสียงเพลงคือการสื่อความรักที่คลาสสิคที่สุด: บทเพลงกับความรักเป็นของคู่กันอยู่แล้วครับ หากแบรนด์ไหนหรือใครคิด Content ไม่ออก การใช้เพลงช่วยได้อย่างแน่นอนครับ แต่อย่างที่ผมเตือนไปนะครับว่าต้องไม่ใช่เพลงร็อค หรือว้ากจัด ๆ ไม่งั้นเสียบรรยากาศแน่นอน
สรุปการใช้ Social Listening Tool เพื่อหา Content ชวน Love
การใช้ Social Listening Tool นอกจากจะช่วยเราตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ในเชิงธุรกิจแล้วนั้น ยังสามารถใช้กับเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านตระหนักทุกครั้งว่าไม่สำคัญหรอกครับว่ายอด Like กับยอด Love ของแต่ละ Content จะมีจำนวนที่แตกต่างกันขนาดไหน เพราะการที่ผู้เขียนหยิบยอด Love มาเป็นหลักในการนำเสนอก็เพราะว่า การที่แต่ละคนจะเข้ามาแสดง Action อย่างการกด Love แทนที่จะเป็นการกด Like ที่ทำได้ง่ายกว่า นั่นแสดงว่า Content นั้น ๆ ต้องมีอะไรบางอย่างที่พิเศษหรือสะดุดใจมาก ๆ จนต้องแสดง Action แบบอื่น ๆ ออกมาแทนที่จะเป็น Like นั่นเองครับ
สำหรับท่านใดสนใจ Social Listening Tool ที่มาพร้อมกับระบบช่วยวิเคราะห์สามารถติดต่อได้ที่นี่ครับ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ แล้วพบกันในบทความถัดไปครับ
อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.mandalasystem.com/blog
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up