Blogs & Articles

แชร์ทริคปั้น Marketing Data Report ด้วย Social Listening Tools

social listening tools

ถึงเวลาที่นักการตลาดยุคดิจิทัลจะอัพ skill ทำความรู้จักกับ Social Listening Tools อย่างจริงจังกันได้แล้วนะคะ เหตุผลก็เพราะว่านอกจากจะสามารถพัฒนาความสามารถของนักการตลาดเองให้ทันโลกได้แล้ว ยังติดตัวไว้คอมเมนต์งานเอเจนซี่ได้ด้วยนะคะ 

แน่นอนว่าหลายคนคงเคยผ่านหรือยังต้องทำ Social media marketing report ส่งหัวหน้าเป็นรายวัน อาทิตย์ หรือเดือนอยู่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ หลังจบแคมเปญจ้าง KOL ให้โปรโมทสินค้าหลายๆ เพจ หลังจบแคมเปญหัวหน้าก็จะขอรีพอร์ตเช็คว่ายอดเอนเกจเป็นยังไงบ้างใช่ไหม ยังมีบริษัทไหนค่อยๆ เปิดทีละเพจแล้วไล่แคปเอาอยู่หรือเปล่า? วันนี้นุ่นอยากให้ทุกคนเก็บการทำรีพอร์ตแบบเดิมตั้งต้นไว้ก่อน

แล้วนุ่นจะมาแชร์ให้อ่านว่า Social Listening Tools สามารถเข้ามาช่วยทำให้ลดระยะเวลาการทำงานและเพิ่มปรสิทธิภาพให้รายงานของนักการตลาดยังไงบ้าง เพราะบางทีเราจ้างเอเจนซี่สัญญาเป็นเดือนๆ เป็นงานๆ แล้วจบ แอบคิดมั้ยว่าคนนอกจะมาอินหรือรู้ทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับแบรนด์เท่าเราได้ยังไง

ส่วนที่สำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเกี่ยวกับการทำการตลาดบน Social media ก็คือรายงานผลนี่แหละค่ะ เพราะเราสามารถนำมาพัฒนาแพลนอื่นต่อได้อีกหลายแง่มุมเลย ทั้งยังวิเคราะห์ประสิทธิภาพของช่องทางการตลาด KOL ที่จ้างไปว่าคุ้มค่าเงินไหม เรามาลองลดเวลาทำรีพอร์ตด้วยเครื่องมือกวาด Social Data อย่าง Mandala กันนะคะ ถ้าอยากทำความรู้จักเครื่องมือเบื้องต้นก่อน นุ่นแนะนำให้อ่านใน บทความที่เกี่ยวกับ Mandala ก่อนที่จะมาเก็บทริคจากบทความนี้นะคะ 

การทำ Marketing Report ทำได้หลายรูปแบบตามสไตล์ของแต่ละคน 

นุ่นจะแชร์ทริคส่วนตัว อยากให้ลองนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแคมเปญของตัวเองดูนะคะ และแคมเปญตัวอย่างของเราในวันนี้จะต่อเนื่องมาจากบทความ Case Study ถอดรหัส Twitter Marketing Campaign : PEPSI x BLACKPINK มาเริ่มเลยค่ะ

KPIs เบื้องต้นที่ต้องมีในรีพอร์ตคงหนีไม่พ้น :

  • Likes and followers
  • Total Mentions
  • Engagement
  • Top performing posts

นี่คือตัวอย่างของ Social Media Report ค่ะ เราจะมาดูกันว่าเครื่องมือกวาด Social Data อย่าง Mandala จะช่วยให้ได้ทริคดีดีมาทำรีพอร์ตให้ปังยังไงได้บ้าง

ซึ่งแน่นอนว่า KPIs เบื้องต้นแทบจะเป็นฟีเจอร์พื้นฐานของฟีเจอร์ Social Listening อยู่แล้ว ที่แตกต่างไปจากเจ้าอื่นคือหน้าตาเครื่องมือที่สวยงามและใช้งานได้ง่าย ไม่เป็นปัญหากับมือใหม่เลยค่ะ

นุ่นเริ่มตั้ง Data time frame ไว้ที่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 มกราคม 2564 เพราะอยากจะเห็นกราฟชัดเจนก่อนเริ่มแคมเปญช่วงปลายเดือนตุลาคมปี 2563 ค่ะ 

โดย Keywords ที่เลือกใช้กวาดข้อมูลคือ แป๊ปซี่สีชมพู PepsiMax PEPSIxBLACKPINK และแฮชแท็ก #PEPSIxBLACKPINK ซึ่งเป็นคำหลักๆที่ใช้ในแคมเปญนี้ค่ะ นักการตลาดจะใส่ชื่อสินค้าของตัวเองหรือแฮชแท็กของแคมเปญตัวเองเพื่อกวาดข้อมูลก็ได้ค่ะ

  • Total Mentions
  • Engagement

เป็นไปตามคาดว่ายอดมาจากแพลตฟอร์มที่รวมตัวเหล่าบลิ๊งอย่าทวิตเตอร์ ในวันที่โพสต์แคมเปญวันแรกคือ 30 ตุลาคม 2563

ยอด Engagement by channel


ยอด Engagement by channel โดยตัด YouTube ออก 

ตัวเลขแรกๆ ที่เราจะได้มาคือจำนวนเมนชั่น ที่มีคนพิมพ์ Keywords นี้ออกมาตรงๆ อาจจะไม่นับโควททวีต หรือข้อความอื่นๆ ที่ไม่ได้พิมพ์ Keywords ตรงๆ ค่ะ

ทุกคนจะเห็นว่าจำนวนยอด Mentions by channel และ Engagement ค่อนข้างสวนทางกันอยู่ แม้เมนชั่นที่พิมพ์ตรงๆจะมีหลักพัน แต่แคมเปญนี้สามารถกวาดยอดเอนเกจไปได้หลักสิบล้านเลย

  • Top 10 user/page
  • Top performing posts by channel

ก่อนที่จะวัดโพสต์ที่มียอดเอนเกจสูงสุด เรามาดู Top 10 user/page กันแบบเร็วๆ ซัก 1 จาก 4 แพลตฟอร์มหลัก แอบเกริ่นไว้เลยว่า เราสามารถวัดได้ลึกกว่านี้อีกค่ะ เอาไว้บทความนุ่นหน้าจะมาแชร์เป็นพาร์ทเจาะลึกนะคะ

ด้วยหน้าตาเครื่องมือที่ดูง่ายมาก แยก Channel รวมทั้งเรียงลำดับจากเอนเกจได้ด้วย ถ้านักการตลาดคนไหนต้องส่ง Daily Report มีเวลาทำไม่ถึงชั่วโมง ใช้ฟีเจอร์นี้แคปใส่รีพอร์ตแบบด่วนๆ ก็ย่อมได้ค่ะ

ดู KPI เบื้องต้นกันไปแล้ว เรามาดูกันว่า Mandala จะสามารถทำให้ Marketing Data Report เราแตกต่างจากชาวบ้านยังไงบ้าง

กระแสที่เกิดขึ้นจากแคมเปญคืออะไร

หลังจากที่เราได้ข้อความทั้งหมดแล้วนุ่นลองใช้ Mentions console ในการเจาะลึกถึงเทรนด์การตามหาซื้อแป๊ปซี่ ดีไซน์ของ 4 สาวกันเยอะพอสมควร หรือเป็นกระแสที่แบรนด์อยากให้เกิด ในฐานะการตลาดจะต้องมามอนิเตอร์ให้แน่ใจ ว่าเป็นไปอย่างที่ตั้งเป้าไว้หรือเปล่าค่ะ

นุ่นใส่คำว่า ตามหา ตามล่า หาซื้อ หา เพื่อกวาดโพสต์ที่มีคำนี้อยู่ แต่โพสต์ที่เข้ามา จะอยู่ภายใต้ keyword ที่เราใส่ไว้ตั้งแต่แรกเท่านั้นนะคะ ซึ่งก็คือ แป๊ปซี่สีชมพู PepsiMax PEPSIxBLACKPINK และแฮชแท็ก #PEPSIxBLACKPINK จนมาเจอว่าในทวิตเตอร์มีกระแสสะสมดีไซน์ของสาวๆ อยู่พอสมควร ในช่วงแรกหายากง่ายต่างกันไปในพื้นที่ และทุกคนควรกดไปที่ทวิตนั้นๆ เพื่อดู reply ต่อด้วยนะคะ เราจะได้ insight มาเพิ่มอีกเยอะเลย

โพสต์ที่ใช้คำว่า “ตามหาดีไซน์จีซู” เฉยๆแบบไม่มี keyword ก็อาจจะไม่เข้ามาค่ะ ทั้งนี้เทคนิคคือ ลองตั้ง keyword ให้มีคำว่าแป๊ปซี่ด้วยก็ได้ค่ะ อาจจะได้โพสต์ที่ไม่เกี่ยวกับแคมเปญเข้ามาด้วยน้า จุดนี้แหละที่ต้องใช้เวลากรองโพสต์ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปโดยการกดที่ถังขยะที่แดง ที่โพสต์นั้นๆ ค่ะ

จ้าง KOL/Celebrity เยอะ แล้วโพสต์ไหนปังสุด ดูได้ใน 1 นาที

กด Sort ข้อมูล Engagement ได้และดูผลลัพธ์ใน 1 นาที ถ้าทุกคนสังกตุเห็นกราฟด้านบนจะเห็นว่าเมื่อเอา Youtube ออกแล้ว Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่เอนเกจสูงมากทีเดียว และนี้ก็เป็นวิธีค่อยๆ ไล่หาคำตอบไปให้หัวหน้า ว่าจ้างแล้วมีดาราคนไหนเหมาะจะร่วมงานด้วยอีกในแคมเปญต่อๆ ไปค่ะ

คำไหนที่คนใช้มากที่สุดในแคมเปญนี้

ไม่แน่ว่าก่อนเริ่มแคมเปญนักการตลาดอาจไม่คิดว่า PepsiMax จะถูกใช้ในสัดส่วนที่เท่าๆ กับแฮชแท็กหลัก ข้อนี้เราจะมองเห็นถึงพฤติกรรมอีกแง่ของกลุ่มเป้าหมายด้วยค่ะ

แอบเช็คความฮอตของ 4 สาว Brand Spokesperson ในประเทศไทย

นุ่นใส่คำว่า Lisa และลิซ่า เสิร์ชดูว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีกี่ข้อความ

นักตลาดสามารถติดแท็กชื่อ Lisa และ ลิซ่า หรือสินค้ารุ่นที่ 1 เอาไว้โดย กด all แล้ว save as tag เก็บเอาไว้ ถ้ามีโพสต์ไหนที่ไม่ต้องการติดแท็ก ก็ติ๊กออกที่โพสต์นั้นๆได้เลยค่ะ

ทั้งนี้นักการตลาดสามารถติดแท็กสินค้า Series 1 ที่อาจจะใช้หลายคำ โดยใส่คำ และเลือก AND OR หรือ EXCLUDE เพื่อติดแท็กทุกโพสต์ได้เช่นกันค่ะ

หลังจากที่ติด Tag ครบทั้ง 4 สาวแล้วนุ่น export ข้อมูลออกมาเพื่อนำมาสร้างชาร์ตหรือกราฟให้สามารถนำไปใส่รีพอร์ตได้ค่ะ

ตอนที่เราจะ export สามารถเลือกเอาข้อมูลออกมาที่ละ Cat หรือ Tag ได้เลยค่ะ แต่จริงๆ นุ่นแนะนำให้โหลดทีละ Tag เช่น ลิซ่าก่อน 1 ไฟล์ ตามด้วยจีซู จะได้ไม่งงค่ะ

เมื่อ export ออกมาแล้ว ต่อไปจะเป็นการเตรียมข้อมูลที่จะใช้งาน ทั้งนี้แต่ละแคมเปญอาจจะมีการโชว์ Dashboard ไม่เหมือนกัน อย่างเช่นการโปรโมทของ Samsung Galaxy S21 มี Youtuber ออกมารีวิวหลายช่อง จะใช้ Tag หรือ  Channel list ช่วยมัดรวมและ export มาทำกราฟโชว์เฉพาะ UX ที่เราต้องการรู้ในรีพอร์ตค่ะ

      ตัวอย่างการนำ Data ที่ export จาก Mandala มาสร้างชาร์ตรีพอร์ต

กลุ่มเป้าหมายมี Mention และ Engagement กับแคมเปญเวลาไหนบ้าง


รีพอร์ตอื่นๆ ที่เคยทำมาอาจจะโชว์เวลาได้ไม่ละเอียดพอให้เห็นไอเดีย กราฟด้านบนแสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายแคมเปญ มาเมนชั่นสูงสุดเวลา 18:00น. ที่เพจอาจุมม่าบ้าเกาหลี จุดนี้ถือว่าแป๊ปซี่คิดถูกที่เจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเกี่ยวกับ K-POP อยู่แล้วผ่านเพจที่เกี่ยวกับเกาหลีค่ะ

ดู Gender Time Density ของแคมเปญ

ดูเหมือนบลิ๊งชายและหญิงจะมีพฤติกรรมการใช้โซเชี่ยลต่างกันโดยสิ้นเชิง บลิ๊งเพศชายเข้ามาให้ความสนใจแคมเปญสูงในช่วง 16:00น. แสดงว่าส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ทำงานประจำกันหรือเปล่านะ ในขณะที่เพศหญิงนั้นจะมาในช่วงเวลา 18:00น.หลังเลิกงานแล้ว

บางแคมเปญถ้าอยากจะทำ season 2 แต่ยังไม่รู้ว่าจะวางตารางคอนเทนต์ยังไงดี นักการตลาดสามารถใช้เวลาจาก Gender time density เพื่อเป็นไกด์ในการวางเวลาลงคอนเทนต์ตามเป้าหมายชาย หญิง ได้เช่นกันค่ะ

สรุป แชร์ทริคปั้น Marketing Data Report ด้วย Social Listening Tools

และนี่ก็เป็นทริคการทำรีพอร์ตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร็วขึ้น ไม่กินเวลางานหลัก จากมุมมองที่เล่นกับ Data โดยกวาดจาก Social Listening Tools ค่ะ นักการตลาดอาจจะลองนำไปเสริมให้รีพอร์ตเดิมมีอะไรแปลกใหม่ที่ช่วยให้งานเร็วขึ้น เห็นมุมอื่นเพิ่มขึ้นได้นะคะ 

อย่างที่นุ่นได้บอกไปช่วงต้นบทความว่า สไตล์การทำรีพอร์ตของแต่ละคน แต่ละแคมเปญไม่เหมือนกันแล้วแต่จุดประสงค์ ให้บทความนี้เป็นไกด์ช่วยอีกแรงนะคะ สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณ Mandala สำหรับเครื่องมือดีดี ที่ทำให้เกิดบทความนี้ขึ้นมาด้วยค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก K.Noon Inch เพจการตลาดวันละตอน

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends