Blogs & Articles

เกาะกระแส Viral Meme ยังไงก็ไม่แป้กจริงหรอ? – Social Listening Tracking

social listening tools

บทความวันนี้นุ่นจะมาตาม Tracking ในเรื่องที่นักการตลาดบางคนน่าจะสงสัยว่า ถ้าแบรนด์เกาะกระแส Viral Meme ไว้ ยังไงก็ปังไม่แป้กจริงหรือ แล้วแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็ก แบรนด์แบบไหนคนมา Engage มากกว่ากัน


Viral เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นในเรื่องไหน เวลาใด แต่มักจะเป็นกระแสที่คนพูดถึงเป็นจำนวนมาก และลุกลามได้ภายในข้ามคืนเหมือนกับไวรัส นอกจากนี้แบรนด์สามารถหยิบบาง Viral มาเล่นได้อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้รับกับกระแสและถูกพูดถึงในช่วงเวลานึง หลังจากนั้นถ้าแบรนด์สามารถต่อยอดได้ จากแบรนด์เล็ก ๆ อาจจะเปลี่ยนเป็นแบรนด์ที่มีลูกค้าล้นทะลักได้ในเวลาข้ามคืนเลยค่ะ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกกันให้ดี ๆ นะคะ เพราะถ้าเอา Viral ที่แปลกหรือไม่เหมาะสมมาเล่นก็อาจทำให้เกิดดราม่า หรือเกิดผลเสียกับแบรนด์ได้ง่ายเช่นกัน


ถ้าจะให้เขียนลอย ๆ ก็คงไม่ใช่การตลาดวันละตอน นุ่นเลยจะลองเลือกหัวข้อ Viral หนึ่งที่เกิดขึ้นจริงมาตาม Tracking โดยใช้ Social Listening ที่ชื่อว่า Mandala ค่ะ โดยในช่วงเดือนเมษายน จนถึงพฤษภาคมนี้นักการตลาดคงจะได้เห็น Viral Meme ที่ถ้าเลื่อนไทม์ไลน์มาดูจะต้องเห็นไม่ต่ำว่า 3 โพสต์ใน 1 วัน นั่นก็คือ Viral Meme ‘ปลดล็อกสกินทอง’ 


ปลดล็อกสกินทอง (GoldSkin)


Viral นี้มาจากเหล่าเกมเมอร์ที่พูดถึงความยากลำบากกว่าจะได้สกินทองมาครอบครอง เพราะมันหมายถึงการที่เราพยายามทำบางอย่างซ้ำ ๆ หลายรอบมากจึงจะสามารถปลดล็อกสกินสีทองได้สำเร็จค่ะ ซึ่งระบบสกินของเกมเนี่ยมีหลายสี ขึ้นอยู่กับเกมนั้น ๆ 


และเกมที่พัฒนาเรื่องสกินอย่างจริงจัง รวมถึงมีจำนวนยูสเซอร์ถึง 2 ล้านไอดี คือเกม Call of Duty Modern Warfare 4 โหมดออนไลน์ เงื่อนไขของการปลดล็อกสกินปืนสีต่าง ๆ ไล่ไปตามความยากง่าย และขั้นสุดของระดับการปลดล็อกคือสีทองค่ะ


เมื่อนักการตลาดเข้าใจถึงที่มาแล้ว เราก็มาเริ่มดูความร้อนแรงของมีมสกินทองกันว่าจะน่าสนใจอย่างไรบ้าง


  • Data Timeline และ Post type ของกระแสนี้โดยรวมเป็นอย่างไร 

  • แต่ละแบรนด์มีการดึงเอาสินค้าหรือบริการมาเกาะกระแสได้สร้างสรรค์ขนาดไหน 

  • มีแต่แบรนด์ดัง ๆ ที่เล่นแล้วปังไม่แป้กหรือเปล่า?


คำถามเหล่านี้เราสามารถใช้ฟีเจอร์เบื้องต้นของ Mandala หาคำตอบได้ไม่ยากค่ะ


Data Timeline by Mentions – Mandala Analytics



บรรดา Viral Meme ปลดล็อกสกินทอง เริ่มเป็นที่พูดถึงในช่วงวันที่ 5 เมษายน 2564 ค่ะ 


  • และในวันที่ 8 เมษายน แบรนด์รองเท้าที่ชื่อดังอย่าง Kito ได้โพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับปลดล็อกสกินทองออกมาเป็นแบรนด์แรก ๆ



โดยใช้แคปชั่นที่มีใจความว่า เดิน 1000+ก้าว เพื่อปลดล็อก สกินทอง ในภาพเป็นสินค้าร้องเท้าแตะของแบรนด์ที่มีลายสีทองอยู่ค่ะ ทำให้มีคนเข้ามาคอมเมนต์โชว์รองเท้า หรือนับก้าว พูดคุยใต้ภาพกันอย่างคึกคักทีเดียว


  • มีจุดพีคสุด ๆ วันที่ 12 เมษายน 2564 เพราะมีหลายแบรนด์รวมทั้งสื่อดังมาร่วมเล่น Viral มีมปลดล็อกสกินทองนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น Central The 1 Credit Card  ช่อง one31 และเพจที่มีผู้ติดตามเยอะๆ ต่างก็แห่มาเล่น Viral มีมนี้กับพรึ่บ



  • Central The 1 Credit Card: Work from home รอบนี้เชฟลี่เข้าครัวทำอาหารอยู่บ้าน 100 ครั้ง #ปลดล็อกสกินหมูทองคำ พร้อมเชิญชวนแฟนเพจให้คนที่เคยทำหมูกรอบเหมือนกันมาคอนเมนต์ด้วยค่ะ



ไม่แค่สินค้าหรือบริการที่จะเล่นมีมนี้ได้ แต่สื่อก็สามารถนำมาสร้างลูกเล่นให้การโปรโมตละครได้เหมือนกัน ซึ่งช่องวันก็ได้เปรียบ วีนัส ที่เป็นตัวละครหลักของเรื่องมีความหน้าด้านหน้าทนไม่รู้จบจริงๆ อย่างกับไปต่อสู้จนได้สกินทอง อาวุธทองมา


จนมาถึงเดือนพฤษภาคม ชาว Twitter ก็ยังคงทำให้กระแสปลดล็อกสกินทองถูกพูดถึงได้อยู่ค่ะ



มาสก์หน้า 1,000 ครั้ง เพื่อปลดล็อกสกินมาสก์ทองคำ พร้อมรีวิวสินค้าที่เป็นมาสก์สีทองค่ะ ต้องบอกเลยว่าปัจจุบันทวีตที่มีจุดประสงค์เพื่อขายของแบบจังๆ ปกติแทบไม่มีใคร Retweet เลย แต่ด้วยความแรงของ Viral มีมสกินทองคำนี้เองที่ทำให้ทวีตนี้ได้รับ Engagement ไปแบบจุกๆ แถมใน Reply ยังมีคนมาพูดคุยถึงสูตรอื่น ๆ ทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักแบรนด์นี้ได้อ่านรีวิวไปในตัว


จากตัวอย่างที่นุ่นยกมาก็แสดงให้เห็นแล้วนะคะว่าแบรนด์ดังอย่างเดียวไม่ได้ทำให้ปังเสมอไป แต่องค์ประกอบอื่น ๆ ต้องได้ด้วยนะคะ


Post Type – Mandala Analytics



ทั้ง 3,469 Mentions ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน มีสัดส่วนดังนี้


       1. Page Post (ถูกโพสต์โดยแฟนเพจ): 2,886 mentions คิดเป็น 83% 

       2. User Comment: 471 mentions คิดเป็น 14%

       3. User Reply Comment: 80 mentions คิดเป็น 2%

       4. Page Reply Comment: 20 mentions

       5. Page Comment: 12 mentions


แสดงให้เห็นว่าการที่เพจจะนำ Viral มาทำ Content หรือ Meme นั้นทำให้ Page Post กับ User Comment ตีคู่มาด้วยกันเลย แบบนี้นอกจากยอดไลค์แชร์แล้วยังได้ Insight จากคอมเมนต์แถมไปฟรี ๆ ต่อยอดได้อีกหลายแง่เลยนะคะ 


มีแต่แบรนด์ดัง ๆ ที่เล่นแล้วปังไม่แป้กหรือเปล่า?



ฟีเจอร์ Top Mentions ที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถกวาดดูทุกโพสต์ ทุกแพลตฟอร์ม ได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เห็นทั้งเพจใหญ่ และยูสเซอร์ทั่วไปเล่นมีมนี้แล้วได้ Engagement ไปแบบน่าพอใจค่ะ ซึ่งไม่ใช่แค่นำ Viral มีมมาใช้ แต่ยังสามารถสร้าง Content ที่เหมาะกับองค์กรได้อย่างสร้างสรรค์ ไทม์ไลน์ไหลอย่างสนุกสนานสุด ๆ ค่ะ 


และในฟีเจอร์ Top Mentions เราสามารถเลือกเรียงลำดับจากอย่างอื่นนอกจาก Engage ได้ด้วย รายละเอียดของฟีเจอร์นี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ส่องเทรนด์เที่ยวทิพย์ นะคะ 


กลับมาตอบคำถามของบทความนี้ว่า เกาะกระแส Viral มีม ยังไงก็ไม่แป้กจริงหรอ? ในเบื้องต้นทุกคนเดาไม่ผิดหรอกค่ะเพราะถ้าแบรนด์ดังที่มีผู้ติดตามมาก ก็จะมีคนเห็นโพสต์มากน้อยตามเงื่อนไขแต่ละแพลตฟอร์ม และขึ้นอยู่กับว่านิยามความแป้กไว้ระดับไหน ส่วนแบรนด์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าก็จะมีโอกาสแมสน้อยกว่าหน่อยเท่านั้นเอง 


แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแบรนด์เล็กจะทิ้งโอกาสในการนำ Viral มาเป็น Content ให้แบรนด์ไปเฉย ๆ นะคะ เพราะถ้าคอนเทนต์ดี ติดแท็กเป็น โพสต์ในเวลาที่เหมาะ ก็เตรียมรับยอด Engagement อันล้นหลามแถมยังเพิ่มโอกาสให้คนรู้จักแบรนด์ได้ไม่น้อย


หวังว่าบทความวันนี้จะช่วยให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจได้เห็นมุมมองการเกาะกระแสของแบรนด์และสนุกไปกับ Viral Meme ปลดล็อกสกินทองไม่มากก็น้อยนะคะ ในบทความหน้านุ่นจะมีอะไรมาแชร์อีก ฝากติดตามการตลาดวันละตอนเพิ่มเติมได้ที่ Twitter และ Blockdit เลยนะคะ


สนใจอยากเริ่มต้น Social listening ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ที่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เข้าไปสมัครใช้ฟรีกับ Mandala Analytics ได้ 7 วันที่ลิงก์นี้เลย > https://www.mandalasystem.com/free_trial


ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ Noon Inch เพจการตลาดวันละตอน

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends