ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าช่วงนี้คนออกนอกบ้านไปซื้อของชอปปิงกันน้อยลงเพราะโควิด ยิ่งหลายบริษัทมีมาตรการให้พนักงานทำงานจากที่บ้านแล้วด้วย ธุรกิจร้านเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟหรือชานมที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนทำงานที่คอยอุดหนุนไปเติมพลังก่อนทำงานหรือระหว่างวันก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักเหมือนกัน และถึงแม้ว่าช่วงนี้โควิดยังระบาดหนักอยู่ แต่ธุรกิจก็ยังต้องดำเนินต่อไปพร้อมกับการปรับกลยุทธ์ให้เข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด (แม้ว่าคนออกนอกบ้านกันน้อยลงก็ตาม) มาดูกันว่าธุรกิจร้านเครื่องดื่มยอดนิยมอย่างชานมยังคงได้รับความนิยมอยู่ไหม และร้านชานมมีกลยุทธ์ในการทำการตลาดอย่างไรให้โดนใจคนรักชานม เพื่อเป็นเทคนิคในการช่วยเพิ่มยอดขายของธุรกิจร้านอาหารที่กำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจอยู่ตอนนี้
ดังนั้นจึงขอชวนทุกคนมาเข้าสู่โลกของคนรักชานม ยิ่งถ้าใครเป็นสาวกคนรักชานมอยู่แล้วยิ่งต้องห้ามพลาดบทความนี้เลยค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาตอบคำถามที่สงสัยกันก่อนว่าถ้าออกนอกบ้านน้อยลง คนไทยยังนิยมดื่มชานมกันอยู่ไหม และเครื่องมือที่จะช่วยตอบคำถามนี้คือ Google Trends ที่ช่วยแสดงปริมาณการค้นหาเรื่องต่าง ๆ ที่เราสนใจในระยะเวลาที่ผ่านมาค่ะ
หาเทรนด์ชานมจาก Google Trends
ผลลัพธ์การค้นหาจาก Google Trends
เมื่อเราลองใส่คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับชานม ไม่ว่าจะเป็นชานม, ชานมไข่มุก, milk tea และ bubble tea ลงใน Google Trends แล้ว จากกราฟข้างบนสรุปได้ว่าคนไทยยังนิยมค้นหาเกี่ยวกับชานมอย่างต่อเนื่อง เพราะปริมาณการค้นหานี่แรงดีไม่มีตกตลอดทั้งปี เรียกได้ว่าชานมเข้าไปอยู่ในสายเลือดของคนไทยแล้วใช่ไหมคะ
ทำไมต้องเป็นแบรนด์ Tiger Sugar และ Fire Tiger
ถ้าคนไหนออกตัวว่าตัวเองเป็นสาวกชานมคงต้องรู้จักร้านชานมเสือ 2 เจ้าดังอย่าง Tiger Sugar และ Fire Tiger by Seoulcial Club อย่างแน่นอน แบรนด์ Tiger Sugar เป็นชานมชื่อดังจากไต้หวัน ขณะที่ Fire Tiger เป็นร้านชานมสัญชาติไทย สาเหตุที่เลือก 2 แบรนด์นี้มาวิเคราะห์ก็เพราะว่าอยู่ในตลาดพรีเมียมทั้งคู่ เมนูเด่นของ Tiger Sugar คือ บราวน์ชูการ์โบบามิลค์ครีมมูส ราคา 120 บาท ส่วนเมนูเด่นของ Fire Tiger คือ นมเสือพ่นไฟ ราคา 150 บาท และด้วยการเจาะตลาดพรีเมียมด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทำให้ทั้ง 2 แบรนด์นี้มีความท้าทายว่าจะทำกลยุทธ์การตลาดอย่างไรให้สาวกชานมยังอยากซื้อ แม้ว่าในช่วงโควิดคนจะมีกำลังซื้อน้อยลงค่ะ
https://www.facebook.com/Thailand.TigerSugar/photos/458245204983840
ทีนี้เรามาลองทำการวิเคราะห์ดูว่าแบรนด์ชานม 2 เจ้าดังทำการตลาดอย่างไรบ้างผ่านเครื่องมือ Social listening tool ที่ชื่อว่า Mandala Analytics กันค่ะ
โดยการใช้งาน Mandala Analytics เริ่มต้นด้วยการตั้ง Keyword ก่อน เพื่อบอกเครื่องมือว่าเราต้องการวิเคราะห์เรื่องอะไร แล้วเครื่องมือจะทำการดึงข้อมูลที่ประกอบด้วย Keyword เหล่านี้มาให้ เราเลยจะมาหาไอเดียของการตั้ง Keyword ผ่านเครื่องมือที่มีประโยชน์อีกตัวหนึ่งอย่าง Google Keyword Planner ที่ช่วยบอกปริมาณการค้นหาของคำต่าง ๆ รวมถึงแนะนำคำอื่นที่เกี่ยวข้องกับคำที่ใช้ค้นหาด้วยเช่นกันค่ะ
หาไอเดีย Keyword จาก Google Keyword Planner
Keyword คำว่า ชานม ใน Google Keyword Planner
Keyword คำว่า Tiger Sugar ใน Google Keyword Planner
Keyword คำว่า Fire Tiger และเสือพ่นไฟ ใน Google Keyword Planner
คำที่ใช้ตั้งต้นใน Google Keyword Planner 4 คำ คือคำว่า ชานม, Tiger Sugar, Fire Tiger และเสือพ่นไฟ (ชื่อภาษาไทยของแบรนด์ Fire Tiger) ซึ่งผลลัพธ์ของปริมาณการค้นหารายเดือนโดยเฉลี่ยจะอยู่ในกรอบสีแดงค่ะ ส่วนคำที่อยู่ในกรอบสีส้มเป็นคำที่เครื่องมือแนะนำว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่เราได้ใส่ไปและเห็นว่าสามารถนำไปใช้ใน Mandala Analytics ได้ค่ะ
สรุปปริมาณการค้นหารายเดือนจาก Keyword ที่เลือกใช้ทั้งหมดใน Google Keyword Planner
Keyword ที่ใช้ใน Mandala Analytics
Keyword ที่ใช้ในตัวอย่างจะแบ่งเป็น 3 sets ด้วยกันค่ะ
1. เพื่อดูภาพรวมของตลาดชานม: ชานม, ชานมไข่มุก
2. เพื่อดูแบรนด์ Tiger Sugar: Tiger Sugar, ไทเกอร์ ชูการ์, ไทเกอร์ ชูก้า
3. เพื่อดูแบรนด์ Fire Tiger: Fire Tiger, เสือพ่นไฟ
หลังจากที่ได้ไอเดียของ Keyword จาก Google Keyword Planner แล้ว เราก็นำคำเหล่านี้มาใส่ใน Mandala Analytics โดยแยกประเภทเอาไว้ว่าแต่ละคำใช้สำหรับวิเคราะห์หัวข้อไหน เวลาที่เราเลือกดูข้อมูลก็จะสามารถเลือกดูได้ง่ายขึ้นตามประเภทของ Keyword ที่แยกไว้ค่ะ
อยากรู้อะไรใน Mandala Analytics
หัวข้อหลักที่เราจะมาวิเคราะห์ดูในวันนี้จะมี 3 หัวข้อด้วยกัน คือ
• แบรนด์ไหนทำให้คนมีส่วนร่วม (Engagement) มากกว่ากัน
• Content แบบไหนที่โดนใจคนรักชานม
• ช่วงเวลาไหนที่คนสนใจหาชานมมาดื่ม
โดยเราจะใช้เครื่องมือ Mandala Analytics พาเราไปค้นพบ Insights ต่างๆที่น่าสนใจ แล้วเราลองมาวิเคราะห์กันดูค่ะว่าเบื้องหลังของข้อมูลที่เราเจอมีความลับอะไรซ่อนอยู่บ้างทำไมถึงทำให้โดนใจเหล่าสาวกชานมได้ขนาดนั้น
1. แบรนด์ไหนทำให้คนมีส่วนร่วม (Engagement) มากกว่ากัน
หน้า Dashboard ของ Tiger Sugar ใน Mandala Analytics
หน้า Dashboard ของ Fire Tiger ใน Mandala Analytics
จากหน้า Dashboard ของ Mandala Analytics ถ้าหากเราดูข้อมูลแยกตามแบรนด์ จะเห็นได้ว่า Fire Tiger มีการมีส่วนร่วมของคน ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์ อีโมจิ แชร์หรือยอดวิวในการดูวิดีโอ หรือที่เรียกรวมกันว่า Engagement สูงกว่า Tiger Sugar มากเลยค่ะ โดยที่ Fire Tiger มี Overall Engagement รวมกันจากทุกช่องทางอยู่ที่ 107,919 ในขณะที่ Tiger Sugar มี Overall Engagement อยู่ที่ 38,231
ยอด Facebook Engagement ของ Tiger Sugar
แบรนด์ Tiger Sugar มียอด Engagement สูงที่สุดใน Facebook และสูงสุดในวันที่ 31 มีนาคม เมื่อเราลองกดเข้าไปดูจะพบว่ามาจากเพจ “LINEMAN” แอปสั่งอาหารเดลิเวอรี่เจ้าดังในไทยที่มีผู้ติดตามมากถึง 480,000 คน
ยอด Instagram Engagement ของ Fire Tiger
แบรนด์ Fire Tiger มียอด Engagement สูงที่สุดใน Instagram หากกดเข้าไปดูใน Instagram ของวันที่ 16 เมษายน จะพบว่ามาจาก ไอจีของคุณ “จูน กษมา” ที่มีผู้ติดตามถึง 1.5 ล้านคน ลงรูปถ่ายที่ร้าน Fire Tiger ที่สาขาสยามเพื่อหาน้ำดื่มหลังจากซื้อของกับลูก
https://www.instagram.com/p/CNuUj_1LT0A/
คุณจูน กษมา เป็นภรรยาของนักแสดงพิธีกรชื่อดังอย่างคุณเปิ้ล นาคร ศิลาชัย มีลูกด้วยกัน 4 คน ชื่อ ออกัส, ออก้า, ออกู๊ด และออเกรซ ฐานผู้ติดตามส่วนใหญ่เป็นคนที่ชื่นชอบลูกของคุณจูน เพราะคุณจูนจะลงรูปของลูก ๆ เป็นส่วนใหญ่ และยังมีช่อง YouTube ชื่อ “ple nakorn” ที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับกิจกรรมของครอบครัว เช่น การพาลูกไปทานอาหารร้านต่าง ๆ โดยคอมเมนต์ส่วนใหญ่พูดถึงน้องออก้าว่าเป็นพ่อกำนัน เพราะใส่ทองเส้นใหญ่ที่ไปซื้อกับคุณแม่มา ทำให้แบรนด์ Fire Tiger ได้ยอดการมีส่วนร่วมสูงจากคนที่ชื่นชอบน้องออก้า และจดจำได้ว่าน้องไปดื่มชานมที่ร้านไหนกับแม่ค่ะ
2. Content แบบไหนที่โดนใจคนรักชานม
เรามาดูกันว่า Content แบบไหนที่แบรนด์ทำแล้วถูกใจคนรักชานม โดยวัดจากยอดการมีส่วนร่วมของคนหรือ Engagement มากที่สุด ซึ่งเราสามารถกดดู Mention Console ในหน้า Dashboard ของ Mandala Analytics แล้วเลือกดูโพสต์ที่เรียงจาก Engagement สูงสุดไปน้อยสุดในแต่ละช่องทาง แต่เนื่องจากในกรณีนี้เราอยากจะเปรียบเทียบโพสต์ของทั้ง 2 แบรนด์ ดังนั้นจะขอโฟกัสเพียงแค่ Facebook ช่องทางเดียว เพราะมียอด Engagement ไม่ต่างกันมากค่ะ
Mention Console ของ Tiger Sugar
สำหรับแบรนด์ Tiger Sugar โพสต์ที่มียอด Engagement สูงมากที่สุดมาจาก “LINE MAN” ซึ่งเป็นแอปบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ช่วยโปรโมทโปรโมชันของอาหารภายในแอป รวมถึงเพจ “WhatSale Thailand” และ “วันนี้กินไรดีวะ” ที่ลงโปรโมชันชานมด้วยเหมือนกันค่ะ
https://www.facebook.com/466238700069709/posts/4478441988849340/
• โปรโมชันหมัดเด็ด: ลดสูงสุด 60%, ลดจุใจ 64%, 1แถม1, 2แถม1, ค่าส่ง 0 บาท ใช้โปรโมชันที่ทำให้คนรู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อมากที่สุด เห็นได้ว่าลดราคามากกว่าครึ่งหรือไม่เสียเงินค่าส่งเลยสักบาทเลย
• แคปชั่นโดน ๆ: โปรคลายร้อน รับซัมเมอร์, กู้ชีพเซฟเงิน, สู้ทุกเมื่อเพื่อทุกมื้อ ใช้คำที่แสดงถึงความเข้าใจและเห็นใจผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น อากาศร้อนเลยต้องจัดโปรคลายร้อน หรือในช่วงโควิดเศรษฐกิจแย่ลงก็ต้องเซฟเงินให้มากที่สุด
• ถ่ายชานมกับอาหาร: อาหารประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง ของมันของทอด อาหารพวกนี้เวลาทานจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ฝืดคอ หรือรู้สึกเลี่ยน ดังนั้นการจัดโปรในหน้าเดียวกันจะดึงดูดให้คนที่สั่งอาหารกดสั่งชานมมาทานด้วยในมื้อเดียวกัน
• จิตวิทยาการตั้งราคา: เน้นราคาใหม่ให้ดูโดดเด่นกว่าราคาเก่า จะเห็นได้ชัดเลยว่าราคาเก่าจะตัวเล็กและเป็นสีเรียบ ไม่ขาวก็ดำ ในขณะที่ราคาใหม่ตัวหนาและใหญ่แถมมีกรอบสีล้อมรอบด้วย กลยุทธ์แบบนี้ทำให้รู้สึกว่าราคาใหม่แตกต่างจากราคาเดิมมาก ๆ รู้สึกว่าซื้อไปแล้วเซฟเงินได้เยอะ
• เลขคู่เลขคี่ลงท้าย การใช้เลขคู่หรือเลขคี่ก็มีความหมายซ่อนอยู่ การลงท้ายด้วยเลขคู่ เช่น 250 ทำให้รู้สึกว่าสินค้ามีคุณภาพ เป็นของดี แถมคำนวณราคาและเงินทอนได้ง่ายด้วย แต่ถ้าลงท้ายด้วยเลขคี่ เช่น 139 ทำให้รู้สึกว่าราคาไม่แพงถ้าเทียบจากราคา 140 บาท แม้ว่าจะลดไปแค่ 1 บาทแต่ก็ทำให้รู้สึกว่าราคาถูกลงมาก
• สีกระตุ้นความรู้สึก: สีเขียว ถึงแม้ภาพโปรโมทจะเป็นสีเขียวเพราะเป็นสีของโลโก้ LINEMAN แต่สีเขียวยังแสดงถึงความปลอดภัย สดชื่น และช่วยผ่อนคลาย ซึ่งเข้ากับธีมของโปรโมชันที่ว่า “โปรคลายร้อน รับซัมเมอร์” หรือ “สู้ทุกเมื่อเพื่อทุกมื้อ”
สีเหลือง สื่อถึงความเบิกบานสดชื่น ความสดใหม่ อาหารในรูปส่วนใหญ่จะออกแนวโทนสีเหลือง ทำให้รู้สึกน่าทาน ดูเหมือนพึ่งทำมาก ๆ
สีแดง สื่อถึงความรุนแรง ท้าทาย กระตุ้นให้หิว สังเกตได้ว่าร้านอาหารจะใช้สีแดงกันเยอะ เช่น KFC, MK Restaurant เป็นต้น
สีน้ำเงิน แสดงถึงความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ ซึ่งถ้าใช้ในตัวเลข จะทำให้รู้สึกว่าไม่หลอกลวงผู้บริโภค ไว้วางใจได้ถ้าซื้อกับร้านนี้
ทำแคมเปญร่วมศิลปินดัง
https://www.facebook.com/374976969977331/posts/1076310066510681/
https://www.facebook.com/374976969977331/posts/1076310066510681/
ทางตัวแบรนด์เองก็มียอด Engagement ที่สูงเหมือนกันจาก “Tiger Sugar x T.U.B.S TUBS.official” ซึ่งเป็นการทำแคมเปญร่วมกับศิลปินจากประเทศจีน เพื่อขายชานมพร้อมกับปลอกแก้วแบบลิมิเต็ดให้แฟนๆของหนุ่มหล่อทั้ง 4 คนได้ตามไปเก็บสะสมกัน
“T.U.B.S” ย่อมาจาก The Untamed Boys เป็นการรวมตัวของนักแสดงในซีรีส์ปรมาจารย์ลัทธิมาร (The Untamed) ที่โด่งดังมากทั้งในจีนและไทย เวลาที่ซีรีส์ฉายก็จะติด Twitter เทรนด์อยู่ตลอด บัตรปรมาจารย์ลัทธิมาร Fanmeeting ที่จัดขึ้นที่ไทยก็ขายหมดภายในวันแรกจากศึกการแย่งชิงของคนไทย จีนและประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อ Tiger Sugar ขายชานมร่วมกับปลอกแก้วแบบลิมิเต็ด เลยทำให้แฟน ๆ รู้สึกอยากเก็บสะสม นอกจากทำให้ Tiger Sugar ได้ลูกค้าใหม่แล้ว คนยังจดจำโลโก้ของแบรนด์ที่อยู่บนปลอกแก้วได้อีกด้วยค่ะ
Mention Console ของ Fire Tiger
มาดูในฝั่งของแบรนด์ Fire Tiger กันบ้างค่ะ สำหรับโพสต์ที่มียอด Engagement สูงมากที่สุดมาจากเพจ “ปันโปร – Punpromotion” ที่ช่วยโปรโมทโปรโมชันของ Fire Tiger ที่ทำร่วมกับร้าน MK Restaurant และจะเห็นได้ว่าโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับ MK x Fire Tiger มียอด Engagement สูงเป็นอันดับต้นหลายโพสต์เลยค่ะ แสดงว่าคนรักชานมชอบทานสุกี้ MK กันมากแน่ ๆ
https://www.facebook.com/893405914029096/posts/4251327764903544/
https://www.facebook.com/164732510227596/posts/4088273714540103/
แถมยังมีโปรโมชันลด 45% และการตั้งราคาแบบเลขคี่ 259 และ599 บาท ที่ทำให้คนรู้สึกว่าราคาถูก คุ้มค่ามากๆถ้าเทียบกับราคา 300 และ 600 บาท การใช้ภาพอาหารสีโทนร้อน ส้ม เหลือง แดงช่วยกระตุ้นให้คนเห็นรู้สึกหิว นอกจากนี้ยังมอบความลิมิเต็ดให้คนแลกซื้อตุ๊กตาคิ้วท์ ๆ MK x Fire Tiger ได้ในราคาพิเศษเฉพาะที่ร้าน MK เท่านั้น ก็ยิ่งทำให้คนอยากได้ไปเก็บสะสมกันค่ะ
https://www.facebook.com/1008112079380849/posts/1593035154221869/
https://www.facebook.com/686328938151789/posts/3749127891871863/
นอกจากนี้ยังมีการใช้ดาราอย่าง “หมอเจี๊ยบ ลลนา” ที่มีผู้ติดตาม 120,000 คน มาโปรโมทแบรนด์ ซึ่งคุณหมอเจี๊ยบเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่เก่ง ฉลาดแล้วก็ยังน่าเชื่อถือ เพราะคุณหมอออกมาให้คำแนะนำมากมายเกี่ยวกับการดูแลตัวเองในช่วงโควิด ทำให้ในช่วงนี้คนติดตามและมีส่วนร่วมกับคุณหมอสูงค่ะ ส่วนเพจ “EatGuide” ก็โปรโมทสินค้าไข่เสือมันม่วงที่เป็นอีกสินค้าหนึ่งภายใต้แบรนด์ Fire Tiger พร้อมกับแคปชั่นว่า "งานนี้สั่งชานมกินอย่างเดียวไม่ได้แล้ว" ถือเป็นการส่งเสริมการขายร่วมกันด้วย พอพูดแบบนี้คนรักชานมคงต้องอยากลองสั่งไข่เสือมันม่วงมากินคู่กับชานมแน่นอนเลยค่ะ
3. ช่วงเวลาไหนที่คนสนใจหาชานมมาดื่ม
Feature ที่เป็นประโยชน์มากอีกตัวใน Mandala Analytics อันหนึ่งเลยคือ Focus Channels เพราะทำให้เราสามารถ ล็อกเป้าหมาย แบรนด์และช่องทางที่เราต้องการดูได้เลยโดยเฉพาะเจาะจง Featureนี้เลยสำคัญมากสำหรับธุรกิจที่ต้องการข้อมูลของคู่แข่งแบบเจาะจงไปเลย เราสามารถรู้ได้เลยว่าคู่แข่งของเราทำอะไรบ้างแบบ real time ในทุกช่องทางค่ะ
เราสามารถกดเพิ่ม Focus Channels ได้ตั้งแต่ตอนที่เราเริ่มสร้าง Campaign โดยการล็อกอินเข้าบัญชี Social media ของตัวเอง แล้วกดค้นหาชื่อแบรนด์ที่ต้องการโฟกัสเพื่อ Add Channel หลังจากนั้นเราก็กดเลือก Channel ที่ต้องการดูข้อมูลได้เลยที่หน้า Dashboard ค่ะ
เราจะมาดูของแบรนด์ Tiger Sugar กันก่อน ซึ่งข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราสามารถกดเลือกทีละแบรนด์เลย แล้วก็กด Apply เพื่อดูข้อมูลกันเลยค่ะ
Time Analytics ของ Tiger Sugar
เมื่อเรากดไปดูในส่วนของ Time จะเห็นว่ามีกราฟทั้งซ้ายและขวา หากอธิบายง่าย ๆ ก็คือกราฟด้านซ้ายเป็นเวลาที่เพจนั้นโพสต์เป็นส่วนใหญ่ ส่วนกราฟด้านขวาเป็นเวลาที่คนมีส่วนร่วมหรือ Engagement ในช่วงเวลาที่เพจโพสต์มากที่สุดค่ะ
เห็นได้ว่าแบรนด์ Tiger Sugar มีช่วงที่ลง Content มากที่สุดเวลา 10.00 แต่ช่วงเวลานี้กลับมียอด Engagement ที่ต่ำมาก เวลาที่คนสนใจโพสต์ของชานม Tiger Sugar ที่ลงในเพจจริง ๆ แล้วคือ 11.00 หรือ 16.00 แทนค่ะ ซึ่งถ้าแบรนด์สามารถปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการลง Content เป็น 2 เวลานี้แทนก็จะสามารถได้ยอด Engagement ที่สูงขึ้นได้ค่ะ
Time Analytics ของ Fire Tiger
แบรนด์ Fire Tiger มีช่วงเวลาที่ลง Content มากที่สุด คือ 10.00 และช่วงเวลาที่คนสนใจชานม Fire Tiger สูงก็คือเวลาเดียวกัน จากกราฟข้างบนเมื่อแบ่งช่วง Engagement สูงสุดเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 10.00, 14.00 และ 9.00 กับ 11.00 จะเห็นได้ว่าทางแบรนด์ก็ลง Content ใน 3 ช่วงเวลานี้มากที่สุดเหมือนกันค่ะ แสดงว่าแบรนด์รู้เวลาที่คนชอบมา Engage ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
จากช่วงเวลาที่มี Engagement สูงของทั้ง 2 แบรนด์ สังเกตได้ว่าเวลาที่คนเริ่มมี Engagement สูงมากจะเริ่มตอน 10-11 โมงเช้า แสดงว่าคนไม่นิยมดื่มชานมในช่วงเช้า อาจจะดื่มกาแฟแทน คนจะเริ่มคิดถึงชานมเมื่อใกล้ช่วงพักทานข้าวกลางวัน แล้วจะคิดถึงอีกทีตอนบ่าย 2 หรือ 6 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองจะเหนื่อยล้า คนอาจจะหาชานมมาดื่มเพื่อสร้างความสดชื่นค่ะ
สรุป บทเรียนทำการตลาดอย่างไรให้โดนใจคนรักชานม
Mandala Analytics ทำให้เราทราบว่าแบรนด์ชานมที่ทำให้คนมีส่วนร่วม (Engagement) มากกว่าในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม คือ Fire Tiger ส่วนช่วงเวลาไหนที่คนมีส่วนร่วมกับโพสต์ชานมเป็นช่วงสาย 10-11 โมงเช้า และอีกทีเวลาบ่าย 2 หรือ 6 โมงเย็น สุดท้ายแล้วกลยุทธ์การตลาดของร้านชานมเพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการช่วยเพิ่มยอดขายของธุรกิจอื่น ๆ ได้เช่นกัน สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้ค่ะ
กลยุทธ์การตลาดแบบไหนโดนใจคนรักชานม
1. โปรโมชันเด็ด ๆ แคปชันโดน ๆ: ลด 60%, 1 แถม1, โปรคลายร้อน รับซัมเมอร์, กู้ชีพเซฟเงิน
2. สินค้าลิมิเต็ด: ปลอกแก้วศิลปินจีน Tiger Sugar x T.U.B.S, ตุ๊กตา MK x Fire Tiger
3. ขายหรือจัดโปรโมชันร่วมกับอาหาร: ขายชานมกับอาหารที่ต้องการน้ำดื่มแก้เลี่ยนหรือดับกระหาย
4. ใช้สีกระตุ้นความรู้สึก: เช่น สีแดง ทำให้รู้สึกหิว, สีเขียว ผ่อนคลาย สดชื่น และปลอดภัย
5. จิตวิทยาการตั้งราคา: เลขคู่ลงท้าย ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพ เลขคี่ลงท้าย ทำให้สินค้าดูถูกลง
6. โปรโมทผ่านคนดัง: หมอเจี๊ยบ ลลนา แสดงความน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้, คุณจูน กษมา แสดงถึงไลฟ์สไตล์ความเป็นครอบครัว
7. แคมเปญร่วมร้านอาหาร: โปรโมชันชานม Fire Tiger ร่วมกับเซตสุกี้ MK
วันนี้เราได้ยก Feature เด็ด ๆ มาให้ดูทั้ง Mention Console ที่ช่วยดูโพสต์ที่มียอด Engagement สูงได้เลยแบบง่าย ๆ ในช่องทางทั้งหมดและFocus Channels ที่ช่วยล็อกเป้าคู่แข่งเพื่อดูว่าคู่แข่งทำอะไรบ้างในช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมี Time ที่ช่วยให้แบรนด์ลง Content ในเวลาที่คนมามี Engagement จริง ๆ ไม่ใช่ลงไปแล้วไม่มีคนสนใจ ต่อให้ Content จะปังขนาดไหนก็ไม่รอดนะคะ
ดังนั้นการทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จจะต้องรู้ใจผู้บริโภคอย่างแท้จริงและวัดผลได้ ยิ่งถ้าเรารู้ว่าคู่แข่งของแบรนด์เราทำการตลาดแบบไหนแบบ real time และดูว่าแบบไหนทำแล้วรอด แบบไหนไม่รอดจากคู่แข่ง เราก็ไม่ต้องเสี่ยงไปเจ็บตัวเอง และยังตั้งรับคู่แข่งได้ตลอดเวลาอีกด้วย เครื่องมือ Social listening tool อย่าง Mandala Analytics เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ว่าการทำการตลาดแบบไหนประสบความสำเร็จ และโดนใจผู้บริโภคมากที่สุด อย่างน้อยที่สุดแบรนด์จะได้ไม่เสียงบการตลาดไปอย่างเสียเปล่าแน่นอนค่ะ
สำหรับผู้อ่านท่านใดสนใจใช้ Mandala Analytics สามารถสมัครทดลองใช้ฟรี 7 วันได้ที่นี่
หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามทาง Live chat https://www.mandalasystem.com/
อย่าพลาดบทความดี ๆ อ่านได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/blog/th
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up