เวลาทำงานที่ต้องอิงข้อมูลเทรนด์ต่างๆ เราก็ต้องเข้าออกแพลตฟอร์มนั้นที แพลตฟอร์มนู้นทีเป็นว่าเล่น โดยคนที่ชอบ หาไอเดียเขียน Content ส่อง Keywords ฮิตๆ มาปรับใช้งานเพื่อเขียน Copy อยู่ตลอด วันนี้เพลินจะมาแชร์ฟีเจอร์ใหม่ของ Mandala Analytics ที่ชื่อว่า Cosmo Trends ให้ฟังกัน บอกเลยว่านอกจากจะเหมาะกับกลุ่มสายงานเรียลไทม์ คิดคอนเทนต์อิงเทรนด์แล้ว ยังเหมาะสำหรับการใช้งานหา Keywords ในการ Monitor กลุ่มคำต่างๆ เพื่อทำการตลาดกับ Social Data ด้วยค่ะ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าฟีเจอร์ Cosmo Trends นี้เป็นฟีเจอร์สำหรับผู้ Subscribe เครื่องมือ Mandala Analytics ทุก Package นะคะไม่มีค่าใช้จ่ายเพลิน แล้วเนื่องจากว่ามันเป็นฟีเจอร์ใหม่ที่เพลินไปลองเล่นมาแล้ว มันอัพเดทเรียลไทม์จริงๆ เลยอยากหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
และหากนักการตลาดท่านใดได้ทำการ Subscribe เครื่องมือของ Mandala เอาไว้อยู่แล้ว อยากลองใช้ฟีเจอร์ Cosmo Trends นี้ดูบ้าง ก็ง่ายมากค่ะ แค่เข้าไปนี้ Tab Navigation ด้านซ้ายมือ > ก็จะเห็นเมนู Cosmo Trends อยู่อันดับแรกรอคุณเข้าไปเล่น ไปใช้งาน หาคำ หาคีย์เวิร์ดอยู่แล้ว แต่ฟีเจอร์นี้คืออะไร หน้าตาแบบไหน ใช้งานอย่างไรได้บ้าง เพลินเอามาฝากกันแล้วค่ะ
Cosmo Trends ของ Mandala นั้นเหมือนแหล่งรวมเทรนด์จาก Social Data เข้ามาไว้ด้วยกันในเครื่องมือเดียว ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์หรือ Keywords ที่คนใช้กันเยอะๆ ในช่วงนี้หรือแม้กระทั่งแบบ 3 / 12 / 24 / หรือ 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีคำไหนถูกใช้เยอะๆ บนโซเชียลบ้าง เครื่องมือเค้าก็จับมาให้ แถมยัง Visualize ออกมาในรูปแบบต่างๆ ให้เข้าใจง่ายด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Hashtag และ Emoji ร่วมด้วย ทำให้เราเข้าถึงเทรนด์ได้เร็วขึ้นไม่ต้องมานั่งสลับแพลตฟอร์มไปมา และแน่นอนว่าสามารถดู Trends แบบ Sort by ประเทศได้ด้วย เพราะ Mandala เค้าเก็บข้อมูลได้หลายประเทศค่ะ ส่วนข้อมูลใน Cosmo Trends มีอะไรบ้างไปดูกันเลย:
Cosmo Trends เก็บเทรนด์จากไหนมาให้เราบ้าง?
- Keywords ที่ใช้บ่อยๆ จากแพลตฟอร์ม Social ต่างๆ
- Trending Content จากแพลตฟอร์ม Social ต่างๆ ให้เลือกดูได้ by platform
- Twitter Trends แบบเรียลไทม์
- Google Trends แบบรายวันว่าคนหาเรื่องอะไรกันบ้าง
1. ตัวอย่างข้อมูล Keywords ที่ใช้บ่อยๆ จากแพลตฟอร์ม Social ต่าง ๆ
อย่างที่เรารู้กันว่า Mandala เป็น Social Listening Tools ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้เป็น Social Data ที่เค้ารวมมาให้เราได้เลยแบบเรียลไทม์ให้เรากด Refresh ใหม่ได้ตลอด ตั้งแต่คำ แฮชแท็ก ไปจนถึงอีโมจิด้วย แต่หากเราดูดีๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือการวัด Ranking Trends ว่าคำไหนที่กำลังมา แล้วคำไหนที่ฮิตอยู่แต่เทรนด์ค่อยๆ ลดลงแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการจำแนก By Mention กับ By Engagement ให้ดูด้วยค่ะ โดยนอกจากจะจำแนกเป็น Table แบบนี้แล้ว ยังมีการทำ Visualize ในรูปแบบ Cloud Words เพื่อให้เราเข้าใจง่ายขึ้นด้วย
ซึ่งต้องบอกว่าข้อมูลในส่วนนี้ ทำให้นักการตลาดสายโซเชียลอย่างพวกเรา สามารถคิดคอนเทนต์ได้เร็ว ปรับตัวตามกระแสได้ตลอดเวลาเลย โดยเฉพาะเรื่องของคำสำหรับเขียน Tagline เขียน Copy ก็ทำได้เช่นกัน ส่วนเรื่องของ Hashtag เอง นักการตลาดก็สามารถใช้ Monitor ว่าแบรนด์ของเราสามารถเกาะหรืออิง Topic เทรนด์ไหนได้บ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้แบรนด์ของเราดูทันสมัย สดใหม่อยู่ตลอดด้วย
นอกจากนี้ต้องบอกว่าหลายครั้งยังมี Hashtag ที่เราสามารถอิงขายของได้ที่ชอบเป็นกระแสขึ้นมาด้วย พวก Hashtag กลางๆ อย่าง #Howtoperfect แบบนี้หากกำลัง Trending อยู่ แบรนด์สวยงามทั้งหลายก็ไม่ควรพลาดโอกาสตรงนั้นในการ หาไอเดียเขียน Content ไปเด็ดขาดเลย
2. ตัวอย่างข้อมูล Trending Content จากแพลตฟอร์ม Social ต่าง ๆ
ในแต่ละวันแน่นอนว่าต้องมีเนื้อหาที่ฮอตฮิตแตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่งหากเราเป็นนักการตลาดสายคอนเทนต์ก็ควรที่จะรู้ว่าเนื้อหาแบบไหนที่คนใน Social เค้าชอบเสพกันจนดัง จนเป็น Viral ได้ ดังนั้น Cosmo Trends > Trending Now จึงเป็นแหล่งรวมหัวข้อเนื้อหาที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่มาให้เรา โดยเราสามารถที่จะ Filter เลือกเฉพาะแพลตฟอร์มที่เราต้องการดูก็ได้ หรือจะเลือกดู By Engagement หรือ Last Updated ก็ได้เช่นกันค่ะ ยังไม่พอตรงนี้เราก็สามารถเลือกว่าจะดูเฉพาะเนื้อหาที่มาจาก Page หรือดูเฉพาะ Comment ก็ได้อีกด้วย
แต่สิ่งที่เพลินชอบอย่างนึงเพราะมันค่อนข้างตรงกับจริตคนไทยมากๆ ก็คือช่องทาง Pantip เนี่ยแหละ เพราะอย่างที่เรารู้ว่า Pantip เนี่ยเป็นอะไรที่คนจะเข้าไปโพสต์ ไปถาม ไปอ่านกันอยู่ตลอด กระทู้ไหนดังก็มีหลายเพจเอาออกมาแชร์ลงช่องทางอื่นๆ เสมอๆ ดังนั้นประเด็นคำถามเหล่านั้นในพันทิป แน่นอนว่าสามารถกลายเป็น FAQ Content หรือแม้กระทั่ง Insight ดีๆ ให้กับแบรนด์เราได้เช่นกันค่ะ แค่เพลินอ่านแบบ Scroll เร็วๆ ยังเจอคำถามจากหลากหลายอุตสาหกรรมแล้วเลย แบบนี้แบรนด์จะอยู่เฉยๆ ไม่เข้าไป Approach ลูกค้าเลยได้อยู่อีกจริงๆ หรอ?
3. Twitter Trends แบบเรียลไทม์
บอกตรงๆ ว่าเห็นเมนู Twitter Trends ตอนแรกถึงกับต้องเปิดมือถือเข้า Twitter ดูว่ามันตรงกันไหม สรุปมันตรงก็ยังแอบประหลายใจนะคะ เพราะคิดว่าบางทีระบบแบบนี้มันจะมี Lack กันบ้างเป็นธรรมดา อย่างวันนี้เป็นวันเกิดศิลปินยองแจ จากวง GOT7 เทรนด์ก็ขึ้นติดอันดับทันทีเลย เราก็สามารถคลิกโพสต์เข้าไปดูโพสต์ต้นทางได้ด้วยค่ะ
หากถามว่า Twitter Trends ดูไปทำไม? ตรงนี้ก็ต้องบอกเลยว่านอกจากจะคอยมอง หาไอเดียเขียน Content หรือหา Topic ที่เราสามารถสอดแทรก Tie-in ได้แล้ว ยังเป็นการเรียนรู้เข้าใจว่า Consumer ชอบอะไร กำลังอินกับอะไร หรือแม้กระทั่งดราม่าอะไร ไม่ชอบอะไร คนเค้าเหม็นอะไร แล้วอะไรที่เราไม่ควรเล่นในการตลาดบ้าง ในขณะเดียวกับก็ดูว่าเราสามารถหยิบจับมาเขียนคอนเทนต์ได้บ้าง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแบรนด์คู่แข่ง เมื่อไรที่คู่แข่งทำแคมเปญบน Twitter เราก็สามารถอัพเดทได้ทันทวงทีเช่นกัน ที่สำคัญยังมีเรื่องของ Influencers ดารา ติ่งเข้ามาร่วมด้วย ตรงนี้ก็ทำให้เราเห็นภาพไอดอลได้มากขึ้นค่ะ
ที่สำคัญ Twitter ยังเป็นแหล่งรวม Keywords ชั้นดีในการดึง Social Data หา Insight ค่ะ อย่างคอนเทนต์ที่เพลินเคยเขียนเกี่ยวกับสรุป Disney+ Hotstar หลังเปิดตัว 1 เดือนนั้น ต้องบอกว่า นอกจาก Main Keyword ยย่างชื่อแพลตฟอร์มแล้ว เพลินยังอิง Hashtag เกี่ยวกับแพลตฟอร์มที่คนในทวิตเตอร์ใช้กันในการดึงข้อมูล Social Data ออกมาจากเครื่องมือ Social Listening Tools ด้วย ดังนั้นการเสพ Trending Topic หรือ Hashtags จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาดเลยค่ะ
4. ตัวอย่างข้อมูล Google Trends แบบรายวัน
อีกหนึ่งข้อมูลที่ Cosmo Trends รวมมาให้คือข้อมูลค้นหารายวันของ Google Search Trends ว่าคนไทยหรือประเทศอื่นๆ (แล้วแต่เราเลือกได้) เค้าค้นหาอะไรกันเป็นอันดับต้นๆ บ้าง เช่น MV LALISA หรือแม้กระทั่งผลการแข่งขัน Football หรือจะเป็นเรื่องฮิตตลอดทุกกลางเดือนและต้นเดือนอย่างเรื่องโชคลาภอย่างรางวัลที่ 1 ถูกหวยหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งตรงนี้เราสามารถ เลือกวันที่ได้ด้วยนะคะว่าเราอยากดู Search Topic Trends ของวันไหนถึงวันไหน รวมไปถึงประเทศอะไร ทั้งนี้ก็เพื่อเอาข้อมูลมาต่อยอดในการทำ SEO Marketing ได้ด้วยค่ะ
ทั้งหมดนี้ ก็คือฟีเจอร์ใหม่ของ Mandala Analytics ที่ชื่อว่าฟีเจอร์ Cosmo Trends ค่ะ สรุปรวม ๆ ก็คือข้อมูล Trends ทั้ง 4 ข้อนี้สามารถ
- นำไปใช้เขียน Copy คิดคำ แต่งอีโมจิได้
- นำ Trending Topic ไปต่อยอด หาไอเดียเขียน Content ได้
- ใช้ในการคิด Keywords เพื่อดึง Social Data จากเครื่องมือ Social Listening ได้
- หารูปแบบคอนเทนต์ที่คนชอบเสพจากแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเอาไปขยี้ต่อให้ตรงจุด
- เสริมในส่วนของ SEO Marketing และ Real Time Marketing ค่ะ
ย้ำอีกครั้งว่าฟีเจอร์นี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สำหรับคนที่ Subscribe เครื่องมือของ Mandala อยู่แล้วนะคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมลองไปใช้งาน ลองเล่นดู กลุ่ม Creative หรือกลุ่ม Content Creator เองก็ใช้ได้ ถ้าส่วนตัวถามเพลิน ว่าเพลินจะใช้ฟีเจอร์นี้ทำอะไรบ้างบอกเลยว่าหลักๆ คือข้อม 3. ใช้ในการคิด Keywords ว่าคนในโซเชียลพูดถึงเรื่องนี้อย่างไร เพราะเพลินใช้งาน Social Listening เป็นประจำค่ะ นอกจากนั้นก็คือเรื่องของข้อ 2. ด้วย เพราะเพลินก็ต้องทำ Content ทั้งในการตลาดวันละตอนและเพจสาวอวบที่ทำอยู่ด้วย
ส่วนใครที่สนใจเครื่องมือ Mandala Analytics แต่ยังไม่อยากเสียเงิน เพราะไม่รู้ว่าจะได้ใช้ไหม หรืออะไรก็แล้วแต่ ลอง Subscribe เวอร์ชั่น Free Trial 7 วันก่อนได้ค่ะ ไม่เสียหาย หลังจากนั้นค่อยตัดสินใจทีหลังว่ายังอยาก Subscribe มันต่อไปไหม วิธีการใช้งานเครื่องมือก็ไม่ยากเลย สามารถศึกษาผ่านบทความ Case studies ก่อนหน้าของการตลาดวันละตอนตรงนี้ได้เลยค่ะ
ปลายเดือนหน้า วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม 2564 การตลาดวันละตอนเปิดคลาสสอน Social Listening Analytics Boostcamp สำหรับนักการตลาด เจ้าของธุรกิจ และผู้ที่สนใจ ค่าเรียนคนละ 8,900 บาท ก่อนรุ่นหน้าจะขยับราคาเป็น 14,900 บาทตามปกติ สนใจอ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ > https://bit.ly/slab01
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก คุณ Plearn Wisetwongchai เพจการตลาดวันละตอน