นักการตลาด และเจ้าของกิจการในยุคดิจิทัลที่ต้องการใช้เครื่องมือเพื่อค้นหา เก็บรวบรวมข้อมูลบนโลกออนไลน์มาใช้ในการสร้างกลยุทธ์ อาจมีข้อสงสัยว่า Social Listening Tools คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในการทำการตลาดในปัจจุบัน
Social Listening Tools คืออะไร?
Social Listening Tools ถ้าแปลความหมายแบบตรงตัวคือ เครื่องมือการฟังเสียงทางสังคม สามารถอธิบายให้เข้าใจโดยทั่วไปได้ว่า “เครื่องมือเทคโนโลยีที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล รวมถึงการสนทนาของคนที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ เช่น Social media, Forum และWebsite เป็นต้น”
การทำงานของ Social Listening Tools
การใช้งานเครื่องมือ Social Listening Tools ในการเก็บข้อมูลจะต้องใส่ “Keyword” เข้าไปในระบบ เพื่อที่ระบบจะได้ทำการเก็บข้อมูลจาก Keyword ที่เราป้อนลงไป แล้วนำมาแสดงผลค่ะ
ตัวอย่างการใส่ Keyword
ตัวอย่างการใส่ Keyword ใน Mandala Analytics
“Keyword” ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลจะเป็นคำหรือวลีก็ได้ ตัวอย่างเช่น
- รองเท้า: เครื่องมือจะทำการเก็บข้อมูลของรองเท้าทุกประเภท
- รองเท้าส้นสูง: เครื่องมือจะทำการเก็บข้อมูลเฉพาะรองเท้าส้นสูงเท่านั้น
- รองเท้า+ผู้หญิง: เครื่องมือจะทำการเก็บข้อมูลรองเท้าที่มีการระบุคำว่าผู้หญิงในข้อความ โดยที่คำว่า "รองเท้า" และ "ผู้หญิง" ไม่จำเป็นต้องต่อท้ายกัน รวมถึงการสลับตำแหน่งก่อนหลังระหว่างคำว่า รองเท้า และผู้หญิงได้เช่นกัน
5 ประโยชน์ของ Social Listening Tools สำหรับทำการตลาด
หลายคนที่ยังไม่เคยรู้จัก หรือใช้งานเครื่องมือ Social Listening Tools มาก่อนก็อาจจะสงสัยว่าแล้วการใส่ Keyword เข้าไปในเครื่องมือจะสามารถทำให้ค้นพบข้อมูลอะไรที่มีประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพหรือเหนือกว่าคู่แข่งอย่างไรได้บ้าง
1. ดูข้อมูลของแบรนด์ และคู่แข่ง
การใส่ Keyword โดยแยกประเภทของแบรนด์ใน Mandala Analytics
บนเครื่องมือ Social Listening Tool อย่าง Mandala Analytics สามารถใช้ Keyword แยกตามประเภทของแบรนด์ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างแบรนด์ตัวเอง และแบรนด์คู่แข่งได้
หน้า Dashboard ของแบรนด์ Tiger Sugar ใน Mandala Analytics
หน้า Dashboard ของแบรนด์ Fire Tiger ใน Mandala Analytics
จากตัวอย่างในหน้า Dashboard ของ Mandala Analytics จะทำให้แบรนด์ชานม Tiger Sugar และFire Tiger เปรียบเทียบกันได้ว่าภายในระยะเวลาตั้งแต่ 1 มี.ค. – 1 พ.ค. 2021 แบรนด์ไหนมียอดการมีส่วนร่วมของคน (Engagement) เช่น การกดไลก์, อีโมจิ, คอมเมนต์, แชร์ หรือดูวิดีโอ มากกว่ากัน และมาจากช่องทางโซเชียลมีเดียช่องทางไหนมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าแบรนด์ Fire Tiger มี 115,394 Engagement ซึ่งมากกว่าแบรนด์ Tiger Sugar ที่มี 50,307 Engagement แสดงว่าการทำการตลาดของแบรนด์ Fire Tiger ในช่วงเวลาดังกล่าวสามารถกระตุ้นให้คนเข้ามาสนใจชานมได้มากกว่า ถ้าหากตัวคุณเองเป็นนักการตลาดของแบรนด์ Tiger Sugar ก็สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมว่าแบรนด์ Fire Tiger นั้นทำการตลาดอะไรบ้างในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เช่นกัน
กิจกรรมทางการตลาดบนโซเชียลมีเดียทั้งหมดที่เกี่ยวกับแบรนด์ Fire Tiger ใน Mandala Analytics
ตัวอย่างหัวข้ออื่น ๆ ที่สามารถใช้ Mandala Analytics ในการวิเคราะห์แบรนด์กับคู่แข่ง เช่น
- เปรียบเทียบยอดการพูดถึง (Mention) และการมีส่วนร่วม (Engagement) ทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของแบรนด์ กับคู่แข่ง เพื่อหาโอกาสในการทำคอนเทนต์ดึงดูดลูกค้าจากช่องทางนั้น และพัฒนาแผนการในการทำคอนเทนต์ในช่องทางต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้า
- ดูกิจกรรมทางการตลาดที่คู่แข่งทำบนโซเชียลของแบรนด์เอง และการโฆษณาร่วมกับเพจอื่น ๆ รวมถึงเรียนรู้เคสที่ประสบความสำเร็จ และไม่และสบความสำเร็จจากการทำการตลาดของคู่แข่ง แล้วนำมาปรับกลยุทธ์ในการทำการตลาดแบรนด์ตัวเอง
2. ฟังเสียง และความต้องการของผู้บริโภค
Sentiment ของแบรนด์ Fire Tiger
บนโซเชียลที่มีข้อความมากมายมหาศาล เครื่องมือ Mandala Analytics สามารถสรุปข้อมูลมาให้แบรนด์ทราบถึงจำนวนความคิดเห็นด้านบวก และลบที่คนที่คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นแบบรวดเร็ว รวมถึงแสดงวันที่เกิดความความคิดเห็นด้านลบมากกว่าปกติบวกกับระดับความรุนแรงของความเห็นด้านลบเพื่อให้แบรนด์เข้าไปหาสาเหตุว่าเกิดอะไรขึ้นได้ และทำการแก้ไขปัญหาได้ทันทีก่อนจะลุกลามจนเสียลูกค้าไป
ความคิดเห็นของคนต่อแบรนด์ Fire Tiger
ตัวอย่างของแบรนด์ Fire Tiger เมื่อกดเข้าไปดูความคิดเห็นด้านลบจะเห็นได้ว่ามีคอมเมนต์ของลูกค้าเกี่ยวกับราคาที่แพง และรสชาติที่ไม่อร่อย ถ้าแบรนด์ทราบถึงความคิดเห็นที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์อย่างรวดเร็วแล้วก็จะสามารถรีบพัฒนาสูตรไข่มุกให้ตอบโจทย์ความต้องการ และสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าที่จะซื้อ เป็นต้น
ซึ่งตัวแบรนด์เองก็สามารถใช้ฟังก์ชัน Sentiment ในการดูความคิดเห็นที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์คู่แข่ง เพื่อค้นหาจุดอ่อน แล้วรีบสร้างกลยุทธ์มาดึงดูดลูกค้าจากแบรนด์คู่แข่งไปได้เช่นกันค่ะ
3. พัฒนาคอนเทนต์ให้โดนใจลูกค้า
หน้า Dashboard ของคำค้นหา “ชานม และชานมไข่มุก” ใน Mandala Analytics
ถ้าแบรนด์อยากรู้ว่าคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับชานมแบบไหนที่คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยสูง ๆ ก็สามารถค้นหาข้อมูลโดยใช้คำว่า “ชานม หรือชานมไข่มุก” เพื่อดูภาพรวมคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับชานมทั้งหมด
Mention Console ใน Mandala Analytics
แบรนด์สามารถค้นพบโพสต์ชานมที่มีการมีส่วนร่วมสูงในช่องทางโซเชียลมีเดียทั้งหมดได้ง่าย ๆ จากฟังก์ชัน Mention Console ใน Mandala Analytics แล้วทำการศึกษารูปแบบการใช้คำพูดบรรยาย, เทคนิคการถ่ายภาพ, การออกแบบโปสเตอร์, โปรโมชัน รวมถึงเพจที่ใช้โปรโมท ในการพัฒนาคอนเทนต์ชานมของแบรนด์ตัวเอง ตัวอย่างจากเพจ “กินหนม” เช่น การทำรีวิวรสชาติชานมทั้งหมดในร้าน เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่เคยลองอยากลองกิน อยากลองซื้อกินมากขึ้น
ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ชานม
ที่มา: https://www.facebook.com/157123397777485/posts/1940189272804213/
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชัน Keyword & Hashtag ที่ช่วยให้แบรนด์ค้นพบคำที่ถูกใช้ในโพสต์ชานมจำนวนมาก ซึ่งแบรนด์สามารถใช้คำพวกนี้ไปใส่ในโพสต์ และHashtag เพื่อเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเจอร้านบนโซเชียลมีเดีย และซื้อชานมจากแบรนด์เรามากขึ้น
Keyword & Hashtag ใน Mandala Analytics
ตัวอย่างในเคสชานม คำที่ถูกใช้สามารถแยกได้ 4 ประเภท เช่น
- เกี่ยวกับชา: ชานมไข่มุก, ชานม, milktea, tea, ชานมไต้หวัน
- ชนิดของชา: ชาเขียว, brownsugar
- โปรโมชัน: เราชนะ, คนละครึ่ง
- รีวิวสินค้า: รีวิวเซเว่น, อร่อยบอกต่อ
4. หาอินฟลูเอนเซอร์ที่ตอบโจทย์
Top Channels ใน Mandala Analytics
บนโลกออนไลน์ที่มีอินฟลูเอนเซอร์เป็นจำนวนมาก Mandala Analytics สามารถช่วยคัดเลือกอินฟลูเอนเซอร์จากช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เรียงตามเพจที่มีการทำคอนเทนต์แล้วเกิดยอดการมีส่วนร่วมของคนเข้ามา หรือเพจที่มีการผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับคำค้นหาที่ใช้มากที่สุด
ตัวอย่างเช่น การค้นหาอินฟลูเอนเซอร์สำหรับโปรโมทชานม จะเห็นได้ว่ามีเพจรีวิว, คนมีชื่อเสียง และเพจที่เป็นแบรนด์ชานมเองติดเข้ามาใน top10 แบรนด์สามารถใช้เพจเหล่านี้ดูว่าเหมาะสมที่จะใช้เป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่มีคุณภาพหรือไม่ เช่น
- ตรงกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มลูกค้า
- การมีส่วนร่วมของคน เช่น การกด Like, Reaction, Share, Comment หรือยอด View ใน YouTube เป็นต้น
- มีความน่าเชื่อถือ
- ผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่ไม่ทำให้แบรนด์เสียหาย
- ความถี่ในการโพสต์เนื้อหาสม่ำเสมอ
5. ติดตามเทรนด์
COSMOS TREND ใน Mandala Analytics
ฟังก์ชัน COSMOS TREND ใน Mandala Analytics จะช่วยนักการตลาดเกาะติดกระเเส Trends ต่างๆ บนโลก โซเชียลมีเดียทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศแบบเรียลไทม์ เพื่อที่นักการตลาดสามารถค้นพบเรื่องที่คนกำลังให้ความสนใจ, Insight ที่น่าสนใจ หรือความต้องการของคนไปสร้างสรรค์คอนเทนต์ หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ติดตามในการสร้างการมีส่วนร่วม ดึงดูดให้คนเข้ามาติดตาม และสร้างโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการมากขึ้น
ตัวอย่างการสร้างคอนเทนต์จากกระแสเกม POPCAT
โพสต์ของเพจ “กับข้าวกับปลาโอ”
ที่มา: https://www.facebook.com/250346273126319/posts/383425073151771
เพจกับข้าวกับปลาโอ: ทำคอนเทนต์เกาะกระแสน้องแมวในเกม POPCAT ทำให้คนที่กำลังเล่นเกมอยู่เข้ามาแสดงความคิดเห็นแชร์คะแนนของตัวเอง ส่งผลทำให้เพจกับผู้ติดตามเกิดการมีส่วนร่วมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น และเพจก็ได้ยอดผู้ติดตามเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
โพสต์ของเพจ “Bangkok Hospital”
ที่มา: https://mobile.twitter.com/bangkokhospital/status/1426815931125227522
โรงพยาบาลกรุงเทพ: ใช้ประเด็นเรื่องปัญหานิ้วล็อกจากการเล่นเกม POPCAT ในการโปรโมทเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน โดยเฉพาะอาการนิ้วล็อก และประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลร่วมกับกระแสที่เกิดขึ้นไปด้วยในตัว
สำหรับฟังก์ชันทั้งหมดใน COSMOS TREND ที่ช่วยอัปเดตกระแสต่าง ๆ มีดังนี้
1. TRENDING NOW
รวบรวมเรื่องราวที่กำลังได้รับความสนใจ ที่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น คอนเมนต์ แชร์หรือกดอีโมจิสูงแบบเรียลไทม์ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, YouTube และPantip และสามารถเลือกดู TRENDING TOPIC ได้จากหลายประเทศทั่วโลก ไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทย
2. KEYWORD HASHTAG EMOJI TRENDS
รวบรวม KEYWORD, HASHTAG และ EMOJI ที่มีการถูกใช้บนโลกออนไลน์หรือที่คนเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์, อีโมจิ, แชร์ หรือคอมเมนต์มากที่สุดย้อนหลังตั้งแต่ 3 ชั่วโมงจนถึง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
3. TWITTER TRENDS
รวบรวมหัวข้อ และประเด็นที่กำลังเป็นกระแสขณะนั้นใน Twitter โดยสามารถเลือกดู Twitter Trends ได้จากหลายประเทศทั่วโลก
4. GOOGLE TRENDS
สรุปหัวข้อที่คนค้นหาบน Google สูงที่สุดตามระยะเวลาตั้งแต่ 7 วัน, 30 วันที่ผ่านมา หรือกำหนดช่วงเวลาเองตามความต้องการมาแสดงผล และสามารถเลือกดูได้จากหลายประเทศทั่วโลก
สรุป การใช้ Social Listening Tools ในการทำการตลาดออนไลน์
Social Listen Tools ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้นักการตลาด และเจ้าของกิจการสามารถเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ทำแผนการตลาดจึงสามารถประหยัดเวลาลงไปได้อย่างมาก
ด้วยการสรุปผลข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ ทำให้นักการตลาดไม่ต้องคาดเดาความชอบของลูกค้า หรือเสียเงินทำคอนเทนต์ ยิงโฆษณาจำนวนมากอีกต่อไป เพียงแค่ใช้ Mandala Analytics เพียงตัวเดียวก็สามารถช่วยให้ค้นพบโอกาสทางธุรกิจได้มากมาย
ผู้อ่านท่านใดสนใจใช้ Mandala Analytics อย่างมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่ง สามารถสมัครได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/plans หรือทดลองสมัครใช้งานฟรี 15 วันที่นี่
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามทาง Live chat https://www.mandalasystem.com
ยังมีเทคนิค และวิธีใช้เครื่องมือในการต่อยอดทางการธุรกิจได้อีกหลายอย่าง สามารถเข้าไปศึกษาได้เลยที่ blog/th
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up