การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการที่แบรนด์จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพราะถ้าเราลองนึกดูว่าวันหนึ่งที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องพึ่งการทำการตลาดอย่างหนักหน่วง ต้องยิงโฆษณาทุกอาทิตย์ แต่คนยังจดจำ พูดถึง และซื้อสินค้าบริการจากแบรนด์ของเราอยู่เสมอจะดีมากแค่ไหน
ถ้าอยากเริ่มต้นสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ก็อย่าพลาดอ่านเคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จในปี 2021 รวมถึงเทคนิคการใช้ Mandala Analytics ที่เป็นเครื่องมือ Social Listening Tool เข้ามาเป็นตัวช่วยให้เจ้าของกิจการเพิ่มความได้เปรียบจากข้อมูลเชิงลึกได้เหนือกว่าแบรนด์อื่น ๆ ในตลาดไปอีกขั้นด้วยค่ะ
แบรนด์คืออะไร?
ก่อนจะเริ่มสร้างแบรนด์ มาดูความหมายของแบรนด์ให้เข้าใจกันก่อน เจ้าของกิจการมือใหม่จะได้เข้าใจภาพรวมว่าแบรนด์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
แบรนด์ คือทุกสิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องการให้คนจดจำ และรับรู้ว่านี่คือแบรนด์ของคุณ เพราะเจ้าของแบรนด์จะต้องใช้แบรนด์ดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็นลูกค้าให้ได้ ดังนั้นแบรนด์เลยประกอบไปด้วยเนื้อหาภาพต่าง ๆ เช่น การออกแบบเว็บไซต์, โลโก้, สีของแบรนด์, นามบัตร ไปจนถึงน้ำเสียงที่ใช้นำเสนอ และเป้าหมายของบริษัท เป็นต้น
5 ขั้นตอนเริ่มต้นสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ และขายสินค้าบริการ คือการที่ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายที่อยากได้เป็นลูกค้าคือใคร เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการดูว่าสินค้าบริการของคุณคืออะไร และอยากขายใครก่อน
ตัวอย่างเช่น “แบรนด์ชานม” คนที่อยากได้เป็นลูกค้าคือคนที่ชื่นชอบชานม แต่เคล็ดลับอย่างหนึ่งคือการเลือกกลุ่มเป้าหมายให้เจาะจงมากขึ้นจะทำให้แบรนด์มีตัวตนชัดเจน ลูกค้าแยกแบรนด์ออกจากคู่แข่งได้ง่าย และมีคู่แข่งน้อยลง ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายอาจเป็น “คนที่ชอบชานมที่ทานแล้วอร่อย แต่ไม่อ้วน มีน้ำตาล และส่วนผสมให้แคลอรีน้อยกว่าปกติ”
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้เจ้าของกิจการเลือกเนื้อหา, การออกแบบ และแม้แต่กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมในการสื่อสารกับผู้บริโภคของแบรนด์ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ายังไม่รู้จักกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก็ไม่เป็นไร เจ้าของแบรนด์สามารถเริ่มต้นสำรวจ และสร้างกลุ่มเป้าหมายที่ชัดมากขึ้นได้ดังนี้ค่ะ
- ตรวจสอบลูกค้าที่มีอยู่แล้ว: ตอนนี้แบรนด์มีลูกค้าแล้วหรือยัง ถ้ามีแล้วก็ไปดูเลยว่าลูกค้าอายุเท่าไหร่ มาจากที่ไหน ซื้ออะไร แล้วชอบอะไรในแบรนด์
- ดูลูกค้าของคู่แข่ง: ดูว่าลูกค้าแบบไหนคือเป้าหมายคู่แข่ง มีโอกาสอะไรที่แบรนด์ของคุณสามารถเข้าไปตอบสนองกับตลาดได้บ้างไหม
Dashboard ของ Mandala Analytics
Mandala Analytics จะเข้ามาสร้างความได้เปรียบในการสอดส่องกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คุณ และคู่แข่งมากยิ่งขึ้นด้วยการช่วยเก็บข้อมูลจากคำค้นหาตามชื่อแบรนด์หรือชื่อสินค้า ที่เจ้าของแบรนด์สามารถเข้าไปดูได้เลยว่ากลุ่มลูกค้าที่เข้ามาสนใจเป็นใคร เช่น สัดส่วนของเพศ จากตัวอย่างข้างต้น
- สร้างกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมาย: เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็เริ่มสร้างกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ที่ชัดเจนได้เลย ตัวอย่างสามารถประกอบไปด้วย รูปลักษณ์ตัวอย่าง, โปรไฟล์, อายุ, เพศ, ที่อยู่, ความชอบหรือไม่ชอบ และพฤติกรรม เป็นต้น
2. สร้าง Brand Position
Brand Position คือการกำหนดตำแหน่งของแบรนด์ หรือสินค้าบริการ เมื่อแบรนด์เข้าใจกลุ่มเป้าหมายของตัวเองแล้ว จะทำให้แบรนด์เข้าใจตำแหน่งของตัวเองมากขึ้นค่ะ เคล็ดลับคือเมื่อกำหนดตำแหน่งต้องคิดว่าแบรนด์จะแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง แล้วจะสร้างจุดเด่นอะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือกแบรนด์ของเรา
ตัวอย่าง Brand Position ในแง่ของราคา และคุณภาพ
ที่มา: https://www.outcrowd.io/blog/the-basics-of-brand-positioning
ตัวอย่างเช่น กลุ่มเป้าหมายคือคนที่ให้ความใส่ใจสุขภาพอันดับหนึ่ง มีรายได้ปานกลางถึงสูง ยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยไร้สารเคมี ดังนั้นตำแหน่งของแบรนด์ที่ขายคนกลุ่มนี้จึงไม่ใช่แบรนด์ที่มีราคาที่ทุกคนซื้อได้ แต่จะอยู่ในกลุ่มคุณภาพสูง และราคาก็สูงขึ้นมาค่ะ
Mention & Engagement ของแบรนด์ A
Mention & Engagement ของแบรนด์ B
Mandala Analytics ก็เข้ามาช่วยกำหนด Brand Position ได้เช่นกัน ถ้ามีแบรนด์อยู่แล้วก็สามารถดูว่าตอนนี้ตำแหน่งของยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) หรือการพูดถึง (Mention) ของคนบนโซเชียลเทียบกับคู่แข่งเป็นอย่างไรดังตัวอย่างที่แสดงระหว่างแบรนด์ A และแบรนด์ B
3. เลือกชื่อ, โลโก้ และภาพลักษณ์แบรนด์
การเลือกชื่อแบรนด์
ชื่อแบรนด์ก็เหมือนชื่อคนที่แบรนด์อยากให้ลูกค้ารู้จัก การตั้งชื่อที่ดีจะทำให้แบรนด์ติดอยู่ในใจของลูกค้าไปตลอด
ตัวอย่างไอเดียชื่อแบรนด์:
- ชื่อที่สอดคล้องกับธุรกิจ: ชื่อที่มีความหมายเกี่ยวกับสินค้าบริการ เช่น ร้านดอกไม้ ชื่อแบรนด์ “Florist”
- ชื่อที่สื่ออารมณ์: ชื่อที่อ่านแล้วกระตุ้นความรู้สึกหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น “Freshy”, “Sleepy”
- ชื่อจากที่มา: ชื่อที่มาจากคนสร้างหรือที่มาของแบรนด์ เช่น “Ford”, “โอ้กะจู๋”
- ชื่อจากคำผสม: ชื่อที่มาจากคำรวมกัน เช่น “Facebook”
- ชื่อย่อ: ชื่อที่ย่อให้คนจดจำได้ง่าย เช่น “BMW” ย่อมาจากภาษาเยอรมัน “Bayerische Motoren Werke” และภาษาอังกฤษ “Bavarian Motor Works”
การออกแบบโลโก้
โลโก้ที่ดีจะต้องจดจำได้ง่าย และมีความหมาย ลูกค้าควรเห็นแล้วพูดชื่อแบรนด์ออกมาได้เลยทันที
ตัวอย่างไอเดียการออกแบบโลโก้:
- ตราสัญลักษณ์: การผสมตราสัญลักษณ์หรือตัวอักษรเข้าด้วยกัน เช่น Starbucks
- Mascot: โลโก้ตัวละคร เช่น Wendy
- ตัวอักษร: ใช้ตัวอักษรเป็นโลโก้ เช่น IBM
- ไอคอน: ใช้รูปภาพ เช่น นกใน Twitter
- เครื่องหมายผสม: โลโก้ที่ใช้ชื่อบริษัท และรูปภาพรวมกัน เช่น Taco Bell
ภาพลักษณ์แบรนด์
ภาพลักษณ์ทำให้ลูกค้าจดจำ และระบุแบรนด์ได้เมื่อเห็นเป็นเหมือนการสร้างเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง
ประกอบไปด้วยส่วนที่สำคัญ:
- สีของแบรนด์: เป็นเฉดสีที่ใช้ในแบรนด์ทั้งหมด เช่น ในเว็บไซต์, โลโก้ หรือบรรจุภัณฑ์สินค้า และสีก็มีผลทางจิตวิทยาต่อลูกค้าได้ด้วย เช่น สีแดงกระตุ้นให้หิวได้ เหมาะสำหรับใช้กับร้านอาหาร
- แบบตัวอักษร: เหมือนกับสีของแบรนด์ แบบตัวอักษรก็ส่งผลถึงลูกค้าเมื่อมองเห็น เช่น Sans-serif มีความทันสมัย และเป็นมิตร
- รูปภาพ: รูปภาพ และภาพประกอบที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์ ไปจนถึงโฆษณาของแบรนด์ มีการจัดวาง และเทคนิคการตกแต่งอย่างไร
เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดมาแล้วนักออกแบบ กราฟิกดีไซน์ และนักการตลาดก็จะทำงานออกมาได้ตรงกับตัวตนของแบรนด์ที่กำหนดไว้
4. สื่อสารเรื่องราวของแบรนด์
เรื่องราวของแบรนด์คือ “เหตุผล” ที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจ ลองนึกถึงเหตุผล, แรงบันดาลใจหรือที่มาว่าแบรนด์เกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลที่ดีกับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่างของแบรนด์ร้านอาหารโอ้กะจู๋ที่อยากให้คนในครอบครัวมีสุขภาพดีไม่อยากให้ครอบครัวได้รับสารพิษ และสารเคมีตกค้างจึงปลูกผักออร์แกนิกที่ปลูกเองส่งมอบให้กับลูกค้า
ลูกค้าที่อ่านเรื่องราวของแบรนด์ก็จะได้เข้าใจเบื้องหลัง จดจำตัวตน และคุณค่าที่แบรนด์สร้างขึ้นมาเพื่อผู้บริโภค ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าบริการได้เลย
5. แชร์แบรนด์ออกไปให้คนรู้จัก
เมื่อสร้างแบรนด์แล้ว เจ้าของกิจการจะต้องแชร์เนื้อหาข้อมูลของแบรนด์ออกไปให้คนรับรู้มากที่สุด
ช่องทางที่ควรแชร์ออกไป:
- ร้าน Ecommerce : สร้างหน้าร้านค้า ใส่เนื้อหาที่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลสินค้าบริการ, ช่องทางสั่งซื้อ, ช่องทางติดต่อสอบถาม และตกแต่งให้ตรงกับภาพลักษณ์ที่กำหนดไว้
- โซเชียลมีเดีย: เครื่องมือที่ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์ และดึงดูดให้คนเข้ามาติดตาม แบรนด์ควรสร้างคอนเทนต์ แชร์เรื่องราว และสร้างการมีส่วนร่วมกับคน
- แคมเปญการตลาด: ช่วยส่งเสริมการขาย กระตุ้นให้คนอยากทดลองซื้อสินค้าบริการของแบรนด์ ใช้เป็นโปรโมชันพิเศษ, โปรโมทผ่านอินฟลูเอนเซอร์ หรือจัดกิจกรรมให้คนเข้ามาร่วมสนุกก็ได้
เคล็ดลับคือความสม่ำเสมอ เพราะความสม่ำเสมอทำให้คนที่เข้ามาดูโปรไฟล์เห็นว่าแบรนด์ยังมีความเคลื่อนไหว มีตัวตนอยู่จริง และเชื่อถือได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแบรนด์ที่แข็งแกร่ง
เนื้อหา Top mention ใน Mandala Analytics
ถ้าไม่มีไอเดีย ไม่รู้จะทำเนื้อหาโปรโมทธุรกิจอย่างไรดีก็สามารถใช้ Mandala Analytics ดูไอเดียการทำคอนเทนต์โปรโมทสินค้าที่มีคนเข้ามาให้ความสนใจ เช่น กดไลก์, อีโมจิ, แชร์หรือคอมเมนต์จำนวนมากจากช่องทางโซเชียลมีเดียได้ แบรนด์จะได้ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินทดลองทำคอนเทนต์ที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคตั้งแต่แรก
ที่มา: https://www.oberlo.com/blog/how-to-build-a-brand
สรุป ขั้นตอนสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ
1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย: เป้าหมายที่เจาะจงจะทำให้แบรนด์มีตัวตนชัดเจน ลูกค้าแยกแบรนด์ออกจากคู่แข่งได้ง่าย และมีคู่แข่งน้อยลง
2. สร้าง Brand Position: แบรนด์จะแตกต่างจากคู่แข่งได้อย่างไรบ้าง แล้วจะสร้างจุดเด่นอะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือกแบรนด์ของเรา
3. เลือกชื่อ, โลโก้ และภาพลักษณ์แบรนด์: สร้างเอกลักษณ์อย่างไรให้แบรนด์เป็นที่จดจำ
4. สื่อสารเรื่องราวของแบรนด์: ส่งต่อแนวคิด และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจ
5. แชร์แบรนด์ออกไปให้คนรู้จัก: เลือกช่องทางที่เหมาะสมกับธุรกิจ และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
ในยุคที่ข้อมูลมีค่า ใครมีข้อมูลในมือมากกว่า และรีบเอามาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจย่อมได้เปรียบ ดังนั้นอย่ารอช้า รีบค้นพบโอกาสจากข้อมูล และสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคู่แข่งด้วย Mandala Analytics สมัครใช้งานได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/plans หรือทดลองสมัครใช้งานฟรีก่อนถึง 7 วันที่นี่
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามทาง Live chat https://www.mandalasystem.com/
อย่าพลาดบทความดี ๆ อ่านเลยได้ที่ blog/th/
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up