นักการตลาดออนไลน์หลายคนอาจจะยังมีความคิดที่ว่าการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการทำการตลาดเป็นเรื่องยาก ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มตรงไหน หรือบางคนที่รู้จักเครื่องมือ Social listening แล้ว แต่ก็ยังติดปัญหาในการใช้เครื่องมืออยู่ดี วันนี้ทางทีมงาน Mandala AI เลยจะมาสอนขั้นตอนทำงานตลาดออนไลน์ด้วยเครื่องมือ Social listening analytics กับ Mandala Analytics ที่แม้แต่มือใหม่หัดใช้ก็สามารถเข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ
สำหรับบทความนี้จะขอหยิบยกฟังก์ชันพื้นฐานที่ใช้ควรใช้เป็นประจำ และสามารถช่วยตอบโจทย์ความต้องการของนักการตลาดออนไลน์ได้อย่างดีมาเป็นตัวอย่าง ดังนั้นอย่ารอช้า ไปเริ่มศึกษาขั้นตอนทำการตลาดออนไลน์ของเครื่องมือ Mandala Analytics กันเลยครับ
1. สมัครใช้งาน Mandala Analytics
ก่อนจะเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์ แน่นอนว่าทุกคนจะต้องสมัคร Account ในการใช้งานเครื่องมือกันก่อน โดยสามารถสมัครใช้งานได้ตามลิงก์ข้างล่างเลยครับ
2. เริ่มสำรวจเทรนด์ด้วย Mandala Cosmos
หน้าตา Mandala Cosmos
เครื่องมือ Mandala Cosmos เป็นเครื่องมือ Social monitoring ที่เอาไว้สำรวจเทรนด์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น, ดูโพสต์ย้อนหลังไม่เกิน 7 วัน, ดูการเจริญเติบโตของโพสต์ และสามารถติดตามคู่แข่งของแบรนด์ เมื่อล็อกอินเข้าบัญชีที่สร้างไว้แล้ว จะเห็นหน้าตาของ Mandala Cosmos จะมีฟังก์ชันส่วนที่เรียกว่า “Discover Now” ที่เอาไว้ใช้อัปเดตเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งฟังก์ชันนี้จะเป็นส่วนช่วยให้นักการตลาดออนไลน์อัปเดตกระแส และไอเดียการตลาดจากเทรนด์ที่คนกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนั้น
Ripples ใน Mandala Cosmos
ถ้าหากคุณต้องการติดตามคู่แข่งทางการตลาดหรือช่องที่คุณสนใจสามารถเพิ่มช่องที่คุณสนใจได้ที่ Ripples หรือถ้าคุณอยากให้ AI ช่วยวิเคราะห์สีก็สามารถวิเคราะห์สีของโพสต์นั้นก็สามารถวิเคราะห์ได้เช่นกันโดยฟังก์ชั่น Prism Analytics
Mandala Cosmos ช่วยทำการตลาดออนไลน์ได้อย่างไรบ้าง ?
- อัปเดตกระแสที่เกิดขึ้นบน Google Trends, Twitter, Facebook, Instagram และYouTube
- ดูกระแสว่าตอนนี้คนในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลกกำลังสนใจเรื่องอะไร หรือถกเถียงประเด็นอะไรอยู่
- ดูแนวทางการใช้คำ, อีโมจิ และแฮชแท็กที่คนกำลังให้ความสนใจมาประกอบคอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์
- ช่วยเป็นไอเดียในการผลิตคอนเทนต์ต่าง ๆ
- ช่วยวิเคราะห์สีของรูปภาพในโพสต์นั้น
หากท่านไหนอยากเจาะลึกศึกษาดูฟีเจอร์ใน Mandala Cosmos และนำไปใช้ในการทำการตลาดออนไลน์อย่างไรได้บ้างทั้งหมดอย่างละเอียด อ่านได้ที่นี่เลยครับ
3. สำรวจหน้า Dashboard ของแคมเปญที่สร้างใน Mandala Analytics
หลังจากเริ่มใส่คำค้นหา (Keyword) ลงในแคมเปญที่สร้างแล้ว ระบบจะทำการประมวลผลรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มาขึ้นให้ในหน้า Dashboard ตามตัวอย่างของรูปด้านล่าง
แต่ถ้าหากท่านไหนยังไม่แน่ใจว่าจะใส่คำค้นหาอะไรลงไปในเครื่องมือดี อ่านแนวทางการใส่ Keyword ก่อนได้เลยครับ
สำหรับตัวอย่างข้างล่าง คำค้นหาคือคำว่า “โปรโมชั่น” และ “การตลาดออนไลน์” ใช้เพื่อเป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่นบนโลกออนไลน์เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับร้านหรือแบรนด์ที่กำลังคิดโปรโมชั่นทางการตลาดครับ
หน้า Dashboard ใน Mandala Analytics
ซึ่งข้อมูลในหน้า Dashboard สามารถเลือกดูได้แบบการพูดถึงคำค้นหา (Mention) คือโพสต์ที่มีคำค้นหา (Keyword)ประกอบอยู่ในเนื้อหา หรือการมีส่วนร่วมของคน (Engagement) เช่น การกดไลก์, กดอีโมจิ, แชร์, คอมเมนต์ หรือดูวิดีโอ เป็นต้น
3.1 ดู report สรุปผลภาพรวม
ส่วนบนขวามือของหน้า Dashboard จะมีปุ่มที่เขียนว่า “Report” เมื่อกดเขามาจะพบกับการสรุปผลข้อมูลที่นักการตลาดสามารถเข้าใจภาพรวมของแคมเปญที่สร้างได้โดยง่ายก่อนจะเริ่มเจาะลงไปในฟังก์ชันอื่น ๆ อย่างละเอียดทีหลังครับ
Summary Report ใน Mandala Analytics
- สัดส่วนของการพูดถึง (Mention) และการมีส่วนร่วมของคน (Engagement) ในแต่ละช่องทางโซเชียลมีเดีย: เพื่อศึกษาว่าคนเข้าไปพูดถึงเรื่องที่ค้นหา และเข้าไปมีส่วนร่วมในช่องทางไหนมากที่สุด นักการตลาดสามารถเปรียบเทียบได้ว่าแบรนด์ของตัวเองทำการตลาดได้ครอบคลุมช่องทางที่คนนิยมหรือไม่ หรือใช้วัดผลของแคมเปญที่ทำว่าประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ต้องไว้หรือเปล่า
Word cloud & Hashtag cloud summary
- Word cloud & Hashtag cloud summary: ศึกษาคำ และแฮชแท็กที่คนเข้าไปมีส่วนร่วมสูงไว้ใช้ประกอบคอนเทนต์ที่ทำลงในโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์
Popular published time & Best post time
- Popular published time: เวลาที่แชนเนลบนโซเชียลมีเดียโพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับคำค้นหามากที่สุด
- Best post time: เวลาที่คนเข้าไปมีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ที่โพสต์ในเวลานั้นมากที่สุด
3.2 ศึกษา Data Timeline ของข้อมูล
Data Timeline จะทำให้นักการตลาดออนไลน์รู้ว่าวันหรือช่วงเวลาไหนที่คนพูดถึง (Mention) หรือเข้าไปมีส่วนร่วม (Engagement) กับคอนเทนต์ที่เกี่ยวแซลมอนมากที่สุด เพื่อจะได้ศึกษาเข้าไปลึกมากขึ้นว่าคอนเทนต์ไหนหรือใครเป็นคนทำให้คนพูดถึงแซลมอน และสนใจแซลมอนมากกว่าช่วงเวลาอื่นครับ
Data Timeline ดูจำนวนการพูดถึง (Mention)
Data Timeline ดูจำนวนการมีส่วนร่วม (Engagement)
ถ้านักการตลาดลองกดเข้าไปดูข้อมูลของวันที่ 18 มี.ค. ดูก็จะพบว่าคอนเทนต์ไหนที่ทำให้เกิดยอดการมีส่วนร่วม (Engagement) ใน YouTube แล้วลองศึกษาเนื้อหา และการนำเสนอดูได้ว่าทำไมคอนเทนต์นี้ถึงทำให้คนเข้ามาสนใจสูงได้
YouTube Engagement ของวันที่ 18 มี.ค.
ซึ่งนักการตลาดก็สามารถกดเข้าไปดูข้อมูลจากกราฟได้เหมือนในตัวอย่างที่กดเข้าไปดูข้อมูล YouTube Engagement ของวันที่ 18 มี.ค. แต่เปลี่ยนเป็นกราฟของ Mention ได้เช่นเดียวกันครับ เพื่อเข้าไปหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) ว่าทำไมคนถึงพูดถึงแซลมอนกันมากกว่าปกติ มีเหตุการณ์หรือกระแสอะไรเกิดขึ้น นักการตลาดจะได้รู้ทันกระแสได้อย่างรวดเร็ว
3.3 ส่อง Top Channels ในช่องทางต่าง ๆ
Top Channels ในส่วนของ Mention
Top Channels ในส่วนของ Engagement
Top Channels จะช่วยนักการตลาดสำรวจว่าแชนเนลไหนมีการผลิตคอนเทนต์ที่พูดถึงแซลมอน และแชนเนลไหนที่คนเข้ามาให้ความสนใจในคอนเทนต์แซลมอนมากที่สุด เพื่อเอาไว้เป็นตัวอย่างไอเดียทำคอนเทนต์ และใช้เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ตอบโจทย์กับสินค้า
อย่าลืมศึกษาเทคการเลือกอินฟลูเอนเซอร์กันก่อนด้วยนะครับ จะได้เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีคุณภาพ และตอบโจทย์กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นครับ
4. ดูส่วนแบ่งของ Keyword & Hashtag
ฟังก์ชัน Keyword & Hashtag แบบ Mention ใน Mandala Analytics
ฟังก์ชัน Keyword & Hashtag แบบ Engagement ใน Mandala Analytics
- Keyword Timeline: ทำให้นักการตลาดรู้ว่าคำค้นหา (Keyword) มีการพูดถึงสูงในช่วงเวลาไหน หรือมีคนเข้ามามีส่วนร่วม (Engagement) ช่วงเวลาไหนมากที่สุด ซึ่งนักการตลาดก็สามารถกดเข้าไปดูคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นได้จากกราฟได้เหมือนกับฟังก์ชัน Data Timeline ได้เลยครับ
- Campaign Keyword: จะเป็นการบอกส่วนแบ่งของคำค้นหา (Keyword) ให้นักการตลาดรู้ว่าคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มีคำไหนถูกใช้ประกอบโพสต์มากกว่ากัน และคำไหนมีคนให้ความสนใจมากกว่า จะได้นำไปประกอบคอนเทนต์ลงบนโซเชียล และเว็บไซต์ได้ครับ
5. ดูคอนเทนต์ที่คนสนใจชื่นชอบจาก Top Mentions
ฟังก์ชัน Top Mentions ใน Mandala Analytics
ในส่วนของ Top Mentions จะเป็นการรวบรวมคอนเทนต์ทั้งหมดบนโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ ที่เรียงจากการมีส่วนร่วม (Engagement) มากที่สุดไปน้อยที่สุด หรือจากน้อยที่สุดไปมากที่สุดก็ได้ครับ
นักการตลาดจะเห็นภาพรวมของคอนเทนต์บนโซเชียลแต่ละช่องทาง แล้วทำการเปรียบเทียบเนื้อหาที่ควรทำให้เข้ากับความชื่นชอบของคนได้ดียิ่งขึ้นจากการวิเคราะห์กับคอนเทนต์ตัวอย่าง และในทางกลับกันนักการตลาดก็สามารถดูคอนเทนต์ที่คนไม่ค่อยให้ความสนใจ เพื่อหาจุดบกพร่องแล้วทำการหลีกเลี่ยงกับคอนเทนต์ของแบรนด์ด้วยเช่นกัน
6. ดูภาพรวม Insights
ฟังก์ชัน Insights Analytics ใน Mandala Analytics
ฟังก์ชัน Insight Analytics จะเป็นการสรุปภาพรวมของ Keyword แคมเปญที่คุณได้ตั้งไว้ โดยจะคัดสรร 1,000 โพสต์ที่มีคุณภาพนำมาวิเคราะห์เพื่อเป็น Report ที่เข้าใจง่ายให้กับผู้ใช้งาน
6.1 ดูความคิดเห็นของคนบน Sentiment
ฟังก์ชัน Sentiment ใน Mandala Analytics
สัดส่วนของความคิดเห็นเชิงลบ และเชิงบวกเกี่ยวกับเรื่องที่ค้นหา ทำให้นักการตลาดสามารถศึกษาดูความคิดเห็นของคนบนโลกออนไลน์ได้แบบง่าย และรวดเร็ว ทำให้นักการตลาดสามารถเข้าใจความต้องการ สิ่งที่ชอบ และไม่ชอบของคนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนากลสินค้าในอนาคต Sentiment
ถ้าหากว่าลองใส่คำค้นหาเกี่ยวกับชื่อแบรนด์ลงในเครื่องมือ Mandala Analytics ก็จะทำให้นักการตลาดค้นพบความคิดเห็นของคนที่มีต่อแบรนด์ของตัวเอง รวมถึงคู่แข่งที่ต้องการศึกษา เพื่อค้นหาจุดอ่อน แล้วรีบสร้างกลยุทธ์มาดึงดูดลูกค้าจากแบรนด์คู่แข่งไปได้เช่นกันครับ
สรุป ประโยชน์ของการทำการตลาดออนไลน์ด้วย Mandala Analytics
1. เข้าถึงลูกค้าจำนวนมากด้วยการรวบรวมข้อมูลบนโลกออนไลน์
2. ใช้ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับการจ้างคนมาทำ report ให้
3. ทำการตลาดได้ 24 ชม. แม้ตอนที่คุณเวลานอน เครื่องมือก็จะทำการเก็บข้อมูลอยู่ตลอด
4. วัดผลได้โดยง่ายด้วยการวิเคราะห์ และสรุปผลแบบอัตโนมัติด้วย Mandala Analytics
หากผู้อ่านท่านไหนอยากเริ่มต้นใช้เครื่องมือ Social listening analytics อย่าง Mandala Analytics ในการทำการตลาดออนไลน์ให้เหนือกว่าคู่แข่ง สามารถสมัครได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/plans
หรือทดลองสมัครใช้งานฟรีก่อนถึง 15 วันที่นี่
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up