Blogs & Articles

เวลาที่ควรโพสต์บนโซเชียลมีเดียของปี 2021

social listening tools

นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์เองเคยดูสถิติของโพสต์ย้อนหลังไหมว่ามีจำนวนไลก์หรือมียอดการมีส่วนร่วม (Engagement) มากน้อยแค่ไหน จะดีกว่าไหมถ้าแบรนด์ปรับกลยุทธ์การลงคอนเทนต์ให้ตรงกับช่วงเวลาที่คนเข้ามามีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดียจนทำให้เกิดยอดกดไลก์, คอนเมนต์, หรือแชร์สูงมากกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะแบรนด์ต้องเผชิญกับความจริงที่ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่แบรนด์โพสต์บนโซเชียลมีเดียจะมีแค่ผู้ติดตามบางส่วนเท่านั้นที่เห็น และอายุเฉลี่ยของโพสต์บนโซเชียลมีเดียก็อยู่ได้ไม่นาน เช่น  tweet โดยเฉลี่ยจะอยู่บน Twitter แค่ 20 นาทีก่อนเนื้อจะถูกดันไปอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้ติดตามที่ไม่ได้ใช้โซเชียลในตอนนั้นมีโอกาสไม่เห็นโพสต์ของแบรนด์สูงมาก


วันนี้ทางทีมงาน Mandala Analytics เลยมาสรุปให้ว่าแบรนด์ควรโพสต์เวลาไหนบนโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ ให้ตรงกับช่วงเวลาที่มีคนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด


เวลาที่ควรโพสต์บนโซเชียลมีเดียของปี 2021


1. Facebook


วันที่ควรโพสต์: อังคาร, พฤหัสบดี, ศุกร์, เสาร์, และอาทิตย์

เวลาที่ควรโพสต์: ตอนบ่าย (13:00-16:00 น.), และตอนเย็น (18:00-22:00 น.)

ความถี่ที่ควรโพสต์: 2 ครั้งต่อวัน


Facebook post on social media


2. Twitter


วันที่ควรโพสต์: จันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี, และศุกร์

เวลาที่ควรโพสต์: ตอนเช้า (08:00-10:00 น.), ตอนบ่าย (11:00-13:00 น.), และตอนเย็น (17:00-18:00 น.)

ความถี่ที่ควรโพสต์: 3 ครั้งต่อวัน


Twitter post on social media


3. Instagram


วันที่ควรโพสต์: จันทร์, พุธ, และพฤหัสบดี 

เวลาที่ควรโพสต์: ตอนบ่าย (11:00-13:00 น.), และตอนเย็น (19:00-21:00 น.)

ความถี่ที่ควรโพสต์: 1 หรือ 2 ครั้งต่อวัน


Instagram post on social media


source: https://www.socialmediatoday.com/news/the-best-times-to-post-your-social-media-updates-in-2021-infographic/593185/


ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเพิ่มเติม


ช่วงเวลาที่คนใช้งานหรือเข้ามามีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดียไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้โพสต์นั้นประสบความสำเร็จ แต่แบรนด์ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันด้วย เช่น


  • สถิติย้อนหลังที่บันทึกไว้


แบรนด์ควรรวบรวมสถิติย้อนหลังของโพสต์ที่ลงไปย้อนหลังเพื่อนำมาตัดสินใจประกอบดูว่าผลลัพธ์ย้อนหลังที่โพสต์ในแต่ละช่วงเวลาเป็นอย่างไร เวลาไหนที่โพสต์แล้วได้การตอบรับดีมากที่สุด แล้วลองนำมาเปรียบเทียบกับช่วงเวลาด้านบนอีกครั้งก่อนตัดสินใจในการตั้งเวลาโพสต์


  • Time Zone ของกลุ่มเป้าหมาย


หากแบรนด์ของคุณมีฐานลูกค้าอยู่ต่างประเทศ คุณจำเป็นต้องโพสต์ตามช่วงเวลาของประเทศลูกค้าเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่โพสต์ตามเวลาในประเทศของแบรนด์คุณเอง 


  • ประเภทของสินค้า และบริการ


แบรนด์ควรต้องคำนึงถึงประเภทสินค้า และบริการของตัวเองด้วย ตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร เวลาส่วนใหญ่ที่ร้านมักจะโพสต์จะเป็นช่วงก่อนเวลาพักทานข้าว เพราะคนเริ่มหิว และอยากสั่งอาหารกินในช่วงนั้น


ดังนั้นการมีข้อมูลของช่วงเวลาที่เหมาะสมกับประเภทสินค้าหรือบริการเลยเป็นสิ่งจำเป็น และ Mandala Analytics ก็มีฟังก์ชันที่ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในเรื่องนี้ได้อย่างง่ายดาย


ในเคสตัวอย่างนี้ ทีมงานได้ใช้คำค้นหา (Keyword) ในชุดที่ 1 ว่า “เดรส” 

ส่วนชุดที่ 2 ใช้คำว่า “ชานม” และ “ชานมไข่มุก” 

เพื่อเปรียบเทียบสินค้าต่างประเภทกันดูว่าช่วงเวลาไหนที่คนเข้ามามีส่วนร่วมกับโพสต์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด 


Time Analytics for dress


กราฟด้านซ้ายเป็นกราฟที่แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่มีการลงคอนเทนต์เกี่ยวกับเดรสมากที่สุด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้า ก่อนจะเยอะมากที่สุดในช่วง 19:00-21:00 น. ของทุกวัน


ส่วนช่วงเวลาที่คนเข้ามามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ที่ถูกโพสต์ในช่วงเวลานั้นถูกมากที่สุดจะดูได้จากการเกาะกลุ่มของกราฟ ซึ่งก็คือช่วงเวลา 18:00-21:00 น. 


แสดงว่าแบรนด์ที่ขายชุดเดรสก็สามารถลงคอนเทนต์ได้ตอนเวลา 18:00 น. ได้เช่นเดียวกัน เพราะคนบนโลกออนไลน์ก็เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยสูงแล้วในเวลานี้


Time Analytics for bubble tea


ส่วนเคสของชานมไข่มุก กราฟด้านช่วงเวลาที่มีการลงคอนเทนต์เกี่ยวกับชานมมากที่สุดในช่วง 9:00-14:00 น. ของทุกวัน


ส่วนช่วงเวลาที่คนเข้ามามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ที่ถูกโพสต์ในช่วงเวลานั้นถูกมากที่สุดกราฟ คือช่วงเวลา 09:00-14:00 น. และ 17:00-20:00 น. ซึ่งแบรนด์ชานมก็ควรลงคอนเทนต์อีกรอบในช่วงเวลานี้เพื่อเรียกความสนใจจากคนที่กำลังอยากดื่มชานมช่วงเย็นได้ด้วย


จากเคสตัวอย่างทำให้เกิดการเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจนเลยว่า สินค้าบริการแตกต่างกันคนจะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยในเวลาที่ต่างกัน และยิ่งไปกว่านั้นฟังก์ชัน Time Analytics ยังสามารถเลือกปรับเวลาให้แสดงตรงกับ time zone ของหลายประเทศสำหรับแบรนด์ที่ต้องการโพสต์ไปยังลูกค้าต่างประเทศได้ง่าย ๆ แบบอัตโนมัติอีกด้วย


Time zone in Time Analytics


  • พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย


แบรนด์ต้องเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วยก่อนจะโพสต์คอนเทนต์ลงบนโซเชียลมีเดีย เช่น สินค้าสำหรับแม่และเด็ก กลุ่มเป้าหมายเป็นคุณแม่ช่วงให้นมลูก ดังนั้นแบรนด์ควรเข้าใจว่าคุณแม่ยุ่งเวลาไหน แล้วจะว่างช่วงเวลาไหนถึงจะมีเวลาเข้ามาเล่นโซเชียลมีเดียด้วยเช่นกัน


  • คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการ


เวลาในการโพสต์ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้ผู้ติดตามเข้ามามีส่วนร่วม แต่ตัวคอนเทนต์ของโพสต์เองก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ลูกค้าสนใจหรือไม่สนใจได้เหมือนกัน ดังนั้นแบรนด์ต้องผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และที่สำคัญคือตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายด้วย 


ดังนั้นแบรนด์ควรศึกษาความหมายเพิ่มเติมของการทำ content marketing หรือเจาะลึกวิธีการทำคอนเทนต์บน Instagram เพื่อเพิ่มยอดขาย


เครื่องมือ Mandala Analytics ก็สามารถช่วยแบรนด์ทำ content marketing ให้ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงบนโลกออนไลน์ และให้ระบบช่วยวิเคราะห์อัตโนมัติแล้วนำเสนอให้เห็นตัวอย่างคอนเทนต์ที่คนให้ความสนใจ แบรนด์จะได้ประหยัดเวลา และงบทำคอนเทนต์ที่เสียไปแบบไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย


อ่านบทความตัวอย่างการทำคอนเทนต์โดยใช้ Mandala Analytics เพิ่มเติม:


ใช้งาน Mandala Analytics วันนี้ แบรนด์จะได้

  • เริ่มต้นทดลองใช้งานฟรีถึง 7 วัน แบบไม่มีข้อผูกมัด และได้ครบทุกฟังก์ชัน

  • ทำการตลาดได้ตลอดเวลา 24 ชม.

  • ประหยัดเงิน และเวลาในการทดลองทำคอนเทนต์ที่ไม่ตอบโจทย์


หากผู้อ่านท่านไหนอยากเริ่มต้นใช้เครื่องมือ Social Analytics อย่าง Mandala Analytics ในการทำคอนเทนต์ให้ประสบความสำเร็จ สามารถสมัครได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/plans

หรือทดลองสมัครใช้งานฟรีก่อนถึง 7 วัน



อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ blog/th/

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends