Blogs & Articles

สอนสร้าง campaign ใน Mandala Analytics แบบละเอียดสำหรับผู้ใช้งานใหม่

social listening tools

แนะนำเนื้อหา


สำหรับคนที่สมัครใช้งาน Mandala Analytics ทั้งแบบ free trial หรือแบบ plan มาแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจขั้นตอนการใช้งาน 


วันนี้ทางทีมงานเลยมาแนะนำขั้นตอนการสร้าง campaign บนเครื่องมือ Social listening Analytics แบบละเอียดเหมือนจับมือทำกันตั้งแต่เริ่มจนได้ข้อมูลออกมาเลยค่ะ


แต่สำหรับใครที่สร้างแคมเปญเป็นแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าควรดูข้อมูลตรงส่วนไหน สามารถข้ามไปดูขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์ด้วย Mandala Analytics ได้เลยค่ะ


วิธีสร้าง campaign บน Mandala Analytics


1. สมัครใช้งาน Mandala Analytics


หากใครยังไม่มี Mandala account สามารถสมัครได้ตามลิงก์ข้างล่างเลยค่ะ


    สมัครบัญชี Free Trial ฟรี 7 วัน ที่นี่

    สมัครบัญชีตาม Plan ที่นี่


หลังจากสมัครใช้งาน account เรียบร้อยแล้ว โปรดรอรับการตอบ email กลับจาก Mandala ในระยะเวลาไม่นานค่ะ

หากยังไม่ได้รับ email อย่าลืมเข้าไปดูที่ junk mail ก่อนนะคะ


2. Login เข้าใช้งานระบบ


Login on Mandala website


สำหรับขั้นตอนแรกของการเริ่มใช้งาน ให้เข้ามายังหน้าเว็บไซต์ของ Mandala Analytics แล้วกดปุ่ม “Login” 


How to sign in


จากนั้นระบบจะนำมาสู่หน้า sign in 

2.1 ใส่ email หรือ username 

2.2 ใส่ password ที่ใช้หลังจากลงทะเบียนแล้ว

2.3 กดช่องสี่เหลี่ยม I’m not a robot

2.4 กด “SIGN IN


3. สร้าง Project


Navigation on Mandala


ดูจากแถบ Navigation ให้แน่ใจว่ากำลังอยู่ในหน้า projects จากนั้นกดปุ่ม “CREATE A PROJECT”


Create a project 


ใส่ชื่อของ project ที่ต้องการสร้าง ตัวอย่างเช่น “น้ำผลไม้” และเลือก user group ที่ต้องการให้ใช้ project นี้

เสร็จแล้วกด “Save


4. สร้าง Campaign


Project console


Project ที่พึ่งสร้างเสร็จแล้วจะขึ้นมาอยู่ในหน้า Project Console โดยอัตโนมัติ

จากนั้นกดปุ่ม “Campaigns


Create a campaign


เมื่อเข้ามาจะเห็นเป็นหน้ารวม campaign ที่อยู่ใน project นี้ทั้งหมด โดยในหนึ่ง project สามารถสร้างได้หลายแคมเปญ และหากต้องการสร้าง campaign ขึ้นมาใน project นี้ให้กด “CREATE A CAMPAIGN


How to create a campaign


4.1 ใส่ชื่อของ campaign ที่ต้องการสร้าง และคำอธิบายประกอบ สำหรับให้ตัวเองเข้าใจว่า campaign นี้มีจุดประสงค์เพื่ออะไร


ในส่วนของ campaign mention limit จะเป็นการบอกว่าใน campaign สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุดกี่ mentions โดยจำนวนจะแตกต่างไปตาม plan ที่เลือก หากต้องการเก็บจำนวนข้อมูลโพสต์น้อยกว่าที่มีจำนวน mentions ก็สามารถใส่จำนวนที่ต้องการได้เลย


4.2 ใส่ระยะเวลาที่ต้องการเก็บข้อมูล ถ้าต้องการให้ระบบเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอให้กดปุ่ม “Always On


4.3 ในส่วนนี้จะเกี่ยวกับการเลือกช่องทางต่าง ๆ

  • Platforms: เลือก platforms ที่ต้องการให้ระบบเก็บข้อมูล

  • Interest: ระบุความสำคัญของอุตสาหกรรมข้อมูลที่ต้องการค้นหา เช่น ค้นหาเกี่ยวกับ “รองเท้าส้นสูง” ดังนั้น Interest Channels ก็สามารถระบุอุตสาหกรรมประเภท “Shopping” หรือ“Fashion and Textile” เป็นต้น

  • Custom: ระบุชื่อของ Page หรือ Channel ที่ต้องการจับตาดูข้อมูลเป็นพิเศษ สามารถระบุได้ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter และ YouTube 


หากใครยังไม่เข้าใจความหมายก็สามารถกดเลื่อนไปดูความหมายแบบละเอียดของแต่ละฟังก์ชันได้เลยค่ะ


How to create a campaign


4.4 ระบุภาษาของข้อมูลที่ต้องการให้ความสำคัญในการค้นหา สามารถเลือกระบุได้หลายภาษา


4.5 ใส่คำค้นหา (keyword) ที่ต้องการเก็บข้อมูล 

ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์คือต้องดูความต้องการของน้ำผลไม้จากความคิดของผู้บริโภคในตลาด และติดตามการตลาดของแบรนด์คู่แข่ง

Campaign อาจตั้งชื่อว่า "น้ำผลไม้" 

คำค้นหา (keyword) เช่น 


  • Keyword set 1 = Brand & Competitor: ชื่อแบรนด์ภาษาไทย, ชื่อแบรนด์ภาษาอังกฤษ, ชื่อที่คนใช้เรียกแบรนด์

  • Keyword set 2 = Product: น้ำผลไม้, juice, fruit+juice

  • Keyword set 3 = Type of juice: น้ำส้ม, น้ำฝรั่ง, น้ำแตงโม

  • Keyword set 4 = Different benefits of juice: น้ำผลไม้แท้, น้ำผลไม้+ไม่มีน้ำตาล


ส่วน Excluded keywords คือการบอกให้ระบบไม่เก็บข้อมูลที่คำนั้นประกอบอยู่ด้วย 

แต่ถ้าตอนนี้ยังคิดไม่ออก ก็สามารถดูข้อมูลที่เก็บได้มาก่อนแล้วค่อยมาใส่ทีหลังได้ค่ะ


สุดท้ายกด “Save Campaign Setting


Campaign console


เมื่อสร้าง campaign เสร็จแล้วจะปรากฏรายละเอียดขึ้นมาในหน้า campaign console ดังภาพตัวอย่างด้านบน

จากนั้นเมื่อระบบเริ่มเก็บข้อมูลมาได้จำนวนหนึ่งแล้วก็สามารถกดปุ่มทางด้านขวาเพื่อดูข้อมูลได้เลย


5. Cleaning data and editing campaign


Mandala Analytics Dashboard 


เมื่อกดปุ่มดูข้อมูลสำหรับ social listening จะพบกับหน้า Dashboard


ทางทีมงานแนะนำให้ลองสำรวจข้อมูลที่ระบบได้รวบรวมมาในปุ่ม “Mention Console” ก่อน เพื่อตรวจสอบความเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


Mention Console


จากข้อมูลใน Twitter จะพบว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับนักร้องเข้ามา เพราะตรงกับ keyword ที่ใช้ค้นหา

สามารถลบข้อมูลได้ 4 วิธีคือ

1. กดลบจากถังขยะทางขวามือ แต่จะสามารถลบได้แค่ทีละโพสต์ เหมาะกับการลบข้อมูลจำนวนน้อย

2. กด Exclude channel จากแถบทางด้านซ้าย ระบบจะลบข้อมูลที่เกิดจากเพจหรือช่องนั้นออกทั้งหมด เหมาะกับการลบเฉพาะช่องที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก โดยไม่จำเป็นต้องลบทีละโพสต์

3. ลากคลุม และคลิกขวาที่คำที่ไม่เกี่ยวข้อง จากนั้นเลือก “Add to exclude keyword” ระบบจะลบข้อมูลที่ประกอบด้วยคำนี้ออกให้ เหมาะกับการลบข้อมูลที่พูดถึงคำที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก


Add to exclude keyword


4. กด search คำที่ไม่เกี่ยวข้องจากช่องด้านบน จากนั้นกดเลือกโพสต์หรือเลือกทั้งหมดแล้วกดลบได้เลยทันที สามารถลบโพสต์ที่มีคำไม่เกี่ยวข้องได้จำนวนมาก และรวดเร็ว


Delete mentions by searching


เมื่อตรวจสอบดูข้อมูลที่ระบบได้ทำการเก็บรวบรวมแล้ว หากคิดว่าอยากแก้คำค้นหาให้ตรงกับความต้องการมากขึ้นหรือใส่รายละเอียดต่าง ๆ ใหม่ สามารถกดไป “Edit Campaign” ได้เลยจากหน้า Dashboard


Mandala Analytics Dashboard 


สุดท้ายแล้วถ้าทำการตรวจสอบข้อมูลว่ามีความเกี่ยวข้องตรงตามความวัตถุประสงค์ ก็สามารถเริ่มต้นดูข้อมูลเชิงลึกจากงานฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เลย โดยศึกษาขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์ด้วย Mandala Analytics ได้เลยที่บทความนี้ค่ะ


หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมในการใช้งาน สามารถติดต่อมาทาง Live Chat บนเว็บไซต์ได้เลยทันที และอย่าพลาดสมัครใช้งาน Mandala ได้เลยที่ https://www.mandalasystem.com/plans หรือทดลองสมัครใช้งานฟรีก่อนถึง 7 วัน ไม่มีทั้งข้อผูกมัด และไม่ต้องใช้บัตรเครดิต



อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ blog/th/

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends