Blogs & Articles

อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ ? โปรโมทยังไงให้ขายดี

ก่อนจะเข้าเนื้อหาขอเกริ่นก่อนว่า Influencer ต่างกับ KOL อย่างไร ?

อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือ บุคคลที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, TikTok หรือ YouTube มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นพฤติกรรม และการตัดสินใจซื้อของผู้ติดตาม 

Influencer มักจะมีอิทธิพลอย่างมากในโลกออนไลน์ และมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากโดยส่วนใหญ่มักจะมีส่วนร่วมในเนื้อหาที่พวกเขาพูดเป็นประจำ เช่น อินฟลูเอนเซอร์ ในหมวดการท่องเที่ยว ก็จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไปเที่ยวต่างประเทศแนะนำสถานที่ใหม่ ๆ ที่ผู้ติดตามอาจจะยังไม่เคยไปและยังสามารถชักจูงผู้ติดตามให้เดินทางตามรอยอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นได้

 


KOL คือ ผู้นำทางความคิด โดยมักเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาหรืออุตสาหกรรมเฉพาะและมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้อื่น KOL มักจะถูกค้นหาโดยแบรนด์เพื่อรับรองหรือส่งเสริมผลิตภัณฑ์บริการ และแนวคิดของพวกเขา

ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ : KOL คืออะไร

การทำการตลาดโปรโมทสินค้าบริการด้วยอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) นั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะ แพลตฟอร์ม FacebookInstagram, YouTube, TwitterTikTok ล้วนมีวิธีการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์แตกต่างกัน

จากข้อมูลของ Influencer Marketing Hub พบว่าปี 2023 นักการตลาดยังคงเชื่อว่ากลยุทธ์การทำ Influencer Marketing เป็นรูปแบบการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง และมีเเนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเติบโตขึ้นจากปี 2022 ถึง 29 % เป็นมูลค่าประมาณ 21.1 ดอลลาร์ในปี 2023


ถึงแม้ในปัจจุบันเราจะเห็นตัวอย่างการใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อมาช่วยส่งเสริมการทำการตลาดให้กับแบรนด์ แต่การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแบรนด์ต้องลงทุนงบประมาณในการจ้างงาน การทำสื่อ การซื้อโฆษณาไปจำนวนมากก็ต้องอยากได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากลับมาให้มากที่สุด

บทความในวันนี้เลยจะช่วยแนะนำเทคนิคไม่ลับที่จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดสามารถเลือกอินฟลูเอนเซอร์ตรงตามที่ต้องการได้ โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมตามหัวข้อดังนี้ค่ะ

เนื้อหาบทความ


ประโยชน์ของการใช้อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)


1. เพิ่มการรับรู้ให้แบรนด์ 

เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์เป็นคนที่มีผู้ติดตามจำนวนหนึ่งบนโซเชียลมีเดีย การโปรโมทสินค้าบริการผ่านอินฟลูเอนเซอร์ จึงสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายที่กำลังติดตามเหล่านั้นสามารถรับรู้ และรู้จักกับแบรนด์ได้เลยในทันที


ซึ่งการสร้างการรับรู้ก็ไม่เพียงเฉพาะกับคนที่ติดตามเท่านั้น แต่ยังเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้ค้นพบแบรนด์มากขึ้นจากการมีตัวตนบนพื้นที่สื่อโซเชียลมีเดียที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะในเพจของแบรนด์เพียงที่เดียว


2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ

รู้หรือไม่ว่า “กว่า 61% ของผู้บริโภคไว้ใจคำแนะนำของอินฟลูเอนเซอร์”

อินฟลูเอนเซอร์มีความสามารถในการชักจูงคนให้เชื่อในสิ่งที่พูด สิ่งที่นำเสนอ หรือแสดงความคิดเห็นออกมา 

สิ่งนี้จึงเป็นสาเหตุให้แบรนด์สามารถสร้างความน่าเชื่อถือผ่านคำพูดของผู้ที่คนให้ความเชื่อมั่น และติดตามบนโซเชียลมีเดีย

เมื่อเราเปรียบเทียบกับแบรนด์ที่ไม่มีอินฟลูเอนเซอร์ พูดถึง เราก็จะมีคำถามในหัวว่าแบรนด์นี้น่าเชื่อถือได้จริงไหม สินค้าบริการนั้นใช้ดีจริงหรือเปล่า  


3. ส่งเสริมการทำคอนเทนต์ให้แบรนด์

จากที่ในหนึ่งอาทิตย์แบรนด์วางแผนว่าต้องทำคอนเทนต์ออกมา 3 ชิ้น

การมีอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาจะช่วยลดการทำคอนเทนต์ที่มาเฉพาะจากแบรนด์ลง แถมแบรนด์ยังได้คอนเทนต์ที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น เพราะอินฟลูเอนเซอร์ จะช่วยแชร์ไอเดีย และสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจออกมาดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย


4. สร้างยอดขาย

“เกือบ 50% ของผู้บริโภคในทุกวันนี้รับฟังคำแนะนำของ "อินฟลูเอนเซอร์" 

กว่า 40% ของคนบอกว่าพวกเขาซื้อหลังจากเห็นการโปรโมทหรือโฆษณาบน Instagram, YouTube หรือ X (Twitter)

และคนกว่า 82% ก็มักจะใช้โซเชียลเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจซื้อสินค้าบริการเป็นปกติอยู่แล้ว”


แสดงว่าในปัจจุบัน ผู้บริโภคหันไปค้นหา และรับฟังการรีวิวจากอินฟลูเอนเซอร์ มากขึ้นเรื่อย เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขาสนใจอยากซื้อ 

แต่ในขณะเดียวกันการตัดสินใจซื้อก็มาจากความน่าเชื่อถือ และความจริงใจในการรีวิวของตัวอินฟลูเอนเซอร์ ด้วย เพราะหากเปรียบเทียบแล้ว คนจะเชื่อคำพูดของผู้บริโภคด้วยกันที่เคยใช้งานจริง เพื่อน ครอบครัวหรือคนรู้จักมากกว่าค่ะ

 

5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

เป็นปกติอยู่แล้วที่อินฟลูเอนเซอร์จะพูดคุย แชร์เรื่องราว แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ติดตามเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 

แบรนด์ก็สามารถใช้โอกาสตรงนี้ในการให้อินฟลูเอนเซอร์ ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดี และความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้ด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นการจัดกิจกรรมไลฟ์พูดคุย หรือกิจกรรมร่วมสนุกลุ้นรับของรางวัล เป็นต้น


ประเภทของอินฟลูเอนเซอร์


การแบ่งประเภทของอินฟลูเอนเซอร์นั้นจะแบ่งตามจำนวน Follower ผู้ติดตามของช่องนั้น โดยแบ่งออกตามจำนวนของผู้ติดตาม ดังนี้


Nano influencer

ตัวอย่างช่อง YouTube TaamJai CH

จำนวนผู้ติดตาม: 1 พัน - 1 หมื่น

เหมาะสำหรับ: เข้าถึงผู้บริโภคในแบบใกล้ชิด สามารถเป็นที่จดจำในหมู่เพื่อน ผู้ติดตาม และมีความน่าเชื่อถือต่อบุคคลรอบข้าง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ: Nano Influencer คืออะไร

Micro influencer

ตัวอย่างช่อง YouTube Dearkiko

จำนวนผู้ติดตาม: 1 หมื่น - 5 หมื่น

เหมาะสำหรับ: เข้าถึงผู้บริโภคได้ใกล้ชิดในจำนวนปานกลาง การทำคอนเทนต์สามารถกระจายไปยังกลุ่มคนจำนวนมากขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ: Micro Influencer สามารถช่วยโปรโมทได้อย่างไร


Mid-tier influencer

ตัวอย่างช่อง YouTube Shipdont

จำนวนผู้ติดตาม: 5 หมื่น - 5 แสน

เหมาะสำหรับ: เป็นบุคคลที่เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการสร้างตัวตน หรือคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ สามารถโปรโมทไปยังคนจำนวนมาก 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ: ทำไม Mid-tier Influencer ถึงสำคัญ

Macro influencer

ตัวอย่างช่อง YouTube Brinkkty

จำนวนผู้ติดตาม: 5 แสน -1 ล้าน

เหมาะสำหรับ: เป็นบุคคลที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงเหมาะกับการโปรโมทคนจำนวนสูง สามารถสร้างการรับรู้ไปบนโซเชียลมีเดียได้ชัดเจนมากขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ: Macro Influencer คืออะไร แตกต่างกับ Micro Influencer อย่างไร

Mega influencer

ตัวอย่างช่อง YouTube Go Went Go

จำนวนผู้ติดตาม: 1 ล้านขึ้นไป

เหมาะสำหรับ: เป็นคนที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ใช้สำหรับโปรโมทคนจำนวนหลักล้าน และเหมาะกับแบรนด์ใหญ่ที่มีชื่อเสียง

 เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ : Mega Influencer คืออะไร

เลือกแบบไหนดีระหว่างคนติดตามสูง VS คนติดตามไม่สูงมาก

การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ประเภทต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการโปรโมท งบประมาณ กลุ่มเป้าหมาย ลักษณะของสินค้าบริการ และขนาดของแบรนด์ ซึ่งไม่ได้หมายความเราแบรนด์จำเป็นต้องเลือกมาแค่ประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น 


ตัวอย่าง เช่น ในเเคมเปญการตลาด TikTok #LetsDancewithLays ของ สินค้า เลย์ ที่นำศิลปิน เป็ก ผลิตโชค มาเป็นผู้จุดประกายความสนุกบนแพลตฟอร์ม TikTok ด้วยท่าเต้นที่น่ารัก ดูสนุกสนาน ที่สำคัญ เลย์ได้ใช้เอฟเฟกเสียงความกรอบของ เลย์ ที่เป็นจุดเด่นมาเป็นลูกเล่นในเเคมเปญนี้อีกด้วย จากการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ทุกประเภทนี้ทำให้เลย์ สามารถสร้างยอดวิวถึง 220.3 M เลยทีเดียว


ในความจริงแล้วแบรนด์ก็สามารถเลือกใช้หลายแบบในสัดส่วนที่ต่างกัน เช่น ใช้ Macro influencer 1 คน, Mid-tier influencer 3 คน และ Macro influencer 6 คน เป็นต้น


อินฟลูเอนเซอร์ที่คนติดตามสูง: มีจุดเด่นในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ที่ดี สามารถดึงดูดความสนใจของคนจำนวนมากได้ง่าย

อินฟลูเอนเซอร์ที่คนติดตามไม่สูง: มีความน่าเชื่อถือสูงกว่า และสามารถสร้างการมีส่วนร่วม (เช่น ไลก์ คอมเมนต์ และแชร์) เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดตามได้ดีกว่า โดยมักมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ของจำนวนผู้ติดตาม


เทคนิคการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจ


การที่เราจะเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจนั้นเป็นไปได้ยากโดยถ้าหากเรายังไม่เข้าใจจุดประสงค์หรือ องค์ประกอบในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ เลยก็อาจเป็นการจ้างอินฟลูเอนเซอร์ที่อินฟลูเอนเซอร์คนนั้นไม่สามารถสร้างมูลค่าและยอดขายเพิ่มเติมให้กับแบรนด์นั้นได้เลย

1. กำหนดเป้าหมายของแคมเปญ

กําหนดเป้าหมายของแคมเปญก่อนว่าต้องการโปรโมทแบรนด์ สร้างการรับรู้ หรือต้องการกระตุ้นยอดขายเพิ่มสิ่งนี้จะช่วยให้คุณระบุประเภทของ Influencer ได้เป็นอย่างดี

2. ตรงกลุ่มเป้าหมาย

แบรนด์ต้องคำนึงว่ากลุ่มคนที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์นั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารไปหาด้วยหรือไม่ เช่น ถ้าแบรนด์อยากขายสินค้าได้ก็ควรดูว่าฐานผู้ติดตามเหมาะสม มีกำลังซื้อเพียงพอกับสินค้า และบริการหรือไม่ เป็นต้น


แบรนด์สามารถทำการรวบรวมข้อมูลต่อไปนี้ก่อนเลือกอินฟลูเอนเซอร์  เช่น

  • ข้อมูลพื้นฐาน: อายุ, เพศ, อาชีพ, การศึกษา, สถานภาพ, รายได้, ภาษา, ที่อยู่อาศัย เป็นต้น
  • พฤติกรรม: กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน, งานอดิเรก, การใช้โซเชียลมีเดีย, การซื้อสินค้าบริการ 
  • ความต้องการ: ประเภทของสินค้าบริการที่อยากได้, เป้าหมายในชีวิต
  • ปัญหา: ปัญหาที่กำลังเกิด หรือเคยเกิดขึ้นแล้วยังไม่ได้รับการแก้ไข
  • ความชอบ: คอนเทนต์, เว็บไซต์, สื่อ, อินฟลูเอนเซอร์, อีเวนต์
  • ความสนใจ: ประเภทคอนเทนต์, รูปแบบกราฟิก, สไตล์การใช้คำพูด


3. การมีส่วนร่วมของคน

การมีส่วนร่วมของคนกับโพสต์หรือ Engagement คือ การที่คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ต่อคอนเทนต์ต่าง ๆ เช่น การกด Like, Reaction, Share, Comment หรือยอด View ใน YouTube เป็นต้น โดยคำนวณได้จาก 

Engagement-rate-formula

ถ้าสามารถคำนวณออกมาได้มากกว่า 10% ก็ถือว่ามีการมีส่วนร่วมที่สูงมาก


4. ความเกี่ยวข้องกับแบรนด์

ไม่ใช่อินฟลูเอนเซอร์ทุกคนที่เหมาะกับแบรนด์ และสินค้าบริการ ถึงแม้ว่าอินฟลูเอนเซอร์ คนนั้นจะมีผู้ติดตามมาก มีคนชื่นชอบมากแค่ไหนก็ตาม 


การจ้างงานอินฟลูเอนเซอร์ ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้การโปรโมทไปไม่ถึงยังกลุ่มเป้าหมาย หรือต่อให้สามารถโปรโมทไปยังคนจำนวนมาก แต่ไม่ใช่เป้าหมายของสินค้าบริการก็จะไม่ช่วยให้แบรนด์สามารถสร้างยอดขายตามที่ต้องการอยู่ดี 

ยิ่งไปกว่านั้น อาจทำให้อินฟลูเอนเซอร์ ที่ไม่มีความเข้าใจสินค้าบริการ ไม่เข้าใจเป้าหมายสื่อสารออกไปแบบผิดพลาด ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหายได้เช่นกัน


5. คนที่มีความน่าเชื่อถือ

อินฟลูเอนเซอร์ที่ดีจะต้องมีความน่าเชื่อถือ สามารถสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้าได้ 

แบรนด์ที่จ้างอินฟลูเอนเซอร์ ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ มีทัศนคติที่ไม่ดี บ่นก่นด่าปัญหาที่เข้ามา ไม่ซื่อสัตย์กับผู้ติดตามก็จะทำให้แบรนด์ถูกเหมารวมว่าไม่มีคุณภาพไปด้วยเหมือนกันได้เช่นเดียวกัน


ซึ่งนอกจากความน่าเชื่อถือแล้ว การจ้างงานอินฟลูเอนเซอร์ ที่มีความรับผิดชอบทั้งในการทำงานก็จะทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปได้อย่างราบรื่นด้วย


6. ผลิตคอนเทนต์คุณภาพ

คอนเทนต์คุณภาพ คือคอนเทนต์ที่ทำด้วยความตั้งใจ สามารถสื่อสารจุดประสงค์ และนำไปสู่เป้าหมายที่แบรนด์ต้องการได้ เช่น การขายสินค้าบริการ และยังหมายถึงคอนเทนต์ที่เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ ไม่สร้างความเข้าใจผิด คุกคาม ลามก ชวนเชื่อในเรื่องไม่จริง หรือทำผิดกฎหมาย เป็นต้น 


7. ความถี่ในการโพสต์เนื้อหา

ยอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ที่สูงมักเกิดขึ้นในช่วงที่อินฟลูเอนเซอร์มีการเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ 

ดังนั้นการพิจารณาถึงความถี่ในการโพสต์เนื้อหาในช่วงเวลาปัจจุบันถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้แบรนด์เห็นว่าอินฟลูเอนเซอร์ ยังคงมีตัวตนบนโลกออนไลน์อยู่สม่ำเสมอหรือไม่


8. ผู้ติดตามที่มีคุณภาพ

อย่าเชื่อยอด Follow, like หรือ Share จากอินฟลูเอนเซอร์ทุกคนบนโซเชียลมีเดีย แบรนด์ควรตรวจดูก่อนด้วยว่าคนที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ เหล่านั้นมีตัวตนจริงหรือไหม เพราะอาจเป็นบัญชีปลอมที่รับจ้างปั๊มยอดก็เป็นไปได้เช่นกัน


9. ดูประวัติการทํางานของ Influencer

ตรวจสอบการทํางานของ Influencer ในอดีตเพื่อดูว่าพวกเขาเคยทํางานร่วมกับแบรนด์ที่คล้ายกันในอดีตหรือไม่และการทํางานร่วมกันเหล่านั้นมีประสิทธิภาพอย่างไร


10. วัดผลได้จริง

การเลือกอินฟลูเอนเซอร์จะต้องเลือกคนที่อนุญาตให้แบรนด์ได้ทำการวัดผลลัพธ์ของงานออกมาได้จริง แบรนด์จะได้ดูประสิทธิภาพของการทำงาน และรีบแก้ไขปรับปรุงแคมเปญ (ที่เราเรียกกันว่าการ optimize) ให้ผลลัพธ์ออกมาดีมากขึ้นกว่าเดิม

การวัดผลมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรูปแบบแคมเปญ เช่น

  • Engagements – ยอด Like, Comment, Share ของโพสต์
  • Engagement Rate – (ยอดการมีส่วนร่วมในหนึ่งโพสต์ / จำนวนผู้ติดตาม) *100 
  • Views – ยอดวิวของวิดีโอบน IG/YouTube
  • View Rate – (ยอดการดูวิดีโอในหนึ่งโพสต์ / จำนวนผู้ติดตาม) *100 
  • Post Impressions – จำนวนครั้งที่คอนเทนต์ถูกแสดงให้คนเห็น
  • Post Reach – จำนวนของคนที่เห็นคอนเทนต์ โดยไม่นับซ้ำแม้ว่าคนเดียวกันจะเห็นคอนเทนต์เดียวกัน 3 ครั้ง แต่ยอด reach จะถูกนับเป็น 1 ครั้ง
  • Clicks – จำนวนคลิกที่คลิกไปยัง URL ที่กำหนด
  • Brand Sentiment – ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่คอมเมนต์ไว้ใต้โพสต์หรือพูดถึงบนโซเชียลมีเดีย

11. แพลตฟอร์มของอินฟลูเอนเซอร์ที่โดดเด่น

สุดท้ายแล้วอินฟลูเอนเซอร์ มักจะมีช่องที่โดดเด่นต่างกันไปบางคนถนัดที่แพลตฟอร์ม Facebook, YouTube บางคน ถนัดที่แพลตฟอร์ม TikTok เป็นต้น และการโปรโมตหลายแพลตฟอร์มโดยอินฟลูเอนเซอร์คนเดียวกันอาจส่งผลให้แคมเปญของคุณไม่ได้ปังอย่างที่คิด ดังนั้นคุณต้องวิเคราะห์ และตรวจสอบแพลตฟอร์มรวมถึงคอนเทนต์ที่อินฟลูเอนเซอร์นั้นทำว่ามีคุณภาพเพียงใด เพื่อเป็นการใช้ Budget อย่างคุ้มค่าที่สุดสำหรับแคมเปญการตลาดของคุณ


Highlight: ตัวอย่าง Brand ที่ใช้ Influencer ในการโปรโมท และเล่นกับเทศกาลสำคัญ


ตัวอย่างช่อง YouTube Coca-Cola Great Britain & Ireland


แนะนำเครื่องมือใช้หา Influencer ที่มีคุณภาพ


สำหรับเครื่องมือใช้หาอินฟลูเอนเซอร์ที่อยากแนะนำให้ลองใช้วันนี้มีชื่อว่า “Mandala Analytics

เพราะใช้งานง่าย และไม่ใช่แค่การค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ท่านั้น แต่ยังสามารถดูข้อมูลบนโซเชียลได้ในหลากหลายเรื่อง เรียกได้ว่าใช้แค่ 1 ตัวก็คุ้มแล้วค่ะ


การใช้งานก็ไม่ยาก เพียงแค่ใส่คำค้นหาลงในระบบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากรู้ เช่น

อยากรู้ว่าจะโปรโมทครัวชานมควรจะจ้างใครดี ก็สามารถลองใส่คำว่า “ชานม” เพื่อให้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมาให้ แล้วแบรนด์ก็จะได้ข้อมูล:


  • ใครหรือเพจไหนทำคอนเทนต์เกี่ยวกับชานมแล้วมียอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์สูงแยกตามช่องทางโซเชียลต่าง ๆ

 

Top channels ในช่องทางต่าง ๆ ที่ทำคอนเทนต์แล้วมียอดการมีส่วนร่วมสูง เช่น Like, Share, Emoji, Comment เพื่อใช้ในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์มาโปรโมทชานมหรือติดตามการทำคอนเทนต์ของเพจเหล่านี้


  • คอนเทนต์ชานมในช่องทางต่าง ๆ ที่คนให้ความสนใจ

ตัวอย่างคอนเทนต์ของเพจบน Facebook ที่ทำคอนเทนต์แล้วมียอดการมีส่วนร่วมสูงเพื่อใช้เป็นไอเดียในการพัฒนาการทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่สนใจชานมมากยิ่งขึ้น


  • ความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่สนใจคอนเทนต์เกี่ยวกับชานม

Mandala-sentiment-analytics

สัดส่วนความคิดเห็นบวก-ลบเกี่ยวกับชานมที่เกิดขึ้นบน Facebook

ตัวอย่างความคิดเห็นด้านลบเมื่อกดเข้าไปดูจากกราฟของรูปข้างต้น เพื่อศึกษาดูว่าคนมีปัญหา ไม่ชอบอะไรเกี่ยวกับชานม จะได้นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงการสื่อสารทางการตลาดให้โดนใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น


สุดท้ายนี้ก่อนว่าจ้าง เมื่อนักการตลาดได้กลุ่มเป้าหมายของ Influencer เหล่านั้น ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีการเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกผ่าน Rate card ทั้ง สถิติผู้เข้าชม กลุ่ม follower ของเพจ อายุ เพศ ของผู้ติดตาม ซึ่งในส่วนนี้สามารถช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ความสนใจจากผู้ติดตามได้อีกระดับนึงผ่านคอนเทนต์ที่ Influencer โพสต์ลงบน social media เพื่อเพิ่มการแม่นยำในการเลือกจ้าง Influencer นั้นได้  


อย่าพลาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบนี้ในแบบที่ง่าย และรวดเร็ว

สมัครทดลองใช้ Mandala Analytics ฟรีถึง 15 วันได้เลยตอนนี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ plans


บทความอื่น ๆ ที่ไม่ควรพลาด:

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends