เมื่อฐานลูกค้าเดิมมีอยู่ในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอให้ธุรกิจเติบโต และสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมายได้อีกต่อไป แบรนด์เลยจำเป็นต้องพัฒนาสินค้าบริการให้ดียิ่งขึ้น และอีกสิ่งสำคัญเลยก็คือ การออกไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ให้แบรนด์เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
หากคุณมีแบรนด์เป็นของตัวเอง และอยากรู้วิธีค้นหาลูกค้าใหม่ ๆ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร เพียงติดตามบทความหรือดูคลิปวิดีโอนี้ แล้วคุณจะได้ไอเดียที่เป็นประโยชน์ไปปรับใช้กับแบรนด์ได้อย่างแน่นอนค่ะ
เลิกคาดเดา แล้วใช้ประโยชน์จากข้อมูลของลูกค้า
คุณอาจจะเคยทั้งคาดเดา และเชื่อในสัญชาตญาณจากประสบการณ์เดิมของตัวเองว่าทำแบบนี้แล้วจะเวิร์กแน่นอน แต่สุดท้ายก็เสียทั้งเงิน ทั้งเวลา และลูกค้าที่ต้องการขายไป เพราะสุดท้ายตัวคุณเองยังไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า “ว่าที่ลูกค้าของแบรนด์เขาต้องการ” อะไรกันแน่
การที่แบรนด์จะเข้าใจว่าที่ลูกค้าได้นั้น แบรนด์จะต้องเริ่มศึกษาตั้งแต่ลักษณะของกลุ่มคนเหล่านั้น (Customer Persona) ว่าเขาเป็นใคร? มีความต้องการหรือปัญหาอะไรในชีวิต? ไปจนถึงข้อมูลเชิงลึก (Customer Insight) เรื่องความชื่นชอบ ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีต่อสินค้าบริการค่ะ
แต่การจะเข้าถึงข้อมูลของทั้งลูกค้าปัจจุบัน และว่าที่ลูกค้าในอนาคตแบบรวดเร็ว แบรนด์ต้องใช้เครื่องมือประเภท Social Listening Analytics ในการช่วยรวบรวมข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย และวิเคราะห์ผลข้อมูลเหล่านั้นให้แบบอัตโนมัติ
เครื่องมือที่อยากแนะนำก็คือ “Mandala Analytics” เพราะใช้งานง่าย, มีวิดีโอ Tutorial สอนใช้งานฟรี, ทดลองใช้ฟรีได้ 7 วัน และราคาเริ่มต้นต่อเดือนเพียงแค่ $49 เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับการใช้งานสำหรับแบรนด์ขนาดเล็กที่พึ่งเริ่มต้นมากเลยค่ะ
เริ่มต้นค้นหาความสนใจของกลุ่มลูกค้าใหม่
มาเริ่มต้นออกค้นหา และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีโอกาสซื้อสินค้าบริการจากแบรนด์สูงกันเลย!
แต่เพื่อการเข้าถึงเนื้อหาเลยแบบกระชับ หากใครเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยใช้ Mandala Analytics ก็สามารถศึกษาดูวิธีการสร้างแคมเปญได้ก่อนเลยที่นี่ —> สอนสร้าง campaign สำหรับผู้ใช้งานใหม่
เคสที่จะยกตัวอย่างในวันนี้จะเป็นการหาฐานลูกค้าใหม่ให้กับร้านอาหารญี่ปุ่น
เมื่อรอให้ระบบ Mandala Analytics เก็บข้อมูลเสร็จ ให้คลิกเข้ามาในหน้า Dashboard ของแคมเปญอาหารญี่ปุ่น
คำค้นหา (Keyword) ที่ใช้ในแคมเปญจะต้องเกี่ยวข้องกับอาหารญี่ปุ่น เช่น “รีวิว+อาหารญี่ปุ่น”, “แนะนำ+อาหารญี่ปุ่น”, “ร้านอาหารญี่ปุ่น”, “อาหารญี่ปุ่น” หรือ “โปร+อาหารญี่ปุ่น” เป็นต้น ส่วนระยะเวลาแบรนด์สามารถเลือกได้เลยตามที่ต้องการ ในตัวอย่างจะเป็นช่วงระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 31 มี.ค. 2022
ก่อนจะไปวิเคราะห์ดูข้อมูลที่ได้มา ขอให้แบรนด์ลองเริ่มต้นด้วยตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการรู้เกี่ยวกับลูกค้าก่อน เช่น ราคา? เมนู? โปรโมชัน? บรรยากาศร้าน? เป็นต้น
กดเข้ามาที่หน้า Mention Console จาก Dashboard แล้วค้นหาคำว่า “ราคา” ในแถบช่องค้นหา
โดยอันแรกจะขอยกตัวอย่างเป็นเรื่องราคาก่อน เพราะอยากรู้สิว่าช่วงราคาไหนที่คนสนใจทานร้านอาหารญี่ปุ่นกันบ้าง
แล้วเริ่มค้นหาคำว่า “ราคา” ที่แถบค้นหาในหน้า Mention Console ได้เลยค่ะ
จากข้อมูลที่ได้ทำให้เห็นว่า คนมีสนใจโพสต์ที่เขียนเกี่ยวกับร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทบุฟเฟต์พรีเมียมราคาเริ่มต้นที่ 550 บาท กันสูงเป็นอันดับ 1 จากการมีส่วนร่วมกับโพสต์ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์, อีโมจิ, แชร์หรือคอมเมนต์ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าราคานี้มันคุ้มค่า คุ้มราคาในมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งแบรนด์เองก็สามารถเอาไอเดียนี้ไปต่อยอดกับการทำการตลาดต่อในการจับกลุ่มลูกค้าประเภทนี้ได้
กดดูที่มาโพสต์จากเพจ และคอมเมนต์ของคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
หากอยากดูรายละเอียดของโพสต์นี้ ก็สามารถกดที่เครื่องหมายลูกตาเข้าไปดูที่ต้นโพสต์ได้ เพื่อเข้าไปศึกษาต่อดูคอมเมนต์ได้อีกว่ารูปแบบความสนใจของลูกค้าเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง
ตัวอย่างร้านอาหารญี่ปุ่นที่ให้ฟีลเหมือนไปร้านลับที่ประเทศญี่ปุ่นจริง ๆ
อีกตัวอย่างจากโพสต์ที่คนสนใจเป็นอันดับที่ 2 นี้ จะเห็นได้ว่าร้านอาหารนั้นมีการใช้คำพูดที่ดึงดูดลูกค้าว่า “เริ่มต้นเพียง 25 บาท” และ“ฟีลเหมือนหลุดไปร้านลับที่ญี่ปุ่น” ซึ่งจะทำให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ หรือมีความคิดถึงความรู้สึกของการไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ตอนนี้ยังไปไม่ได้นั่นเอง
ตัวอย่าง 10 ร้านโอมากาเสะที่มีราคาเริ่มต้นไม่เกิน 2,000 บาท
มาดูในส่วนของคอร์สอาหารญี่ปุ่นแบบ “โอมากาเสะ” ที่กำลังได้รับความนิยมกันบ้าง ทุกคนคงทราบกันดีใช่ไหมคะว่าคอร์สโอมากาเสะมีราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับราคาอาหารทั่วไป จากโพสต์นี้เลยพยายามที่จะสื่อสารไปยังเหล่าว่าที่ลูกค้าว่า มันมีคอร์สโอมากาเสะที่ราคาไม่แพงในงบไม่เกิน 2,000 บาทนะ เรียกได้ว่ายื่นแบงก์พัน 2 ใบมีทอนแน่นอน นี่เลยเป็นอีกจุดหนึ่งที่แบรนด์สามารถนำไปพัฒนาการตลาด เพื่อเจาะกลุ่มคนที่อยากจะไปลองเปิดประสบการณ์ลิ้มลองคอร์สโอมากาเสะในราคาที่จับต้องได้นั่นเอง
ตัวอย่างร้านอาหารญี่ปุ่นที่ผสมความเป็นไทยด้วยอาหารอีสานเข้าไปด้วยกัน
ระบบของ Mandala Analytics ยังช่วยรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การพัฒนาเมนูอาหารญี่ปุ่นรูปแบบใหม่ที่สามารถเรียกความสนใจของลูกค้าได้ ดังตัวอย่างการฟิวชันระหว่างอาหารญี่ปุ่น และอาหารอีสานนั่นเอง ถือเป็นการเจาะกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบรสแซ่บ รสจัดจ้านของอาหารอีสานควบรวมกับความเป็นญี่ปุ่นที่เข้ากันได้
โพสต์เกี่ยวกับการกินนัตโตะที่ทานได้ยากสำหรับคนไทย
มาดูในส่วนผสมอย่างถั่วนัตโตะที่มีรสชาติที่ทานได้ค่อนข้างยากสำหรับคนไทย แบรนด์สามารถเข้าไปดูที่ต้นโพสต์ได้โดยกดเครื่องหมายลูกตา เพื่อดูว่านัตโตะมันมีเทคนิค หรือมีวิธีการทานอย่างไรให้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่อยากจะลองทานสินค้าชนิดนี้แบบอร่อย หรือทำเมนูที่มีถั่วนัตโตะที่คนไทยทานได้ง่ายก็ได้เช่นกันค่ะ
ตัวอย่างการทำร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้ฟีลเหมือนไปเที่ยวคาเฟ่
หากแบรนด์อยากลองนำเสนอร้านญี่ปุ่นแบบใหม่ที่คนสนใจ ก็สามารถลองดูผลตอบรับของร้านนี้ที่มีการทำเป็น Cafe x กับร้านอาหารญี่ปุ่น ที่จะทำให้คนได้ฟีลทั้งไปทานอาหาร แล้วก็ได้ภาพถ่ายแนวไปเที่ยวคาเฟ่มาอัปรูปใน Instagram แบบสวย ๆ ด้วยเลยทีเดียว
สรุป
การเข้าถึงข้อมูลว่าคนที่จะมาเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ของแบรนด์เขาชอบรูปแบบการนำเสนอในรูปแบบไหน ชอบเมนู, ราคา, โปรโมชัน, บรรยากาศแบบไหน จุดไหนนี้จะทำให้แบรนด์สามารถไปศึกษาต่อยอดพัฒนาทั้งสินค้าบริการ แคมเปญการตลาด หรือการบริการที่ประทับใจ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
อย่าลืมว่าแบรนด์ในวันนี้จะไม่ต้องใช้การคาดเดา หรือสัญชาตญาณของตัวเองในการค้นหาลูกค้าอีกต่อไป เพียงใช้ข้อมูลที่มีอยู่บนโลกออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ คุณก็จะเป็นแบรนด์ที่เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง ๆ การสร้างยอดขาย และเอาชนะคู่แข่งจำนวนมากในตลาดก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ทดลองใช้งาน Mandala Analytics ได้ฟรี 7 วัน
หรือสมัครเพื่อใช้งานเต็มรูปแบบได้ที่ plans
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ทาง [email protected]
ยังมีคลิปอื่น ๆ ที่น่าสนใจรอคุณอยู่ อย่าลืมเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ Mandala Academy
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up