เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Big Data มาก่อน แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่า Big Data แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ Big data มีกระบวนการทำงานอย่างไร และมีประโยชน์หรือมีความสำคัญหรือไม่ สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลในด้านนี้อยู่ วันนี้ทีมงาน Mandala AI จะเล่าให้ฟัง แต่ก่อนอื่นขอเกริ่น ความเป็นมาของ Big Data เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ประวัติของ Big Data
คอมพิวเตอร์ Colossus Mark 2 ที่ควบคุมโดย Wrens
Source: Wikipedia
ถึงแม้ว่า Big Data จะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ แต่แรกเริ่มเดิมทีแล้วที่มาของ Big Data ก่อตั้งในยุค 1960 ถึง 1970 เมื่อโลกของดาต้า เริ่มถูกสร้างด้วย center data และ การพัฒนาของฐานข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลในปี 2005 ผู้คนเริ่มตระหนักถึงเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นมาจาก Facebook, YouTube หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ และในปีเดียวกัน software framework อย่าง Hadoop ที่ถูกสร้างมาเมื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลชุดใหญ่อย่าง Big Data และ NoSQL เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลานี้เช่นกัน การพัฒนาของซอฟแวร์อย่าง Hadoop และ ตัวล่าสุดอย่าง Spark มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับ Big Data เพราะซอฟแวร์เหล่านี้ถูกและง่ายต่อการเข้าถึง
หลายปีต่อมาขนาดของ Big Data เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น เพิ่มจำนวนอย่างมหาศาล และไม่ได้มีเพียงแค่มนุษย์ที่เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา เพราะการถือกำเนิดของอินเตอร์เน็ต อุปกรณ์และสิ่งของอืนๆ ถูกโยงเข้าด้วยอินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลดาต้า ของผู้ใช้ คุณสมบัติ และการใช้งาน วิวัฒนาการของ Machine learning นั้นยังสร้างข้อมูลอีกมากมาย
ในขณะที่ Big Data มาได้ไกลขนาดนี้ แต่ประโยชน์ของมันก็มีแค่ในช่วงของการเริ่มต้นเท่านั้น แต่ Cloud computing ได้ขยายความเป็นไปได้ของ Big Data ได้มากขึ้น เนื่องจาก cloud มีการเก็บขนาดของข้อมูลได้ยืดหยุ่น ซึ่งผู้พัฒนาสามารถสร้าง ad-hoc clusters ในการเทสชุดข้อมูลย่อย ๆ ต่าง ๆ ได้ และฐานข้อมูลแบบเส้นกราฟ เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน เพราะความสามารถในการแสดงผลข้อมูลทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ และเข้าใจ
เนื้อหาของบทความ :
- Big Data คืออะไร
- คุณลักษณะของ Big data (6V)
- ประโยชน์ของ Big Data
- ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Big Data มาใช้
- Big Data มีกระบวนการในการทำงานอย่างไร
- ฺBig Data กับการตลาดยุค 4.0
- โซเชียล ลิสเซอนิ่ง (Social Listening Tools) ที่ใช้งานง่าย
- สรุปความสำคัญของ Big Data
บิ๊กดาต้า (Big Data)
Big Data คือ จำนวนข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่มีมากมายมหาศาล ชนิดที่เรียกว่าชอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถรองรับข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกใช้ในเชิงธุรกิจเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในองค์กร หรือบริษัท เช่น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลสำคัญของลูกค้า วิดีโอ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์เอกสารต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น
คุณลักษณะของ Big data (6V) มีดังต่อไปนี้
มีปริมาณมาก (Volume) : อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า Big Data เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) : เนื่องจากข้อมูล Big data มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ชนิดที่เรียกว่า Real Time จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ง่ายๆ แบบ Manual ได้แต่ไม่สามารถจับทิศทางหรือรูปแบบที่ชัดเจน หรือตายตัวของข้อมูลเหล่านั้นได้
หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) : ข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่เป็นไฟล์ภาพรูปภาพ ตัวอักษร หรือวีดีโอ ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็มีที่มาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Platform, e-commerce, Social Network เป็นต้น
ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) : หาก Big Data นั้นไม่ผ่าน process หรือแปลงให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ก็จะไม่สามารถใช้งานหรือใช้ประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัทได้
ข้อมูลที่แปรผันได้ (Variability) : ข้อมูล Big Data ที่มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็วตามรูปเเบบการใช้งาน และรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลก็จะเเตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเเหล่งข้อมูลที่เก็บมา
ข้อมูลที่มีมูลค่า (Value) : มูลค่าของ Big Data มาจากการประมวลผล และวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่า นอกจากนี้มูลค่ายังสามารถประเมินได้จากการพิจารณาคุณภาพอื่นๆ ของ Big Data ซึ่งสามารถแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์
การจะใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้นั้น มีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั่นก็คือความเชื่อมโยงกันของข้อมูล หากสิ่งที่รวบรวมมานั้นไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงกันได้ ข้อมูลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์ การเก็บ Data ที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กันของข้อมูลด้วย
ประโยชน์ของการนำ Big Data มาใช้
ประโยชน์ของการนำ Big Data ในปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าภาคเอกชนหรือรัฐบาลโดยการนำ Big Data ไปใช้งานสามารถสร้างประโยชน์ได้ดังนี้
- สามารถเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ : Big Data ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้า แนวโน้มของตลาด และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อช่วยให้องค์กรตัดสินใจ และวางแผนการทำงาน วางแผนการตลาดได้อย่างชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น
- เข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น : Big Data สามารถช่วยให้องค์กรเข้าใจลูกค้าได้ดีขึ้น และมอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า โดยองค์กรสามารถระบุความชอบ พฤติกรรม และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้
- ประหยัดค่าใช้จ่าย : Big Data สามารถช่วยให้องค์กรลดต้นทุนโดยการระบุส่วนไหนขององค์กรที่สามารถปรับปรุงการดำเนินงานได้ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน โลจิสติกส์ และการผลิต องค์กรสามารถค้นพบปัญหาความไร้ประสิทธิภาพ และดำเนินการปรับเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานและลดต้นทุน
- การจัดการความเสี่ยง : Big Data สามารถช่วยให้องค์กรระบุ และลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของตลาด พฤติกรรมของลูกค้า และผลการดำเนินงาน โดยองค์กรสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้
- นวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ : Big Data สามารถช่วยให้องค์กรมีโอกาสพัฒณาสินค้าหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า และแนวโน้มของตลาดที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นที่ลูกค้าต้องการหรือช่องว่างของตลาดได้
- ข้อมูลเชิงลึกแบบ Real Time: Big Data สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปและสภาพการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้อย่างรวดเร็ว
- การวิเคราะห์เชิงคาดการ : Big Data ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ได้ ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถคาดการณ์แนวโน้ม ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และทำการตัดสินใจเชิงรุกได้ โดยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์นี้มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเงิน การดูแลสุขภาพ และการค้าปลีก
ย้อนกลับไปในอดีต หากจะพูดถึงประวัติและความเป็นมาของ Big Data ซึ่งความจริงแล้ว Big Data นั้นถือว่ายังเป็นเรื่องที่ใหม่และเพิ่งเริ่มต้นทำกันได้เมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อประมาณปี 2005 กระแส Social Network ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter IG ตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนั้นทำให้มีการตระหนักที่จะจัดหาข้อมูลขนาดใหญ่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้
Big Data นั้นนอกจากจะลองรับสื่อสังคม Social ต่างๆ แล้วยังใช้ในทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ที่ล้ำค่ามากๆ เพราะในสภาวะการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันที่ร้อนแรงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ตรงจุด จะทำให้ธุรกิจอยู่เหนือคู่แข่งในทุกๆด้าน ในมุมของเว็บไซต์ หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ Big Data จะเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์หรือการใช้แอพพลิเคชั่น ตลอดจนข้อมูลการสนทนาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและสื่อสารกับลูกค้าเป็นการเพิ่มมูลค่าใหธุรกิจและเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Big Data มาใช้
Netflix เป็นบริษัทผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งรายใหญ่ของโลก โดย Netflix ได้นำ Big data มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานเชิงลึกของลูกค้าทั่วโลก โดยการศึกษาพฤติกรรมการรับชมภาพยนต์ของลูกค้า นำข้อมูลที่ได้มาต่อยอดในการสร้างโปรเจคการสร้างหนัง และรูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์หนังที่ลูกค้าสนใจเพื่อที่ลูกค้าจะได้ใช้เวลากับแพลตฟอร์ม Netflix
Uber บริษัทเครือข่ายคมนาคมของ สหรัฐอเมริกา บริษัท Uber ได้นำ Big data มาใช้วิเคราะห์ระดับความต้องการของลูกค้าในแง่ของ Supply และ Demand ความต้องการของบริการ โดยราคาของค่าบริการจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับ Supply และ Demand ณ ขณะนั้น เช่น ถ้าหากเรียกใช้บริการ Taxi ใน เวลาที่ฝนตก หรือ มีความต้องการสูง ค่าบริการของ Uber ก็จะเพิ่มขึ้น ช่วงไหนที่ปกติก็จะไม่บวกเพิ่ม เป็นต้น
Big Data มีกระบวนการในทำงานอย่างไร
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Big Data ที่มีข้อมูลมากมายมหาศาลเช่นนี้ จะมีวิธีการหรือกระบวนการในการทำงานอย่างไร โดย Big Data ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูล Big Data ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมนั้นไม่สามารถทำได้ โดย Big Data สามารถเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และรวบรวมข้อมูลได้มากมายมหาศาลในรูปแบบของเทราไบต์ หรือบางครั้งอาจเก็บข้อมูลในระดับเพธาไบต์เลยก็ว่าได้
การจัดการข้อมูล
ข้อมูลที่มากมายมหาศาลหรือ Big Data จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ หรือหาแหล่งที่อยู่ให้มันยกตัวอย่างเช่น on premises หรือ cloud ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความสะดวกในการใช้งาน แต่ในบางกรณีอาจจะต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ใกล้กับแหล่งข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นสูง
การวิเคราะห์
Big Data อาจจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูงในการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ทั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย หากคุณไม่นำข้อมมูลเหล่านั้นมาใช้วิเคราะห์ เพื่อทำให้เกิดความกระจ่างและชัดเจนของชุดข้อมูลที่มีอยู่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ AI ในการวิเคราะห์ด้วยการสร้างรูปแบบจำลองของข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมามาข้อสรุป พัฒนา และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในปัจุบัน Big Data ถือว่ามีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้สามารถเข้าใจหรือถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นเป็นการลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการดำเนินการหรือวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด สำหรับในปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้รองรับ Big Data ในแบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ มีให้เห็นอยู่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น Google analysis หรือระบบ ERP เป็นต้น
ไม่เว้นแม้แต่บริษัทอีคอมเมิร์ซชื่อดังของโลกหลายแห่งมีการใช้ Big data เพื่อแนะนำสินค้าแบบ Real Time โดยอัตโนมัติหรือคุณเคยสังเกตไหมว่าเวลาที่คุณอยากได้สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเข้าไปหาข้อมูลสินค้าชนิดนั้นใน Google หรือจากแหล่งต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปจะมีสินค้าที่คุณต้องการนั้นปรากฏให้เห็นในโฆษณาหน้าเพจเฟสบุ๊ค โซเชียลอื่นๆ หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ โดยโฆษณาสินค้านั้นก็คือ Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้เก็บรวบรวมความต้องการของคุณไว้เป็นที่เรียบแล้ว และมันจะปรากฏให้คุณเห็นบ่อยๆ เพื่อล่อตาล่อใจ จนคุณเผลอกดเข้าไปสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น
การใช้งาน Big Data นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัจจุบันถ้าเป็นข้อมูลภายในองค์กรของคุณที่มีเก็บไว้อยู่แล้ว คุณสามารถใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดทั่วไป เช่น ERP เข้ามาจัดการได้ไม่ยาก แต่การจะทำให้องค์กรของคุณทราบความต้องการของตลาด รวมถึงสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถผลิต Content ทางการตลาด สามารถทำ SEO หรือทำ Social Media Marketing ให้ออกมาดีได้
Big Data กับการตลาดในยุค 4.0
ในโลกยุค Marketing 4.0 แบรนด์จำเป็นต้องเข้าหาผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และการเข้าที่จะเข้าหาผู้บริโภค เข้าใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยให้เป็นประโยชน์โดย ต้องใช้ Big Data มาช่วยประมวลผลข้อมูลที่ทำแคมเปญทางการตลาดเพื่อให้การทำการตลาดในอนาคต มีความเเม่นยำและ ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้นกว่าเดิม จากแนวโน้มที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้นักการตลาดไม่ควรที่จะมองข้าม Big Data อีกต่อไปในการทำแผนการตลาด และ รักษามาตราฐานให้กับแบรนด์ของคุณ ดังนั้น
คุณจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือประเภท Social Listening Tools เข้ามาช่วย ซึ่ง Social Listening Tools สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงความต้องการของผู้คนบนโลกออนไลน์ ช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลบน Social Platform ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ช่วงเวลาในการโพส การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงบวก เชิงลบ แม้กระทั่งทำให้ทราบว่า Content ที่ดีที่สามารถเรียก Engagement ของผู้คนบนโลกออนไลน์นั้นเป็นอย่างไร นับว่า Social Listening Tools มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ไม่น้อยเลยทีเดียว
โซเชียล ลิสเซอนิ่ง (Social Listening Tools) ที่ใช้งานง่าย
Mandala Analytics คืออีกหนึ่ง Social Listening Tools ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูล, อัพเดทเทรนด์, ดูความต้องการของผู้บริโภคที่คุณไม่อาจรู้มาก่อนบน Social Media Platforms ต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, YouTube, Instagram, Pantip, สามารถช่วยวิเคราะห์ช่วงเวลาการโพสต์ช่วงไหนได้รับผลตอบรับที่ดีที่สุดสำหรับวางเเผนการโพสต์, สามารถวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อแคมเปญที่สร้าง, ติดตามเพจหรือช่องของคู่เเข่ง และยังสามารถค้นหา KOLs/Influencer ที่ได้รับการพูดถึงหรือโพสต์เกี่ยวกับ Keyword ที่ผู้ใช้งานต้องการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย
Mandala Analytics Dashboard
Mandala Analytics นั้นใช้ข้อมูล Big Data ในการรวบรวมข้อมูล และช่วยวิเคราะห์ ดาต้าที่นำเข้ามาให้ผู้ใช้งานจากการยกตัวอย่าง ใช้ฟังก์ชัน Keyword & Hashtag หากผู้ใช้ต้องการดูว่าสินค้าอะไรขายดีในโซเชียลมีเดียก็สามารถใส่ Keyword สินค้าขายดีหรือ Keyword ที่เกี่ยวข้องก็จะเห็นว่าสินค้าขายดีนั้นจะเป็นจำพวกรองเท้าแฟชั่น ดังนั้นสามารถเป็นไอเดียให้กับผู้ใช้ในการหาสินค้าที่กำลังขายดีหรือกำลังได้รับความสนใจบนโซเชียลในมีเดียในเวลานั้นได้ตามรูปภาพด้านบน เป็นต้น
Mandala Analytics Dashboard
เครื่องมือ Mandala Analytics นั้นมี Mandala Score ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูล Big Data โดยอ้างอิงจาก การมีส่วนร่วมต่อโพสต์ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การกด Like, Comment, emoji และ Share ยิ่ง Mandala Score สูงข้อมูลที่ได้ ยิ่งมีคุณภาพตาม
Mandala Score นั้นเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ใช้บริการทั่วไปที่ต้องการกรองข้อมูลที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลากรองข้อมูลเองในกรณีที่มีข้อมูลเข้ามาเป็นจำนวนมาก จากภาพตัวอย่างจะเห็นได้ว่าถึงเเม้ว่าโพสต์จะมีค่า Engagement ที่สูงเเต่ของโพสต์ที่ 2 นั้นน้อยกว่า โพสต์ที่ 1 Mandala Analytics จะให้ความสำคัญกับการ Comment, Share มากกว่า Like เพราะมองว่าเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ
Mandala Analytics Dashboard
ยกตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่น Sentiment analysis ของ Mandala Analytics ช่วยในการวิเคราะห์อารมณ์จากข้อความ การรีวิว โพสต์ Facebook Twitter ในเเง่บวก และเเง่ลบที่เกี่ยวกับ Keyword นั้นและยังสามารถดูผลตอบรับของลูกค้าได้ เช่น การสังเกตการณ์ Feedback ของลูกค้าผ่านช่องทาง Social Media Post ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลประเภทข้อความ, การกำหนด Observation number และ Keyword เป็นต้น
Mandala Analytics Dashboard
ตัวอย่างหน้า Report ของ Mandala Analytics ที่ดูเรียบง่ายสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและวิเคราะห์ต่อได้เลย โดยสามารถสรุป Hashtag ที่ได้รับความนิยม, ค่า Mention, ค่า Engagement ของโพสต์, Best Post Time เวลาไหนค่า Engagement สูงที่สุด บน Social Media Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, Pantip, Website เป็นต้น และเครื่องมือ Mandala นั้นใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน รวดเร็ว ราคาคุ้มค่า ไม่ผูกมัด
Mandala Analytics Dashboard
ในส่วนสุดท้ายนั้นขอแนะนำฟังก์ชั่น Top Channel สามารถใช้ค้นหา Top KOLs/ Influencer บน Facebook, Twitter, Instagram, YouTube รวมทั้งยังสามารถดูข้อมูลเชิงลึกที่ KOLs/Influencer นั้นได้โพสต์ว่ามี Engagement เท่าไหร่ ? อารมณ์ความรู้สึกของลูกกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อโพสต์นั้น ช่วงเวลาไหนที่ KOLs/Influencer นั้นมักโพสต์ ความน่าเชื่อถือของ KOLs/ Influencer และ Keyword & Hashtag ไหนที่มักใช้ในการโพสต์ ซึ่งถือว่าสามารถดูรายละเอียดต่างๆ ของ KOLs/Influencer นั้นได้อย่างครบถ้วนเลยทีเดียว
สรุปความสำคัญของ Big Data
จะเห็นได้ว่า Big Data ในปัจจุบันนั้นสำคัญเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะธุรกิจไหนก็ตาม และด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนมาใช้ชีวิตบนสื่อออนไลน์มากขึ้นเสพสื่อ เสพคอนเทนต์ มากขึ้น ถ้าหากมองข้ามในส่วนนี้ก็มีโอกาสที่จะเสียเปรียบคู่เเข่งและเสียกลุ่มลูกค้าไปเป็นจำนวนมากอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นไม่ว่าจะธุรกิจไหนก็ต้องมีข้อมูล Big Data ยิ่งมีข้อมูล Big Data เยอะก็ยิ่งได้เปรียบคู่เเข่งทางการค้า เพราะ ข้อมูล Big Data นั้นสามารถเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านธุรกิจ, วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการตลาดให้ถูกจุด, เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น และที่สำคัญสามารถเป็นไอเดียเพิ่มเติมในการพัฒนาสินค้าและบริการในอนาคตได้ ซึ่งถือว่า Mandala Analytics เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับปัจจุบันตอบโจทย์หลายๆ ธุรกิจได้อย่างเเน่นอนครับ สามารถทดลองใช้ฟรี ได้ที่ Free Trial 15 day
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up