Blogs & Articles

การลงโฆษณา YouTube ในปัจจุบัน มีรูปแบบอะไรบ้าง อย่างไร

digital marketing

YouTube เป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งได้รับการค้นหามากที่สุดจากคนทั่วโลก รองจาก Google โดยผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดูคลิปวีดีโอ ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือผู้ใช้งานสามารถเข้ามาอัพโหลดวีดีโอของตัวเองลงไป เพื่อให้คนอื่นมาติดตาม กดถูกใจ หรือคอมเมนต์ต่าง ๆ ใต้คลิป ปัจจุบัน YouTube มีแอพพลิเคชั่นเป็นของตัวเอง และมีจำนวนยอดผู้ใช้งานอยู่ที่ 1.9 พันล้านรายต่อเดือน สืบเนื่องจากมีผู้ใช้งานมากมายมหาศาล YouTube จึงกลายเป็นที่น่าสนใจของการตลาดออนไลน์

digital marketing

การโฆษณาบน YouTube กลายเป็นความสำเร็จของหลาย ๆ แบรนด์ไปเป็นที่เรียบร้อย สำหรับธุรกิจมือใหม่ที่สนใจ อยากหันมาทำการตลาดด้วยการโฆษณาผ่านช่องทาง YouTube บ้าง สิ่งแรกที่คุณจำเป็นต้องรู้คือ รูปแบบการโฆษณาของ YouTube โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำการลงโฆษณา YouTube ในปัจจุบันว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง โดยแต่ละรูปแบบนั้นมีข้อดี อย่างไร 

Digital marketing กับรูปแบบการลงโฆษณาบน YouTube

1.Bumper Ads (แสดงโฆษณา 6 วินาทีและไม่สามารถกดข้ามได้)

Bumper Ads คือรูปแบบการโฆษณาด้วยวิดีโอสั้น ๆ เพียง 6 วินาที และไม่สามารถกดข้ามวิดีโอนั้นไปได้ โดยคุณสามารถเพิ่มลิงค์เว็บไซต์ลงไป เพื่อให้ผู้ชมสามารถคลิ๊กเข้าไปชม ซึ่งรูปแบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการรับรู้ให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าการโฆษณาเพียง 6 วินาที จะสามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างไร นี่คือความท้าทายและตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคได้ดีมาก เพราะมีการวิจัยว่าพฤติกรรมความชอบ หรือไม่ชอบของมนุษย์ พวกเขาสามารถตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว หากโฆษณาเพียง 6 วินาที ทำให้ผู้ชมเกิดความสงสัย สนุก หรือน่าค้นหา เป็นไปได้ว่าพวกเขาจะกดเข้าไปเพื่อรับชมโฆษณาตัวเต็มให้จบ 

วิธีการทำงานของ Bumper Ads โดยคุณสามารถเลือกได้ว่า จะให้โฆษณาเล่นก่อนวิดีโอ 6 วินาที ระหว่างวิดีโอ 6 วินาที หรือหลังจบวิดีโอก็ได้ โดยที่ผู้ชมจะไม่สามารถกดข้ามวิดีโอหรือโฆษณานั้นไปได้

สำหรับค่าใช้จ่ายจะมีการเรียกเก็บแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) คือ เมื่อโฆษณาของคุณถูกแสดงผลครบ1,000 ครั้ง จึงจะมีการคิดค่าโฆษณา 

ข้อดี : การโฆษณาในรูปแบบนี้ไม่สามารถกดข้ามได้ และด้วยรูปแบบวิดีโอที่สั้นเพียง 6 วินาที จึงไม่เป็นการรบกวนผู้ชมมากเกินไป นอกจากนั้นคุณยังสามารถนำคอนเทนต์หรือโฆษณาตัวเก่ามาเผยแพร่ได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องเสียเวลา หรือลงทุนสร้างโฆษณาตัวใหม่ขึ้นมา 

2.Non-Skippable Video Ads (แสดงโฆษณา 15 วินาทีและไม่สามารถกดข้ามได้)

การโฆษณาในรูปแบบนี้ แตกต่างจากข้อ 1 เพียงแค่ระยะเวลาในการแสดงโฆษณา โดยในรูปแบบของ Non-Skippable Video Ads สามารถเล่นวิดีโอได้ 15 วินาที ซึ่งมีความยาวมากกว่า และไม่สามารถกดข้ามโฆษณานั้นได้เช่นเดียวกัน รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการโปโมทสินค้าตัวใหม่ หรือเพื่อการส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

วิธีการทำงานของก็คล้ายกันกับ Bumper Ads คือ คุณสามารถเลือกได้ว่า จะให้โฆษณาเล่นก่อนวิดีโอ 15 วินาที ระหว่างวิดีโอ 15 วินาที หรือหลังจบวิดีโอ 15 วินาที โดยที่ผู้ชมจะไม่สามารถกดข้ามวิดีโอหรือโฆษณานั้นไปได้

สำหรับค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน จะมีการเรียกเก็บแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) คือ เมื่อโฆษณาของคุณถูกแสดงผล 1,000 ครั้ง จึงจะมีการคิดค่าโฆษณา 

ข้อดี : รูปแบบการโฆษณาที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ละเอียด สื่อสารออกไปยังผู้ชมได้ครบถ้วน


3.TrueView Ads หรือ Skippable Video Ads (โฆษณาที่กดข้ามได้)

คือ รูปแบบการโฆษณาที่ผู้ชมสามารถ Skip Ad (ข้ามโฆษณา) ได้ แต่จะสามารถกดข้ามได้ก็ต่อเมื่อ วิดีโอนั้นเล่นไปได้ 5 วินาทีเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของ YouTube โดยคุณสามารถเลือกให้โฆษณาไปปรากฏอยู่ก่อนเล่นวิดีโอ ระหว่างวิดีโอ หรือตอนท้ายวิดีโอก็ได้ เป้าหมายของการโฆษณาในรูปแบบนี้ก็คล้ายกับโฆษณาในรูปแบบอื่นๆ คือ เน้นสร้างการรับรู้แบรนด์ เพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ หรือกระตุ้นยอดขาย 

สำหรับค่าใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 

คิดแบบ CPV (Cost Per View) คือ คิดค่าโฆษณาต่อการรับชมวิดีโอ 1 ครั้ง เมื่อผู้ชมรับชมโฆษณาไปจนครบ 30 วินาที 

คิดแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) คือ คิดค่าโฆษณาเมื่อมีการแสดงผลครบ 1,000 ครั้ง 

ข้อดี : มีค่าใช้จ่ายต่ำเป็นการประหยัดต้นทุน โดยเฉพาะการคิดแบบ CPV (Cost Per View) หากผู้ชมรับชมโฆษณาไม่ถึง 30 นาที และกดข้ามไปเสียก่อน คุณแทบไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาเลย

การแสดงโฆษณาในรูปแบบวิดีโอ ทั้ง 3 รูปแบบนี้ นอกจากจะสามารถแสดงได้บนวิดีโอของ YouTube แล้วยังสามารถแสดงโฆษณาได้ในธุรกิจพาร์ทเนอร์อย่าง Google ในส่วนผลการค้นหา หรืออาจแสดงใน แอพพลิเคชั่นเครือข่าย Display ของ Google ได้ 

อย่างไรก็ตาม YouTube ไม่เพียงแต่มีรูปแบบการโฆษณาของวิดีโอเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิดีโอ ได้แก่

-Overlay Ads คือ รูปภาพขนาด 480px X 70px ที่ถูกซ่อนอยู่ด้านล่างของวิดีโอ YouTube

-Display Ads จะแสดงอยู่ทางด้านขวามือของวิดีโอ หรืออยู่บนรายการวิดีโอที่แนะนำ

-Cards and Sponsored Cards มีลักษณะเป็นการ์ดเป็นป๊อปอัปขนาดเล็ก ปรากฏอยู่ด้านบนของวิดีโอ 

YouTube คือช่องทางสำคัญในการโฆษณา ที่สามารถสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อว่าหากธุรกิจต้องการให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น YouTube คือช่องทางและโอกาสที่สำคัญ และทั้งหมดนี้ คือ รูปแบบการลงโฆษณาผ่านช่องทาง YouTube ที่เราได้เอามาแนะนำ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับนักการตลาดออนไลน์ จำเป็นต้องรู้ หรือทำความเข้าใจ และนำมาใช้กับการโฆษณาแบรนด์ของตัวเอง โดยในแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะหรือเงื่อนไขที่มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ผู้ลงโฆษณาสามารถนำมาวิเคราะห์ และวางแผนกลยุทธ์ในการโฆษณา เพื่อให้เหมาะกับธุรกิจของตนเอง


ที่ขาดไม่ได้เลยเครื่องมือตัวช่วยวิเคราะห์ Data บน YouTube ที่คู่กับนักการตลาดออนไลน์

Mandala Analytics เครื่องมือที่ช่วย Digital Marketing ทำการตลาดได้ง่ายขึ้น โดยสามารถช่วยให้เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ประหยัดเวลาในการหาข้อมูลและได้ผลในการทำการตลาดและลงโฆษณาได้ถูกเวลาแม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องมือ Mandala Analytics นี้สามารถนำข้อมูลที่ต้องการค้นหามาวิเคราะห์ในเชิงลึกและแสดงผลในรูปแบบกราฟเส้นและกราฟแท่งได้ซึ่งสะดวกสบายและสามารถเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป โดยเครื่องมือ Mandala Analytics สามารถวิเคราะห์ได้ทั้ง 4 เเพลตฟอร์มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Facebook, Instagram, YouTube, Twitter ซึ่งข้อมูลที่ได้รับนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดออนไลน์เป็นอย่างมากในการลงโฆษณาออนไลน์และเลือกกลุ่ม Targets ที่ต้องการ และที่ขาดไม่ได้เลยคือฟังก์ชั่น Time Analytics ของ Mandala Analytics ที่จะช่วยให้นักการตลาดออนไลน์ยิงโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยสามารถเลือกดูช่วงเวลาที่เหมาะกับการยิงโฆษณาและวางแผนการยิงโฆษณาได้ตรงจุดตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ

ตัวอย่างการวิเคราะห์ครัวซองโดยใช้เครื่องมือฟังก์ชั่น Time Analysis   

จากข้อมูลที่ได้รับจะเห็นได้ว่าช่วงเวลา 10:00 น. ของวันจันทร์ - วันอาทิตย์ หลายๆ แบรนด์ได้มีการโพสต์ถึงครัวซองเป็นจำนวนมาก และช่วงเวลาที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมี Engagement กับโพสต์มากที่สุดคือช่วงเวลา 11:00 น. ของวันจันทร์ - เสาร์ และ 18:00 น. ในวันอาทิตย์ เครื่องมือ Mandala Analytics ยังสามารถสำรวจอารมณ์ของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อโพสต์เป็นแบบ Positive, Neutral หรือ Negative ได้อีกด้วย ฟังก์ชั่นนี้จึงเป็นฟังก์ชั่นที่สำคัญที่สามารถช่วยให้ผู้ใช้งาน Mandala Analytics สามารถวางแผนสำหรับเลือกยิงโฆษณาได้ตรงตามเวลาที่กลุ่มลูกค้าที่สนใจสินค้าได้และประหยัดงบประมาณในการลงโฆษณาได้มากยิ่งขึ้นเนื่องจากยิงโฆษณาได้ตรงจุดในช่วงที่กลุ่มลูกค้ามี Engagement สูงที่สุด

 

นอกจากนี้ Mandala Analytics ยังมีฟังก์ชั่นอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ในการช่วยให้เข้าใจกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสำหรับทำการตลาดออนไลน์, วิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคในเชิงลึก หากคุณสนใจใช้งานเครื่องมือ Mandala Analytics ในการช่วยวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย, ลงโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพ, ทำแผนการตลาดออนไลน์ให้มีคุณภาพมากกว่าเดิมคุณสามารถลองทดลองใช้ฟรี 7 วันได้ที่นี้


Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends