Blogs & Articles

ROAS/ROI ในมุมของการตลาดออนไลน์ และ การวิเคราะห์ Ads

การตลาดออนไลน์

การตลาดออนไลน์ กับการโฆษณา โดยเฉพาะการโฆษณากับผู้ให้บริการอย่าง Google Ads ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เหมือนเป็นการกระจายสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ช่วยกระตุ้นยอดขาย และอีกหนึ่งจุดเด่นของการโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์คือ มีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องจ้างแรงงาน และไม่ต้องเฝ้าคอยระวังว่าป้ายโฆษณาจะร่วงลงมาวันไหน  ไหนจะต้องมาซ่อมแซม หรือเลือกทำเลในการติดป้ายที่เหมาะสม ทำให้เสียค่าใช้จ่ายอีกไม่ใช่น้อย

การตลาดออนไลน์การตลาดออนไลน์ กับการลงโฆษณา

อย่างไรก็ตาม การโฆษณานั้น ไม่ใช่การหว่านแหไปเรื่อยเปื่อย หากต้องการผลลัพธิ์หรือประสิทธิภาพที่ดี จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ และวัดผล เรากำลังพูดถึงเครื่องมือ ROAS และ ROI สำหรับนักการตลาดออนไลน์มือใหม่อาจจะไม่คุ้นเคยกับทั้งสองคำนี้ โดยในวันนี้เราจะมาแชร์สาระของ ROAS และ ROI ว่ามีความสำคัญต่อการตลาดออนไลน์ อย่างไร 

เริ่มต้นกันที่ ROI ย่อมาจาก “Return on investment” หมายถึง ผลตอบแทนจากการลงทุน ในทุกๆ การลงทุน แน่นอนว่านักลงทุนย่อมคาดหวังสิ่งตอบแทน หรือหากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ ยอดขายที่ได้ หลังจากหักต้นทุนค่าโฆษณา นั่นเอง

สูตรการคำนวณตาม Google Analytic มีดังนี้ 

(revenue-media cost)/media cost x 100 หรือ (ยอดขายที่เกิดจากโฆษณา-ต้นทุนโฆษณา)/ต้นทุนโฆษณา x 100

ยกตัวอย่างการคำนวณ

สมมติเราลงทุนในการลงโฆษณาจากแคมเปน A ด้วยเงินจำนวน 10,000 บาท ปรากฏว่มีคนเข้ามาซื้อสินค้าของเราจากโฆษณานั้นๆ รายได้รวมเป็นเงิน 20,000 บาท เมื่อแทนค่าตัวเลขลงไปจะได้ ค่า ROI เท่ากับ 

  • (20,000-10,000)/10,000 x 100 = ROI = 100 %

อย่างไรก็ตามสูตร ROI ที่ธุรกิจใช้กันคือ (revenue-cost of investment) / cost of investment x 100 แต่การคิดแบบนี้เป็นเงื่อนไขของ Google  ดังนั้น คุณสามารถนำตัวเลขที่ได้จาก Google Analytics ลองนำมาคำนวนใส่ margin เพื่อหา ROI ที่แท้จริงอีกที เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น 

ค่า ROI บอกอะไรกับเรา :
ยิ่ง ROI มีค่าสูงมากเท่าไหร่ หมายถึง ความคุ้มค่าในการลงทุนมีมากขึ้นเท่านั้น อย่างเช่นตัวอย่างที่เราให้ไว้ หมายความว่าแคมเปญ A มีกำไรจากการโฆษณา โดยหักต้นทุนเรียบร้อยอยู่ที่ 100 % หากแคมเปญอื่นๆ สามารถทำมี ROI มากกว่า 100 % ย่อมให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่า นั่นเอง 

ในส่วน ROAS ย่อมากจาก “Return on ads spending” 
คือ การวัดความคุ้มค่าจากการโฆษณาด้วยการนำเงิน หรือยอดขายที่ได้รับจากการลงโฆษณา มาเปรียบเทียบกับค่าโฆษณาที่ถูกจ่ายออกไป โดย ROAS แตกต่างจาก ROI ตรงที่วิธีการคำนวนจะไม่หักต้นทุนค่าโฆษณาจากยอดขายที่ได้รับ 

โดยมีสูตรการคำนวณตาม Google Analytic มีดังนี้ 

revenue/media cost x 100หรือ ยอดขาย/ต้นทุนโฆษณา x 100

จากตัวอย่างเดิม หากนำมาใส่ในสูตร ROAS จะได้เท่ากับ

  • 20,000/10,000 x 100 = ROAS 200 % 

อย่างไรก็ตาม สำหรับวัดความคุ้มค่าของแคมเปญ หากใช้ ROAS ในการคำนวณ ตัวเลขที่ได้อาจเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ดูสวยหรูมากเกินไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ROAS คำนวณเพียงแค่รายรับ ไม่ใช่ผลกำไร และคำนวณเพียงแค่ต้นทุนในการโฆษณา แต่ไม่ใช่ต้นทุนทั้งหมด ส่งผลให้ผลลัพธิ์ที่ได้เกิดการบิดเบือน หรือเกินความเป็นจริงนั่นเอง

การตลาดออนไลน์


และจากความคิดเห็นส่วนตัวแล้วมองว่า ROI คือการวัดผลที่มีความแม่นยำ และใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งการใช้ ROI เพื่อวัดผลการโฆษณาบน Social Media นั้น หากต้องการให้ผลลัพธ์ออกมายังมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 

-ตั้งเป้าหมายและความคาดหวังให้ชัดเจน 

ในแต่ละแคมเปญนั้น ก่อนตัดสินใจโฆษณา ควรตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวัง และเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน ยกตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย เช่น ต้องการให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ต้องการให้ดูวีดีโอที่โพส ต้องการให้ลูกค้าดาวน์โหลดแคตตาล็อค หรือให้ลูกค้ากรอกสมัครข้อมูลเข้ามาเป็นสมาชิก เป็นต้น

-คำนวณราคาต่อหน่วยหรือผลลัพธ์ให้ออกมาในรูปแบบของตัวเงิน 

การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และมองภาพที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น จากการคำนวณสถิติที่ผ่านมา พบว่า ในทุกๆ 10,000 คนที่เห็นโฆษณาของคุณจะมีจำนวน 5,000 คนที่เข้าเว็บไซต์และเกิดการสั่งซื้อสินค้าทั้งหมด 100รายการ เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท หมายความว่าเฉลี่ยคนเข้าเว็บ 5,000 คนจะทำให้คุณมีรายได้จากการขาย 100,000 บาท หรือเท่ากับว่ามูลค่าของคนที่เข้าเว็บไซต์ 1 คนเท่ากับ 20 บาท นั่นเอง 

-ประเมินผลตอบแทนที่ได้รับในแต่ละช่องทาง 

เพื่อให้การโฆษณาในครั้งต่อไป มีประสิทธิภาพและดีมากยิ่งขึ้น ควรทำการประเมินผลตอบแทนที่ได้รับในแต่ละช่องทางเพราะจะทำให้รู้ว่า Social Media หรือแพลตฟอร์มไหน ให้ผลตอบแทนที่เยอะมากที่สุด ซึ่งคุณจะได้ให้ความสำคัญกับแพลตฟอร์มนั้นๆ มากกว่าแพลตฟอร์มอื่น 

-ประเมินค่าใช้จ่ายในแต่ละช่องทาง 

นอกจากจะต้องประเมินผลตอบแทนที่ได้รับในแต่ละช่องทางแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละช่องทางด้วย เพื่อให้สามารถแยกต้นทุนค่าใช้จ่าย และนำผลตอบแทนที่ได้รับมาเปรียบเทียบว่าช่องทางไหนมีความคุ้มค่ามากกว่ากัน ส่วนช่องทางไหนที่ขาดทุนครั้งต่อไปก็จะได้ไม่ต้องไปโฟกัสอีก

ค้นหา Customer Insight ด้วย Social listening tools

ในขณะนี้เครื่องมือที่เป็นประโยชน์สามารถช่วยวิเคราะห์, ค้นหาและรวบรวม Customer Insight บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่กำลังได้รับความนิยมได้แก่ Facebook, Instagram, YouTube และ Twitter คือ Social Listening tools และ Social Listening Tools ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ Mandala Analytics ถ้าหากคุณไม่เข้าใจความต้องการหรือพฤติกรรมของลูกค้านักการตลาดก็ไม่สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้, ไม่สามารถวางแผนการใช้โฆษณาตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจริง ๆ ได้ และการวางแผนที่ผิดพลาดไม่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคก็จะส่งผลต่อในของเรื่อง ROI ด้วย วันนี้ทีมงานจะมาแนะนำแนวทางการใช้ Social Listening Tools ให้มีประสิทธิภาพและคอยช่วยเหลือให้นักการตลาดเข้าใจ Customer Insight มากขึ้น 


แนวทางวิธีการใช้ Social Listening Tools สำหรับนักการตลาด

1.วิเคราะห์ธุรกิจตัวเอง 

สำหรับนักการตลาดคุณต้องทราบก่อนว่าธุรกิจของตัวเองนั้นมีจุดอ่อนจุดหรือจุดแข็งในด้านไหนบ้างเพื่อเป็นการกำหนดในการตั้ง Keyword สำหรับศึกษากลุ่มลูกค้าบนโลกออนไลน์ที่คุณต้องการดักฟังหรือเลือกใช้  Keyword ที่คู่แข่งใช้เป็นประจำในการศึกษาและวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อหา Pain Point ที่คู่แข่งเรามีและปรับให้เข้ากับแบรนด์ของเราเพื่อสร้างจุดแข็งเพิ่มเติม 

ตัวอย่างการตั้ง Keyword สำหรับค้นหาสิ่งที่ต้องการค้นหา

2. กำหนด Marketing Strategy ให้เหมาะสม

การกำหนด Marketing Strategy ในการทำธุรกิตโดยการเลือกช่องทางการโปรโมท Ads เหมาะสมเพื่อประหยัดงบประมาณในการทำแคมเปญและได้ KPI ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเลือกจากช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้มีส่วนร่วม (Engagement) กับโพสต์มากที่สุด

 

ตัวอย่างกราฟเปรียบเทียบช่องทาง Social Media จากการมีส่วนร่วมกับโพสต์ (Engagement) และจำนวนนวนการพูดถึง (Mention)

3. สำรวจช่วงเวลาที่ผู้บริโภคสนใจ 

การสำรวจช่วงเวลาที่ผู้บริโภคสนใจนั้นเป็นสิ่งที่นักการตลาดออนไลน์ไม่ควรพลาดเนื่องจากนักการตลาดสามารถที่จะวางกลยุทธ์ดักทางผู้บริโภคได้ 

 

ตัวอย่างการแสดงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับโพสต์คอนเทนต์

4. เลือก Influencer ที่ถูกต้อง

ในปัจจุบันการทำการตลาดนั้นได้มีการใช้ Influencer อย่างหลากหลายเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าหรือโปรดักส์แต่การจ้าง Influencer นั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงดังนั้นการที่จะเลือกจ้าง Influencer นั้นมีความจำเป็นอย่างมากในการเลือก Influencer ที่ใช่เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการทำแคมเปญและมี KPI สูง โปรโมทสินค้าตรงตามกลุ่มลูกค้าที่ตั้งเป้าไว้ ดังนั้นเครื่องมือ Mandala Analytics คือเครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ข้อมูลที่แม่นยำในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในราคาที่คุ้มค่า


ทั้งหมดนี้ก็คือ เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ Ads ในแง่มุมของ ROI และ ROAS ซึ่งเป็นการวัดผลจากการโฆษณา โดยเป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ในรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้คุณได้มีความรู้และมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น การตลาดออนไลน์ผ่านการโฆษณานั้นไม่ใช่เพียงแค่การหว่านแหออกไปเรื่อยๆ โดยจับต้นชนปลายไม่ถูก แม้ว่าคุณจะไม่ต้องมานั่งคำนวณเองก็ตาม เพราะทั้งหมดอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมสำเร็จรูป แต่คุณก็จำเป็นที่ต้องรู้ Concept หรือแนวคิดเพื่อให้สามารถวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองถ้าหากคุณไม่อยากที่จะพลาดโอกาสที่จะศึกษาข้อมูลที่คุณสงสัยหรือต้องการพัฒนาเเบรนด์ของคุณ สามารถทดลองใช้งานฟรี ได้ที่ Free Trial 7 day

Mandala Team

Creator

Share this post

Search the blog

Mandala Newsletter

Sign-up to receive the latest insights in to online trends