YouTube เป็นเครื่องมือสำคัญที่ธุรกิจออนไลน์กำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ใช้งานต้องการเสพสื่อประเภทของคลิปวีดีโอ ด้วยความที่วีดีโอมีภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงให้ได้ยิน จึงทำให้ผู้รับชมรู้สึกตื่นตาตื่นใจ และรู้สึกเพลิดเพลินเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีผู้ใช้งาน YouTube ทั่วโลกหลายร้อยล้านคนและผู้ใช้งานเหล่านั้นกลายเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจในหลายๆ ธุรกิจเช่นเดียวกัน
ทำให้นักธุรกิจออนไลน์หันมาใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ ในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์หรือมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นยอดขาย แน่นอนว่าการลงทุน ผู้ลงทุนจะต้องคาดหวังผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนนั้นอาจจะเป็นรูปของตัวเงินหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของผู้ลงทุน บางธุรกิจเลือกที่จะโฆษณาบน YouTube โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนในรูปตัวเงิน แต่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้แก่แบรนด์ หรือทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และเมื่อโฆษณาไปแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือ การติดตามหรือการวัดผลความสำเร็จ โดยคุณสามารถใช้เครื่องมือของ YouTube analysis เข้ามาช่วยติดตามการทำงาน ซึ่งข้อมูลที่คุณได้จะทำให้สามารถนำมาวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง
Digital Marketing กับ Youtube Analysis
YouTube Analysis กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสำเร็จของวีดีโอ หรือการทำคอนเทนต์ในรูปแบบของวีดีโอ โดยบ่งบอกผลลัพธ์ของวีดีโอในแต่ละรายการ และภาพรวมของ Chanel ใช้สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชม กลุ่มผู้ชมเป้าหมายรวมถึงบอกรายได้ หรือผลตอบแทนที่ได้รับ
YouTube analysis ใช้วัดค่าความสำเร็จของวิดีโอได้ ดังนี้
1.Target Audience
Target Audience คือ ค่าที่แสดงให้เห็นว่าผู้รับชมวิดีโอ มีใครบ้าง อายุเท่าไหร่ เพศอะไร ซึ่งทำให้ธุรกิจออนไลน์สามารถรู้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และมองเห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดย Demographics จะแสดงลักษณะของผู้บริโภค ซึ่งแบ่งแยกตามอายุ เพศ และประเทศ โดยสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็นวีดีโอหรือ Content ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น
2.Audience Behavior
Audience Behavior สามารถวัดความสำเร็จได้ โดยใช้ตัววัดค่า ดังต่อไปนี้
- Relative and absolute audience retention ซึ่งเป็นตัววัดค่าวิดีโอว่ามีผู้รับชมมากน้อยเท่าไหร่ และมีการรับชมวิดีโอมากที่สุดในช่วงเวลาใด สำหรับจุดที่มีผู้รับชมน้อยกราฟจะต่ำลง โดยกราฟจะแสดงให้เห็นช่วงเวลาที่ผู้ชมเลิกดูวีดีโอ และคุณสามารถนำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะของวีดีโอในช่วงเวลานั้นให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
- Average percentage viewed สามารถใช้วัดค่าวีดีโอหรือ Content ของคุณว่ามีความน่าสนใจหรือสามารถดึงดูดผู้ชมได้มากน้อยแค่ไหน โดยการแสดงให้เห็นจำนวนยอดวิว เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงวีดีโอหรือคอนเทนต์ให้ดียิ่งขึ้น
- Average view duration เป็นค่าที่ใช้วัดจำนวนครั้งในการรับชม และเวลาทั้งหมดที่ผู้ชมใช้ในการดูวีดีโอ ในแต่ละวีดีโอ ทำให้คุณได้เข้าใจและสามารถนำข้อมูลมาสร้างวีดีโอให้มีความน่าสนใจ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมมากยิ่งขึ้น
- Traffic sources สามารถใช้วัดช่องทางที่ผู้ชมเลือกรับชมวีดีโอ และจำนวนครั้งที่รับชมในแต่ละช่องทาง ผ่านวีดีโอแนะนำ (Suggested Video) โดยข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการสร้างวีดีโอในครั้งต่อไป บนช่องทางต่างๆ หรือสร้างความสัมพันธ์กับผู้ชมผ่านช่องทางนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- Device เป็นค่าที่ใช้วัดว่าผู้รับชมวีดีโอมีการรับชมผ่านอุปกรณ์ใดมากที่สุด ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการเลือกรูปแบบและเนื้อหา ช่วยนำมาวางกลยุทธ์ให้เหมาะสมในการรับชม ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบของวีดีโอ ขนาดของวีดีโอ รวมถึงคำบรรยายเป็นต้น
ข้อมูลต่างๆ เหลานี้สามารดูได้จาก Channel analytics
3. Audience Engagement
ใช้ในการวัดปฏิสัมพันธ์ของผู้ชมในเชิงลึก ซึ่งประกอบไปด้วยตัววัด ดังต่อไปนี้
-Views คือ จำนวนการรับชมวิดีโอ
-Shares คือ การเผยแพร่วีดีโอไปยังช่องทางอื่นๆ
-Likes/Dislikes คือ การกดถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ
-Comments คือ ค่าที่บ่งบอกว่าผู้รับชมเข้ามามีส่วนร่วมหรือแสดงความคิดเห็นมากน้อยแค่ไหน
-Subscribers คือ ค่าที่บอกจำนวนการกดติดตาม หรือกด Subscribe คล้ายกับการกดติดตามบน Twitter หรือ Facebook
ทั้งหมดนี้ก็คือ ค่าที่ใช้วัดความสำเร็จในการลงวีดีโอหรือการทำ Content บนช่องทางของ YouTube โดยอาศัยการวิเคราะห์ของ YouTube analysis ที่นักธุรกิจออนไลน์จำเป็นต้องรู้ในขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม สำหรับการตลาดออนไลน์บนช่องทางของ YouTube สิ่งที่นักธุรกิจออนไลน์ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ การสร้างสรรค์ Content ให้ดีและมีคุณภาพ
Mandala Analysis ตัวช่วยสำคัญของการตลาดบน Youtube
เพื่อให้ผลตอบรับที่ได้เป็นไปในทิศทางที่ดี โดยอาจต้องอาศัยเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคและนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้าง Content หรือวีดีโอให้มีความน่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น Mandala analysis โปรแกรมที่ช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในเชิงลึก ทำให้คุณได้รู้ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ด้วยการ Research พฤติกรรมของลูกค้า นอกจากนั้นยังได้รู้ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งอีกด้วย ผ่านการ Listening and Monitoring ด้วยการทำงานของ AI ที่ทีความแม่นยำ รวดเร็ว วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวัดผลความสำเร็จได้ด้วยเครื่องมือ Online Monitoring โดยสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาสินค้า หรือนำมาสร้าง Content เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตและสร้างผลตอบแทนอันเป็นที่น่าพึงพอใจ
นอกจาก Mandala analysis จะสามารถใช้วิเคราะห์แพลตฟอร์มบน YouTube ได้แล้ว ยังสามารถใช้วิเคราะห์แพลตฟอร์มSocial Media ที่มีอิทธิพล ยกตัวอย่าง เช่น Facebook Twitter และ Instagram ได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ นักการตลาด หรือฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ รวมถึงทีมงาน Digital Marketing หรือ Digital Content ที่ต้องการเจาะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและสร้างสรรค์ Content ที่มีคุณภาพ
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up