ช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงของการเปิดเรียนกันแล้ว แต่จะเรียกว่าเปิดเรียนปกติก็เรียกได้ไม่เต็มปาก ขอเรียกเป็นการเปิดเรียนทิพย์แทนดีกว่า เพราะถูกบังคับเรียนออนไลน์กันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะนักเรียนในพื้นที่เสี่ยง หลายคนคงบ่นว่าจำหน้าเพื่อน ๆ กันไม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามต้องขอเป็นกำลังใจให้นักเรียนนักศึกษาผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่นนะคะ เพราะผู้เขียนเองก็เรียนจบมาแบบชาวทิพย์เหมือนกัน ต้องเรียนและสอบแบบออนไลน์ตั้งแต่ช่วงปีสาม ไม่มีโอกาสร่ำลาเพื่อน ๆ ก่อนเรียนจบเลยด้วยซ้ำ แต่ขอพักเรื่องเศร้า ๆ กันก่อนดีกว่าค่ะ ถ้าให้เล่าความในใจต่อเดี๋ยวจะยาวไปซะก่อน
บทความในวันนี้เราจะพาทุกคนมาลองดูว่าคนไทยพูดถึงประเด็นไหนมากที่สุดกับกระแสการเปิดเทอมด้วยเครื่องมือ Social Listening Tool อย่าง Mandala Analytics เพื่อเป็นแนวทางให้นักการตลาดออนไลน์จุดประกายไอเดียในการทำการตลาดช่วงเปิดเทอมนี้ให้ตรงกับสิ่งที่คนพูดถึงและต้องการมากที่สุด แต่ก่อนอื่นเรามาลองเช็กกันดูสักหน่อยว่าคนค้นหาเรื่องการเปิดเทอมในช่วงเวลาไหนมากที่สุดค่ะ
หาเทรนด์การเปิดเทอมจาก Google Trends
ผลลัพธ์การค้นหาเรื่องเปิดเทอมด้วย Google Trends
พอใส่คำว่า “เปิดเทอม” ลงใน Google Trends ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ปรากฏว่าวันที่ 27 เมษายน และ 18 พฤษภาคม 2564 มีปริมาณการค้นหาสูงมากกว่าปกติ ส่วนคำค้นหาที่เกี่ยวข้องจะเกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนเปิดเทอม และส่วนใหญ่พบว่าเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการค่ะ
เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 27 เมษายน และ 18 พฤษภาคม
ผลลัพธ์การค้นหาเรื่องเปิดเทอมวันที่ 27 เม.ย. และ18 พ.ค. ด้วย Google
พอลองค้นหาเกี่ยวกับเรื่องเปิดเทอมทั้งสองวันใน Google แล้ว พบว่าในวันที่ 27 เมษายน ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเลื่อนเปิดเทอมไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน และในวันที่ 18 พฤษภาคม ได้ประกาศเลื่อนเปิดเทอมอีกครั้งไปเป็นวันที่ 14 มิถุนายนแทน
ทีนี้เราก็จะได้เห็นประเด็นสำคัญแบบคร่าว ๆ แล้วว่าเทรนด์การเปิดเทอมในช่วงนี้ต้องเกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนเปิดเทอมอย่างแน่นอน แต่ข้อจำกัดของ Google Trends และ Google คือเราไม่สามารถดูรายละเอียดลึกลงไปกว่านั้นได้ว่าในช่วงที่มีปัญหาของการเลื่อนเปิดเทอม คนบนโลกออนไลน์จะมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างหรือมี Content จากช่องไหนที่ทำเกี่ยวกับประเด็นนี้ค่ะ
ดังนั้นการใช้เครื่องมือ Social Listening Tool ที่ชื่อว่า Mandala Analytics จะทำให้เราสามารถจับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีอัตราการค้นหาที่สูงของเรื่องการเปิดเทอมเหมือน Google Trends โดยการใส่ Keyword คำว่า “เปิดเทอม” แล้วเครื่องมือก็จะดึงข้อมูลแบบสาธารณะทั้งหมดที่มี Keyword นี้ในช่วงเวลาที่เรากำหนดไว้มาให้ค่ะ
ประเด็นที่ต้องการรู้ใน Mandala Analytics
ก่อนใช้เครื่องมือ เราควรตั้งจุดประสงค์ของการหา Insight ที่เกิดขึ้นกับกระแสการเปิดเทอมก่อน เพื่อมุ่งเน้นการดูข้อมูลเฉพาะประเด็นที่เราสนใจโดยเฉพาะ ซึ่งมีด้วยกัน 3 ข้อ ดังนี้
- 5 เรื่องที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
- คนบนโลกออนไลน์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
- ผลกระทบที่เกิดขึ้น
เริ่มต้นสร้าง Project ใน Mandala Analytics
หน้า Create Project ใน Mandala Analytics
ถ้าใครยังไม่เคยลองใช้ Mandala Analytics ก็สามารถไปทดลองใช้ฟรีที่นี่ แล้วลองทำไปพร้อมกัน ๆ ได้เลย เริ่มแรกกด Create Project ใส่ชื่อโปรเจกต์ลงไปแล้วกด Save จากนั้นก็กด Create Campaign ต่อเพื่อใส่รายละเอียดต่าง ๆ ที่เราต้องการวิเคราะห์ลงไปค่ะ
การสร้าง Campaign ใน Mandala Analytics
ชื่อและรายละเอียด Campaign สามารถใส่ชื่อเรื่องที่ต้องการศึกษาได้เลย ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงก็กลับมาแก้ไขทีหลังได้ เผื่อกลับมาดูทีหลังเราจะได้เข้าใจว่า Campaign นี้ที่สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องอะไรค่ะ
Campaign Date ที่ใช้จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ใช้ใน Google Trends ซึ่งก็คือวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม 2564 ส่วน Focus Language เป็นภาษาไทย เพราะเราต้องการวิเคราะห์ข้อมูลที่คนไทยมีการพูดถึงเท่านั้น สุดท้ายคือการใส่ Keyword คำว่า “เปิดเทอม” ลงไป เพราะเป็นคำที่เราต้องการให้เครื่องมือไปจับข้อมูลที่มีคำนี้มาให้เรากันค่ะ
ผลลัพธ์การค้นหาใน Mandala Analytics
หน้า Dashboard ของ Mandala Analytics
ในหน้า Dashboard ของ Mandala Analytics จะแสดงข้อมูลทั้งยอดการพูดถึง (Mention) และการมีส่วนร่วมของคน (Engagement) ของ Keyword ที่เราใส่เข้าไปในช่วง Campaign Date โดยในตอนนี้เราเลือกให้แสดงเฉพาะยอด Engagement เมื่อดูที่ยอดทั้งหมดเห็นได้ชัดเลยว่าสำหรับช่องทางที่มียอด Engagement สูงที่สุด ก็คือ Facebook ซึ่งมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอด Engagement ทั้งหมด
ถ้าเราลองดูในกราฟก็จะเห็นได้เลยค่ะว่าในวันที่ 27 เมษายน และ 18 พฤษภาคม 2564 มียอด Engagement ใน Facebook ที่สูงที่สุด และเป็นวันเดียวกับที่ Google Trends มีการค้นหาคำว่า “เปิดเทอม” สูงกว่าปกติด้วยเช่นกัน
Facebook Daily Summary ของวันที่ 27 เมษายน
Facebook Daily Summary ของวันที่ 18 พฤษภาคม
เมื่อกดเข้ามาดูจากกราฟของทั้ง 2 วัน เห็นได้ชัดเจนเลยค่ะว่าโพสต์ที่มียอด Engagement สูงเป็นอันดับแรก ๆ คือเรื่องเกี่ยวกับข่าวการเลื่อนเปิดเทอมเป็นส่วนใหญ่ โดยเพจ Facebook ที่มียอด Engagement สูงสุดจะมาจากเพจ “อนุวัด จัดให้” ซึ่งเป็นเพจของคุณอนุวัต เฟื่องทองแดง ผู้ประกาศข่าวช่อง 7HD ที่มีผู้ติดตามเกือบ 3 ล้านคน เนื้อหาในเพจเป็นการอัปเดต และสรุปข่าวสารต่าง ๆ ให้คนติดตามกันทุกวันแบบกระชับ และเข้าใจง่าย
ทีนี้เราจะกลับมาที่จุดประสงค์หลักของเราในวันนี้ค่ะว่าเราต้องการดู 5 กระแสเกี่ยวกับการเปิดเทอมว่าในช่วงที่มีปัญหาของการเลื่อนเปิดเทอม ประเด็นใดถูกพูดถึงมากที่สุด รวมถึงความคิดเห็นของคนบนโลกออนไลน์และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยใช้เครื่องมือ Mandala Analytics
Feature ที่เป็นตัวเอกในวันนี้เลยคือ การทำ Tag Management ซึ่งทำให้เราสามารถแยกประเภทของข้อมูลจำนวนมากด้วยการติด Tag และดูข้อมูลแยกตามประเภท Tag ได้เลยค่ะว่า แต่ละ Tag มีจำนวนข้อมูลเท่าไหร่หรือว่ามีข้อมูลอะไรน่าสนใจใน Tag นั้นบ้าง เราเลยสามารถรู้ได้ว่าประเด็นไหนมีการพูดถึงมากที่สุด
วิธีการสร้าง Tag Management
วิธีการติด Tag ในโพสต์
วิธีการสร้าง Tag Management ทำได้โดยกดเข้ามาที่ Mention Console จากหน้า Dashboard แล้วกดสร้าง Tag ได้ด้วยการ Add Tag โดยที่ข้อมูลของโพสต์แรกจะเกี่ยวกับข่าวการเลื่อนเปิดเทอมของเพจอนุวัด จัดให้ ดังนั้นชื่อของ Tag ที่ใส่ไว้เลยเขียนว่า “ข่าวเลื่อนเปิดเทอม” จากนั้นกด Create New Tag ได้เลยค่ะ
Tag ที่ปรากฏในโพสต์
เมื่อเรากดสร้าง Tag แล้ว Add Tag เรียบร้อย โพสต์หรือว่า Mention นี้ก็จะมี Tag ที่เราสร้างติดไว้เรียบร้อยเลยค่ะ หลังจากนั้นเราก็สามารถกด Add Tag ของโพสต์อื่น ๆ ตามประเภทของโพสต์นั้นได้เลย
Tag ที่ปรากฏในโพสต์
ขอแนะนำวิธีที่จะทำให้เรากด Add Tag ได้อย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลากว่าการนั่งทำทีละโพสต์ก่อนนิดนึง เราสามารถค้นหาคำว่า “ข่าว” ลงในช่องค้นหาแล้วกด Search จากนั้นข้อมูลทั้งหมดที่คำนี้จะขึ้นมาทั้งหมด ซึ่งเราสามารถกดเลือกโพสต์ทั้งหมดที่เป็นข่าวการเลื่อนเปิดเทอม แล้วกด Save Selected As Tag ได้เลย จากนั้นก็ทำแบบเดียวกับ Tag อื่น ๆ รับรองว่าจะประหยัดเวลาในการใส่ Tag ไปได้เยอะเลยค่ะ
หลังจากที่เราได้ใช้ Tag Management ในการจับประเด็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเปิดเทอม ทำให้เราสามารถเห็นประเด็นหลัก ๆ ที่มีการพูดถึงมากที่สุดมาได้ 5 ประเด็นด้วยกันค่ะ
5 ประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุด
1. โปรโมทสินค้า
ภาพโปรโมทรองเท้านักเรียนแคทช่า
ที่มา: https://www.facebook.com/953600471331119/posts/4206408296050304/
“แคทช่า” แบรนด์รองเท้านักเรียน ออกโปรโมชั่นต้อนรับเปิดเทอม 16 - 25 เมษายน เป็นการซื้อรองเท้าแถมถุงเท้านักเรียน 2 คู่ พร้อมลุ้นรับทองคำแท่ง และจี้ทองคำรวมมูลค่ากว่า 1 แสนบาท
โปสเตอร์ของแคทช่าใช้สีม่วงและสีทอง โดยสีม่วงเป็นสีประจำแบรนด์ที่ทำให้รู้สึกทรงพลัง และมั่นใจในตนเอง เมื่อประกอบกับรูปรองเท้านักเรียนแคทช่า จึงทำให้คนรู้สึกว่าช่วยเพิ่มความมั่นใจ ใส่แล้วดูดีขึ้นมาทันทีเมื่อสวมรองเท้าคู่นี้ ส่วนสีทองทำให้รู้สึกหรูหรา มีราคา ดังนั้นทองคำเลยเป็นของรางวัลที่ดึงดูดใจในการเข้าร่วมโปรโมชั่น
นอกจากนี้แคปชัน “เปิดเทอมนี้สูงจนเพื่อนทัก” ที่แบรนด์ต้องการสื่อประเด็นในเรื่องการเสริมสร้างความมั่นใจของเด็กผู้หญิง ด้วยการสร้างบุคลิกภาพที่ดี ผ่านการแต่งกายด้วยรองเท้านักเรียนที่เสริมส้นให้ขาดูเรียวยาว ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของเด็กผู้หญิงวัยนี้มีพัฒนาการเติบโตช้าลงในช่วงอายุ 12-14 ปี แบรนด์จึงมุ่งเน้นเรื่องการเสริมสร้างบุคลิกภาพผ่านรองเท้านักเรียน ที่เป็นเครื่องแต่งกายของเด็กหญิงวัยนี้นั่นเอง โดยคอมเมนต์ส่วนใหญ่บอกว่าสนใจ และบางคนก็มาแชร์ประสบการณ์ที่ดีในการใส่รองเท้าแคทช่า
ความคิดเห็นของโพสต์โปรโมทรองเท้าแคทช่า
2. วัคซีน
ข่าวไทยรัฐเรื่องเร่งฉีดวัคซีนให้ครู
ที่มา: https://www.facebook.com/146406732438/posts/10160612217892439/
จากข่าวของไทยรัฐที่นำเสนอเรื่องเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ครู และเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษาให้ครบก่อนเปิดเทอมวันที่ 14 มิถุนายน 2564 โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สีแดง โดยข่าวนี้ลงในวันที่ 28 พฤษภาคม ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียงแค่ 17 วัน ก่อนการเปิดภาคเรียน ถือเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิดมากในภาวะที่วัคซีนยังมีจำนวนไม่ครอบคลุมแก่ประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งยังไม่มีมาตรการเปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนสำหรับเด็กนักเรียนอีกด้วย
ความคิดเห็นของโพสต์ข่าวไทยรัฐ
ความคิดเห็นส่วนใหญ่จึงต้องการให้เด็กนักเรียนทุกคนได้รับวัคซีนก่อน จึงจะสามารถเปิดเทอมได้แบบปกติ รวมถึงกังวลว่าอาจจะเกิดการติดเชื้อหมู่เพิ่มขึ้นในสถานศึกษา ส่งผลให้เกิดความกังวลกับผู้ปกครองที่ไม่อยากให้บุตรหลานไปเสี่ยง และแนะนำให้เรียนออนไลน์ต่อไปจนกว่าทุกคนในโรงเรียนจะได้รับวัคซีน
3. ข่าวเลื่อนเปิดเทอม
ข่าวแจ้งเรื่องการเลื่อนเปิดเทอม
ที่มา: https://www.facebook.com/108669090743003/posts/313812043562039/
จากการค้นพบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข่าวการเลื่อนเปิดเทอม สืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเรื่องการเลื่อนเปิดเทอมถึง 2 ครั้งด้วยกัน ซึ่งครั้งแรกเลื่อนเป็นวันที่ 1 มิถุนายน และครั้งที่ 2 เลื่อนเป็นวันที่ 14 มิถุนายนนั่นเอง
ความคิดเห็นของโพสต์เลื่อนการเปิดเทอม
จากการที่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นพบว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดเทอม พร้อมให้เหตุผลว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการแพร่กระจายของโรค แม้กระทั่งคนที่เป็นครูยังออกมาสนับสนุนมาตรการนี้เช่นกัน และได้คนกดถูกใจในข้อความถึงเกือบ 2 พันคน แต่การเลื่อนเปิดเทอมส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการวางแผนการเรียนใหม่ทั้งภาคเรียน รวมถึงทำให้นักเรียนและผู้ปกครองต้องคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน
4. ความกังวล
ผลโพลจากกรมอนามัย
ที่มา: https://twitter.com/kom_chad_luek/status/1397836465938132994
ผลสำรวจจากกรมอนามัยเผย การเปิดเทอมในเดือนมิถุนายน 2564 ทำให้พ่อแม่กังวลถึงโรคโควิด-19 สูงถึง 95.6% โดยประเด็นที่มีความกังวลสูงมากที่สุดคือ การที่นักเรียนอาจติดเชื้อโควิดจากครูหรือเพื่อนร่วมชั้นถึง 41.3%
แน่นอนว่าสถานการณ์โควิดในประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายวันแตะหลักพันทุกวัน ทำให้ผู้ปกครองรวมถึงนักเรียนมีความกังวลอย่างมากที่จะต้องเปิดเทอมแล้วอาจเสี่ยงติดเชื้อหมู่ หากมีเด็กหรืออาจารย์สักคนติดโควิด รวมถึงประเด็นที่ว่าเด็กไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคได้ดีเท่าผู้ใหญ่
ดังนั้น นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ซึ่งเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ และสามารถสร้างความมั่นใจกับประชาชนได้ จึงออกมาแนะนำมาตรการเพื่อคลายความกังวลในประเด็นดังกล่าว โดยขอให้จัดการเรียนเป็นกลุ่มเดียวตลอดทั้งวัน และทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกัน เช่น อุปกรณ์การเรียนหรือของเล่น รวมถึงจัดอาหารเป็นกล่องแยกรายคนและให้นักเรียนทานอาหารในห้องเรียนเท่านั้น เมื่อกลับถึงบ้านให้อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที ในกรณีของพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
5. การเรียน
เริ่มใช้ “ครูพร้อม” ก่อนเปิดเทอม
ที่มา: https://www.instagram.com/p/CO4uP7-Laer/
รัฐบาลเตรียมใช้ “ครูพร้อม” การจัดการเรียนการสอนช่วงโรคระบาด เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนโดยการเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ครูพร้อมในวันที่ 17 - 31 พฤษภาคม 2564 แล้วเรียนชดเชยแบบ 5 On ได้แก่ On Line ผ่านช่องทางออนไลน์, On Air ผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม, On Hand ผ่านแบบเรียนที่ส่งไปให้นักเรียน, On Site ผ่านการเรียนกลุ่มเล็ก และ On School Line ผ่านกลุ่มไลน์ติดต่อสื่อสาร
ความคิดเห็นของโพสต์เตรียมใช้ครูพร้อมในการเรียน
จากการที่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นพบว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเกือบทั้งหมด โดยกล่าวว่าครูหรือนักเรียนยังไม่พร้อมในการเรียนในช่วงโควิดแบบนี้ อีกทั้งไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงการเรียนแบบ 5 On ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่รัฐบาลคาดหวัง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นให้นักเรียน และโรงเรียนเห็นว่าการเรียนแบบใหม่ไม่ยุ่งยาก เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงสำรวจความต้องการในการปรับรูปแบบการสอนให้เข้ากับพื้นที่ รวมถึงความพร้อมของอุปกรณ์ในแต่ละโรงเรียนค่ะ
สรุป วิเคราะห์กระแสการเปิดเทอม
จากการใช้ Feature Tag Management ใน Mandala Analytics ทำให้เราพบประเด็นหลัก 5 ข้อที่คนพูดถึงเกี่ยวกับการเปิดเทอมมากที่สุด และสามารถวิเคราะห์หา Insight ด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นไอเดียในการทำการตลาดให้กับนักการตลาดได้ดังนี้
1. โปรโมทสินค้าต้อนรับเทศกาล Back to school: ออกโปรโมชั่นที่กระตุ้นความสนใจในตัวสินค้าและให้เกิดยอดขายมากขึ้นด้วยการชิงโชค แจกของรางวัลต้อนรับการเปิดเทอม รวมถึงคำพูดที่ชูจุดเด่นของสินค้า เช่น รองเท้าช่วยเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้นจนเพื่อนทัก
2. ลดความกังวลของผู้ปกครอง: ความกังวลเรื่องเด็กนักเรียนยังไม่ได้รับวัคซีนและมีความเสี่ยงในการติดโควิด เป็นโอกาสของสินค้าและบริการที่ชูจุดเด่นเรื่องความปลอดภัยให้เด็ก เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ เช่น การสวมใส่หน้ากาก, การใช้เจลล้างมือ, การใช้อุปกรณ์วัดไข้หรือการทำประกันสุขภาพสำหรับเด็ก ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์โรคระบาดเช่นนี้
3. เรียนออนไลน์อย่างไรให้ “พร้อม”: จากการเลื่อนเปิดเทอมหลายรอบและต้องเรียนออนไลน์ ส่งผลให้การเรียนมีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งไอเทมเสริมที่ช่วยในการเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญ เช่น แท็บเล็ต ช่วยให้สะดวกแก่การทำการบ้านและส่งงานได้อย่างรวดเร็ว หรือวิตามินอาหารเสริม ที่ช่วยบำรุงสายตา ลดอาการเหนื่อยล้าจากการจ้องหน้าจอทั้งวัน เป็นต้น
จากประเด็นทั้งหมดที่ค้นพบข้างต้น ทำให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนว่าถ้าศึกษาข้อมูลเฉพาะใน Google Trends อาจทราบแค่ข่าวการเลื่อนเปิดเทอมเพียงเท่านั้น แต่หากใช้ Mandala Analytics เข้ามาช่วยค้นหาด้วยแล้ว นักการตลาดสามารถเข้าถึง Insight หรือเห็นข้อมูลเชิงลึกที่คนให้ความสนใจได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้อีกหลายเรื่อง เช่น ประเด็นใดที่ถูกพูดถึงเกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือโปรโมชั่นประเภทไหนทำแล้วคนชื่นชอบมากที่สุด เป็นต้นค่ะ
สำหรับผู้อ่านท่านใดสนใจใช้ Mandala Analytics สามารถสมัครทดลองใช้ฟรี 7 วันได้ที่นี่
หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามทาง Live chat https://www.mandalasystem.com/
อย่าพลาดบทความดี ๆ อ่านได้เลยที่ blog/th/
Mandala Team
Creator
Category
Share this post
Search the blog
Mandala Newsletter
Sign-up to receive the latest insights in to online trends
Sign Up